ธุรกิจธนาคารในโลกปัจจุบันกำลัง อยู่ในยุคแห่งการผนวกรวมกิจการ
ครั้งใหญ่ เอบีเอ็น แอมโร ซึ่งเป็นธนาคารสัญชาติดัตช์ก็อยู่ในกระแสนี้ โดยเริ่มจากการซื้อกิจการธนาคารนอกประเทศ
เนเธอร์แลนด์หลังพบว่าตลาดธุรกิจการเงินภายในประเทศอิ่มตัวซึ่งเป็นกลยุทธ์
ในการอยู่รอดและส่งผลให้เอบีเอ็นฯก้าวเป็นธนาคารระดับแนวหน้าของโลกในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ บางรายมองการซื้อกิจการของเอบีเอ็น แอมโร ว่ามีลักษณะ
"ผิดราคา" หรือ "ผิดเวลา" จนกลายเป็น "การบริหารสินทรัพย์ที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง"
เอบีเอ็น แอมโร เริ่มต้นกิจการจากชื่อเดิมว่า Algemene Bank Ne-derland
ต่อมาในปี 1991 ได้ผนวกกิจ การกับธนาคารอัมสเตอร์ดัม-รอตเตอร์ ดัม เป็นเอบีเอ็น
แอมโร โฮลดิ้ง นับเป็นการผนวกกิจการก่อนที่ทวีปยุโรปจะตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวนานร่วมทศวรรษ
นอกจากนั้น เอบีเอ็น แอมโร ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการบริการด้านการเงิน ชั้นนำหลายแห่ง
อาทิ Alfred Berg ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจในสวีเดน เอบีเอ็น แอมโร เอเซีย (ซีเคียวริตี้ส์)
ในฮ่องกง ส่วนในสหรัฐฯ เอบีเอ็น แอมโร มีฐานะ เป็นธนาคารต่างชาติขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ
หลังจากเข้าซื้อกิจการ LaSalle National Bank ในชิคาโกเมื่อปี 1978 และซื้อกิจการสแตนดาร์ด
เฟเดอรัล แบงก์คอเปอเรชั่น รวมทั้งยูโรเปียน อเมริกัน แบงก์ ซึ่งเป็นกิจการทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ
ปีเตอร์ แจน คาล์ฟ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารซึ่งรับตำแหน่งเมื่อปี 1994
เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการขยายกิจการของเอบีเอ็น แอมโร ทั่วโลก ปีที่แล้ว
เขาเป็นผู้ดำเนินการซื้อกิจการธนาคารหลายแห่งในบราซิลและไทย ซึ่ง เป็นการเสริมบทบาทของเอบีเอ็นแอมโร
ที่เคยโดดเด่นในอินโดนีเซียมานานการ ตัดสินใจของคาล์ฟเป็นไปโดยไม่ได้หวาดเกรงกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ
ในเอเชียและละตินอเมริกาซึ่งเป็นที่เข็ดขยาดของธนาคารหลายแห่ง
แต่แผนการในอนาคตของเอบีเอ็น แอมโรในยุโรปที่คาล์ฟต้องการจะสร้างธนาคารไร้พรมแดน
โดยเสนอบริการทั้งธนาคารพาณิชย์และวาณิชธน กิจเต็มรูปแบบ กลับพบอุปสรรคจากนโยบายชาตินิยมที่คอยสกัดการซื้อกิจการข้ามประเทศของเขา
เมื่อปีที่แล้ว เอบีเอ็น แอมโร เสนอซื้อกิจการ Credit Industriel et Commercial
ของฝรั่ง-เศส แต่รัฐบาลฝรั่งเศสกลับตัดสินใจขายกิจการดังกล่าวให้กับสถาบันการเงิน
ในประเทศที่เสนอราคาซื้อต่ำกว่าเอบีเอ็น แอมโร และในเวลาไล่เลี่ยกัน เอบีเอ็น
แอมโร ได้เสนอซื้อกิจการ Generale de Banque ของเบลเยียม แต่พ่ายแพ้ฟอร์ติส
ซึ่งเป็นกิจการประกันภัยขนาด ใหญ่สัญชาติเบลเยียม-ดัตช์
กระนั้นก็ตาม เอบีเอ็น แอมโร ไม่ยอมล้มเลิกแผนการขยายฐานในตลาดยุโรป
