"แบงก์ใบโพธิ์" ยืนยันทิ้งบง.สินอุตสาหกรรม-บุคคลัภย์ คาดยื่นแบงก์ชาติได้ในเดือนกรกฎาคมนี้
ระบุมีผู้สนใจติดต่อมากกว่า 1 ราย ยื่น เงื่อนไขห้ามปลดพนักงานและบริหารให้ได้ตามมาตรฐาน
"ไทยพาณิชย์" ขณะที่ "สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง" ยังไม่ได้ตัดสินใจ เพราะอยู่นอกเหนือการควบคุมของแบงก์ชาติ
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
SCB เปิดเผยว่า แผนการจัดการกับบริษัทในเครือคือ บริษัท เงินทุน (บง.) สินอุตสาหกรรม
SICCO และ บง.บุคคลัภย์ BC กำลังอยู่ในขั้นตอนของการดำเนินการ และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ภาย
ในเดือนมิถุนายน 2547 นี้ โดยธนาคารจะสามารถยื่นเสนอแผนต่อทางธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) ได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งในขณะนี้มีผู้สนใจเข้ามาติดต่อซื้อมากกว่า
1 รายแล้ว
"ขณะนี้มีผู้สนใจเข้ามาเจรจากับแบงก์บ้างแล้ว โดยผู้ที่จะเข้ามาซื้อนั้นเราอยากให้เป็นผู้ที่ดำเนินกิจการอยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับไทยพาณิชย์
และต้องดูแลพนักงาน ของ บง.ทั้ง 2 แห่งให้ดีเหมือนเดิมเพราะพนักงานเหล่านี้อยู่กับบริษัทมานานและเราเป็นคนสร้างขึ้นมาเอง
จึงอยากให้ผู้ซื้อไปรักษาเอาไว้ ส่วนบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่คอยดูแลการขายบริษัททั้ง
2 แห่งนี้ ก็นับว่าเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลก การจัดการในครั้งนี้จึงน่า
จะจบลงด้วยดี"
ปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ถือหุ้นในบง.บุคคลัภย์ ในสัดส่วน 90% และถือหุ้นในบง.สินอุตสาหกรรมในสัดส่วน
42% ส่วนในเรื่องราคาและรายละเอียดการซื้อขาย ทั้งเรื่องที่ว่าจะแยกขายบง. 2 แห่งออกจากกัน
หรือขายรวมกันให้กับผู้ที่สนใจนั้น ทางผู้บริหารไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของเรื่องนี้แต่อย่างใด
คุณหญิงชฎากล่าวว่า บริษัทในเครือของธนาคารไทยพาณิชย์อีก หนึ่งแห่งคือ บริษัท
สยามพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด(มหาชน) SPL นั้นธนาคารยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะจัดการบริษัทแห่งนี้อย่างไร
เนื่อง จากไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแบงก์ชาติ จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะเร่งรีบตัดสินใจกับบริษัทนี้
โดย ในปัจจุบันธนาคารถือหุ้นใน SPL อยู่ประมาณ 22% และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทด้วย
ส่วนการที่แบงก์ชาติอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจเช่าซื้อได้นั้น
ในขณะนี้ทางธนาคารเองยังไม่ทราบว่า แบงก์ชาติจะอนุญาตให้ธนาคารสามารถทำธุรกิจนี้ได้เต็ม
100% หรือต้องหาพันธมิตรในการทำธุรกิจ นี้ เพราะยังไม่มีความชัดเจนใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา
"ภายหลังจากที่ธนาคารสามารถจัดการกับบง.ทั้ง 2 แห่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว แบงก์จะพิจารณาว่าบริษัทในเครือที่เหลือจะพิจารณาดำเนินการต่อไปอย่างไร
โดยที่ผ่านมาธนาคารได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์(บล.)ไทยพาณิชย์ เต็ม 100%
ส่งผลให้การบริหารจัดการในบล.ไทยพาณิชย์เป็นไปอย่างคล่องตัวเนื่องจากมีผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียว
ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับธนาคาร นอกเหนือไปจากรายได้หลักที่มาจากดอกเบี้ยรับ
อีกทั้งยังเป็นแนวทางไปสู่การเป็นธนาคาร ที่ให้บริการเต็มรูปแบบ หรือ Universal
Bank" คุณหญิงชฎากล่าว