โดยได้แต่งตั้ง ทอม เดอ สวาน ประธานเจ้าหน้าที่การเงินคนใหม่ วัย 53 ปี ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของเนเธอร์แลนด์
ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการของเอบีเอ็นแอมโร หลังจากที่คาล์ฟจะต้องเกษียณในเดือนพฤษภาคมปีหน้า
"เกมนี้ยังไม่จบ ตลาดยุโรปเพิ่งมีอายุไม่กี่เดือนเท่านั้น" เดอ
สวาน บอก และว่า "ยังมีธนาคารอีกกว่า 700 แห่งในฝรั่งเศส"
แต่ในขณะที่เอบีเอ็น แอมโร รอ คอยให้อุปสรรคในเรื่องแนวคิดชาตินิยม
จางหายไป ตลาดในสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน จะปรับเปลี่ยนไป
โดยมีผู้เล่นในธุรกิจธนาคารเหลือเพียงไม่กี่รายและการแข่งขันจะเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม
เดอ สวาน เข้าใจสภาพการณ์ดังกล่าวและเสริมว่า
"จากนี้ไป เกมที่เล่นใหม่จะเป็นเกมการผนวกกิจการกันเองภายในประเทศ"
ยิ่งกว่านั้น แนวโน้มดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่ตลาดการเงินโดยเฉพาะนักลงทุนประเภทสถาบันของดัตช
์และนักวิเคราะห์ธุรกิจธนาคารยุโรปต้องการให้เกิดขึ้น หลังจากที่ราคาหุ้นของเอบีเอ็น
แอมโร ทะยานขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ก็เริ่มอ่อนแรงลงในปี 1998 จนส่งท้ายปีด้วยระดับที่เกือบจะเท่ากับราคาในช่วงต้นปี
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว ดัชนีตลาดหุ้นอัมสเตอร์ดัมปรับสูงขึ้น 30% และคู่แข่งอย่างฟอร์ติสก็มีระดับราคาหุ้นเพิ่มขึ้นถึง
61% ของมูลค่าตลาด เมื่อปีที่แล้ว แม้แต่กิจการธนาคาร/ประกันภัยอื่นๆ เช่น
เอกอน มีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ในช่วงห้าเดือนแรกของปี 1999 ราคาหุ้นของเอบีเอ็น แอมโร ปรับตัวสูงขึ้น
22% เทียบกับการเพิ่มขึ้นของตลาดหุ้นดัตช์ที่ 5% และการปรับลดลง 8% ของฟอร์ติส
แต่กระนั้นมูลค่าของทุนตามราคาตลาดของธนาคารยังตามหลังสถาบันการเงินของยุโรปรายอื่นๆ
อยู่มาก อาจเป็นไปได้ว่าเอบีเอ็น แอมโร ใช้วิธีซื้อกิจการเพื่อแข่งขันในกระแสการผนวกกิจการเร็วเกินไป
เพราะจะเห็นได้ว่าเมื่อสามปีก่อน มูลค่าของทุนตามราคาตลาดของเอบีเอ็น แอมโร
ยังสูงกว่าเอกอนถึงหนึ่งเท่าครึ่ง แต่ขณะนี้สัดส่วนได้กลับกันเสียแล้ว และถึงแม้ว่าเมื่อประเมินผลประกอบการตามแบบเดิมแล้ว
เอบีเอ็น แอมโร จะมีสินทรัพย์ถึง 505 พันล้านดอลลาร์ และมีสถานะทางเงินทุนที่แข็งแกร่ง
และยังเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในฮอลแลนด์ เป็นธนา-คารอันดับสี่ของยุโรป
อันดับแปดของโลก แต่ในการเล่นเกมการซื้อกิจการและผนวกกิจการ ทำให้ต้องมีการควบ
คุมมูลค่าของทุนตามราคาตลาดของเอบี เอ็น แอมโรด้วย
การที่ไม่สามารถซื้อกิจการใน
ยุโรปได้สำเร็จไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้ราคาหุ้นของเอบีเอ็น แอมโร ตกลง
การ ซื้อกิจการสแตนดาร์ด เฟเดอรัลในปี 1997 ในราคาที่สูง และยังเข้าซื้อกิจการ
บราซิลผิดเวลา กล่าวคือก่อนที่จะมีการลดค่าเงินเรียลในเดือนมกราคม รวมทั้งยังขยายกิจการอีกหลายแห่งโดยซื้อกิจการในราคาที่สูงเกินไป
ทำให้โอลาฟ คอนราด นักวิเคราะห์ แห่ง มอร์แกน สแตนลีย์ ดีน วิตเตอร์ สรุปว่า
"เอบีเอ็นแอมโร เล่นเกมบริหารสินทรัพย์ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง"
แต่ดูเหมือนว่าคาล์ฟและผู้ช่วยของเขาจะยังไม่ยอมจำนนง่ายๆ เอบีเอ็น
แอมโร กำลังเดินหน้าต่อไป โดยในเดือนมีนาคมเอบีเอ็น แอมโร ได้ซื้อหุ้นส่วนน้อยในกิจการแบงกา
ดิ โรมาของอิตาลี ซึ่งในท้ายที่สุดได้เปิดช่องทางสู่เครือข่ายสาขาขนาดใหญ่ในอิตาลี
คาล์ฟยังได้พัฒนาธุรกิจบริหารเงินสดซึ่งเป็นธุรกรรมทางการเงินที่มีอนาคตในตลาดยุโรป
นอกจากนั้น ในขณะที่ตลาดทุนยุโรปเริ่มที่จะมีทิศทางเหมือนกับสหรัฐฯ เอบีเอ็น
แอมโร เล็งเห็นช่องทางใหม่ๆ และกำลังพัฒนากิจการด้านวาณิชธนกิจ ให้มีความแข็งแกร่งเทียบเท่ากับกิจการธนาคารพาณิชย์
โดยใช้กลยุทธ์เดิมคือซื้อกิจการ แต่เอบีเอ็น แอมโร ยังไม่สามารถซื้อกิจการที่เหมาะสมได้เนื่องจาก
"ในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีรายได้คงที่ รวมทั้งในละตินอเมริกา และในธุรกิจที่เกี่ยว
ข้องกับการควบและซื้อกิจการในยุโรป เราต้องเริ่มต้นจากศูนย์"
ทั้งหมดนี้ล้วนต้องอาศัยเงิน ซึ่งหากพิจารณาผลประกอบการปีที่แล้ว จะพบว่าต้นทุนการดำเนินการเพิ่มขึ้น
และมียอดขาดทุนจากการชำระหนี้ในตลาดเกิดใหม่ที่ฉุดรั้งผลกำไรของธุรกิจวาณิชธนกิจลดลง
38% ในปี 1998
อย่างไรก็ตาม ปีที่แล้วเป็นปีที่กิจการธนาคารโดยภาพรวมมีผลประกอบการดีขึ้น
เอบีเอ็น แอมโร มีผลกำไรก่อนหักภาษีในปี 1998 เพิ่มขึ้น 10% เป็น 3.2 พันล้านดอลลาร์จากยอดรายได้
สุทธิ 14 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ธุรกิจ การปล่อยสินเชื่อของเอบีเอ็น แอมโร
นับเป็นธุรกิจหลักของธนาคาร รายได้กว่าครึ่งมาจากลูกค้าชาวดัตช์ และเป็นแหล่งรายได้ที่มั่นคง
ลูกค้ารายสำคัญมีอาทิ รอยัล ดัตช์ เชลล์, ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ และยูนิลิเวอร์
นอกจากนั้น การซื้อหุ้น 40% ของ Banco Real ซึ่งเป็นธนาคารเอก ชนใหญ่เป็นอันดับ
4 ของบราซิลเป็นมูลค่าถึง 2.1 พันล้านบาทกำลังดำเนินไปด้วยดี ขณะเดียวกันการลดค่าเงินในบราซิลภายหลังการซื้อกิจการเพียงสามเดือนก็ส่งผลสองทางด้วยกันคือ
ทางหนึ่งอาจทำให้มีปัญหาหนี้เสียเพิ่มขึ้น หากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทรุดหนักลงไปอีก
แต่ขณะเดียวกันทำให้เอบีเอ็น แอมโรซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของกิจการ Banco Real
ได้ในราคาถูกลง ปัจจุบันธนาคารมีส่วนต่างกำไรสูงมากจากยอดเงินฝากเพียง 12%
(เป็นอัตราที่รัฐบาลอนุญาต) และจากการปล่อยสินเชื่อในอัตราที่เพิ่มขึ้น 40%
ในช่วงก่อนหน้านี้
เอบีเอ็น แอมโรยังคงเดินหน้าขยายกิจการในเอเชียอย่างจริงจัง โดยการซื้อกิจการธนาคารขนาดเล็กแห่งหนึ่ง
ในฟิลิปปินส์เมื่อเดือนเมษายน และซื้อกิจการด้าน retail banking ของแบงก์
ออฟ อเมริกา ในไต้หวัน สิงคโปร์ และอินเดียเมื่อเดือนพฤษภาคม ส่วนในอินโดนีเซีย
เอบีเอ็น แอมโร มียอดเงินฝากเติบโตขึ้นถึงหกเท่าในปีที่แล้ว เนื่อง จากลูกค้าต้องการฝากเงินกับสถาบันการ
เงินที่เชื่อถือได้ ดูเหมือนว่าในขณะที่ธนาคารท้องถิ่นกำลังอยู่ในช่วงโกลาหล
และธนาคารต่างชาติพากันล่าถอยไปจากภูมิภาคเอเชียแล้ว เอบีเอ็น แอมโรกลับวางบทบาทธุรกิจได้อย่างดีในช่วงที่เอเชียกำลังจะพลิกฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง
คำถามน่าสนใจที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในขณะนี้ก็คือ ในขณะที่กระแสการซื้อกิจการแบบปรปักษ์
(hostile take-overs) กำลังขยายตัวในยุโรป เอบีเอ็น แอมโรจะตกเป็นเป้าหมายแห่งหนึ่งด้วยหรือไม่
เพราะเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เริ่มมีข่าวว่ายักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจธนาคารและประกันภัยสัญชาติดัตช์เช่นกันคือ
ING Group อาจหาช่องทางซื้อกิจการเอบีเอ็น แอมโร แต่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ
ในกรณีนี้ มีเพียงคาล์ฟที่กล่าวว่าภายในไม่กี่ปีนับจากนี้ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ของยุโรปจะเหลือผู้เล่นอยู่เพียงห้าหรือหกราย
(เรียบเรียงจาก Forbes,June ,14 ,1999)
---------------------------------------------------------------------
ความเป็นมาของเอบีเอ็น แอมโร
เอบีเอ็น แอมโรเกิดจากการควบ กิจการของธนาคารอันดับ 1 และ 2 ของ เนเธอร์แลนด์คือ
Algemene Bank Nederland (ABN) และ Amsterdam-Rotterdam Bank (Amro) เมื่อปี
1991 และต่อมายังได้รวมธนาคารชั้นนำสี่แห่งในเนเธอร์แลนด์เข้าด้วยกัน
กิจการเริ่มต้นจาก The Netherlands Trading Society ซึ่งก่อตั้งในปี
1824 เพื่อสนับสนุนทางการเงินให้กับธุรกิจในประเทศอาณานิคมดัตช์ โดยมีสำนักงานดำเนินการอยู่ที่จาการ์ตา
อินโดนีเซีย บริษัทการค้าแห่งนี้ประสบความสำเร็จและต่อมาได้เพิ่มบริการทางการเงินให้กับภาคเกษตรกรรม
และบริการธนาคารพาณิชย์ และเริ่มใช้กลยุทธ์ซื้อกิจการธนาคารตั้งแต่ต้นทศวรรษ
1900
แม้ว่ากิจการจะสามารถผ่านพ้นความผันผวนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกมาได้ด้วยดี
แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในธุรกิจการเงินดัตช์
กล่าวคือ เยอรมนีได้เข้าไปกอบโกยความมั่งคั่งในเนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่นก็สั่งปิดกิจการธนาคาร
ดัตช์ อีสต์ อินดีส ส่งผลให้เมื่อสงคราม โลกสิ้นสุดลง เนเธอร์แลนด์ก็ไม่สามารถ
กลับไปผงาดในประเทศอาณานิคมในเอเชียได้อีก
เมื่อ The Netherlands Trading Society ไม่สามารถพลิกฟื้นกิจการขึ้นมาได้ใหม่
ในปี 1964 ได้ผนวกกิจการรวมกับ Twentsche Bank (เป็นกิจการที่ก่อตั้งในปี
1861 ดำเนินการในลักษณะ ธนาคารด้านการเกษตร) ก่อตั้งเป็น Algemene Bank Nederland
คู่แข่งสำคัญของเอบีเอ็นในตลาดบ้านเกิดก็คือ Amro ซึ่งเกิดจากการควบกิจการระหว่าง
Amsterdam Bank และ Rotterdam Bank ในปี 1964 Rotterdam Bank นั้นก่อตั้งในปี
1863 ให้การสนับ สนุนธุรกิจการค้าในประเทศอาณานิคมดัตช์ และมุ่งเน้นที่ธุรกิจชิปปิงในรอตเตอร์ดัมซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป
ส่วน The Amsterdam Bank ก่อตั้งเมื่อปี 1871 โดยเป็นการรวมตัวกันของธนาคารดัตช์และเยอรมนีหลายแห่ง
และยังเป็นธนาคารดัตช์ที่ใหญ่ที่สุดเมื่อมีการผนวกกิจการกับ Incasso Bank
ในปี 1948 ด้วย
แม้ว่าจะมีการซื้อกิจการหลายแห่งในช่วงปลายทศวรรษ 1960 เอบีเอ็น ยังคงเป็นธนาคารขนาดเล็กกว่าแอมโร
จนกระทั่งปี 1975 ได้ซื้อกิจการวาณิชธน กิจ Mees & Hope และต่อมาในปี
1979 ก็เข้าซื้อกิจการ LaSalle National Bank ในชิคาโก ตลอดทศวรรษ 1980 เอบีเอ็นดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังและมีแนวทางอนุรักษนิยม
ในปี 1987 จึงมียอดเงินฝากที่แข็งแกร่ง แม้จะเป็นเวลาที่ตลาดโลกสั่นไหวจากภาระหนี้สินของประเทศในโลกที่สามก็ตาม
ส่วนแอมโร นั้นเลือกใช้แนวทางที่ต่างไป โดยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การสำรวจก๊าซและน้ำมัน
และการก่อสร้างอุโมงค์ข้ามช่องแคบอังกฤษ กิจการยังคงดำเนินการเรื่อยมาตลอดทศวรรษ
1980
แต่ภายหลังเมื่อรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถสนับสนุนธนาคารใหญ่ ทั้งสองแห่ง
เอบีเอ็น และแอมโรจึงผนวกกิจการกันในปี 1991 และเพื่อความอยู่รอดเอบีเอ็น
แอมโร จึงเริ่มมองหาช่องทางขยายฐานในตลาดต่างประเทศโดยมุ่งเป้าไปที่สหรัฐฯ
ก่อน โดยเฉพาะในแถบมิดเวสต์ โดยอาศัย LaSalle ซึ่งเป็นกิจการสาขา ซื้อกิจการคู่แข่งในชิคาโกคือ
Talman Home Fe-deral Savings เมื่อปี 1991 นอกจากนั้น เอบีเอ็น แอมโร ยังซื้อสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นสามัญในกิจการ
European American Bank (EAB) และในปี 1995 ซื้อกิจการวาณิชธนกิจ อีกสองแห่งคือ
Chicago Corp. และ Alfred Berg
ในปี 1998 เอบีเอ็น แอมโร ซื้อกิจการธนาคารแบงโก เรียล และบันเดป แบงก์
ของบราซิล และปีนี้ได้ซื้อหุ้นเกือบ 9% ในกิจการแบงกา ดิ โรมา เพื่อเสริมฐานธุรกิจในตลาดยุโรป
และยังเสนอซื้อกิจการ Bouwfonds Neder-landse Gemeenten ซึ่งเป็นธุรกิจปล่อยสินเชื่อที่มีการจำนองเป็นประกันขนาดใหญ่อันดับ
5 ของเนเธอร์แลนด์ แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจของบราซิลทรุดลง เอบีเอ็น แอมโร จึงได้ปิดสำนักงานของแบงโก
เรียล ในยุโรปและสหรัฐฯ โดยรวมการดำเนินการกับสำนักงานของเอ บีเอ็น แอมโร
ที่มีอยู่
ในระยะสองสามปีข้างหน้า เอบีเอ็น แอมโร จะต้องเผชิญกับปัญหาภายในที่เคยถูกมองข้ามไป
กล่าวคือ ในปี 1995 ทางการสวิสได้ขอให้เอบีเอ็น แอมโรเข้มงวดกวดขันการดำเนินงานของกิจ
การสาขาในสวิสให้มากขึ้นหลังจากธนาคารประสบภาวะขาดทุนถึง 124 ล้านดอลลาร์
จากการยักยอก และในปี 1997 ธนาคารต้องปิดสำนักงานหลักไปจากการขาดทุนถึง 100
ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีการทุจริต