มืออาชีพตัวจริง ายหนุ่มผู้วางตัวเหมือนนายธนาคารยุโรปอย่างจุลกร สิงหโกวินท์
กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารเอเชีย (BOA) กำลังได้รับการกล่าวขวัญอย่างสูงคนหนึ่งในฐานะผู้บริหารธนาคารมืออาชีพที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย
คล้ายๆ ชีวิตของ แม่พลอย นิยายเรื่อง สี่แผ่นดินของม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีความเฮงด้วย เขาพูดทีเล่นทีจริง ในการอธิบายความเป็นมาของเขาเอง
จุลกร เป็นเด็กบ้านนอก เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2493 ที่ อ.ร่อนพิบูลย์
จ.นครศรีธรรมราช บุตรชายคน เดียวของครอบครัว ที่บิดารับราชการ ส่วนมารดาทำธุรกิจทางด้านเหมืองแร่
และดีบุก และทำสวนยางพารา จึงมีฐานะที่เขาได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างดีมากคนหนึ่ง
จุลกร เติบโตและเรียนหนังสือชั้นประถมที่บ้านเกิดตัวเอง แต่เมื่อจะเรียนระดับชั้นมัธยมเขามุ่งหน้าลงใต้เพื่อเข้าศึกษาต่อในประเทศมาเลเซีย
ยังไม่ทันสำเร็จการศึกษาระดับดังกล่าวถูกส่งไปเป็นนักเรียนประจำที่ประเทศอังกฤษ
จากนั้นสอบเข้าเรียนระดับปริญญาตรี ที่ London School of Economics and Political
Sciences และสำเร็จได้เกียรตินิยมสาขาเศรษฐศาสตร์
ชีวิตการทำงานของจุลกรเริ่มต้นที่ธนาคารกรุงเทพ (BBL) เมื่อปี 2517 เป็นจังหวะเหมาะเจาะทีเดียวที่
BBL กำลังปรับตัวครั้งสำคัญในการจัดโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัย และการพัฒนาบุคลากรที่จะเข้ามาดูแลลูกค้า
ที่กำลังขยายตัวไปต่างประเทศ โดยเฉพาะลูกค้าที่ทำให้ธนาคารแห่งนี้ยิ่งใหญ่ในเอเชีย
คือบรรดา Overseas Chinese ที่เติบโต มาจากธุรกิจพืชไร่ ดังนั้น ความจำเป็นหาลูกคนจีนที่พูดภาษาอังกฤษได้เพื่อประกบติดลูกค้าสายดังกล่าว
ไม่เว้นแม้แต่จุลกรนักเรียนนอกที่ไร้ประสบการณ์ในขณะนั้น
พนักงานฝ่ายอำนวยการสินเชื่อภายในประเทศ เป็นหน้าที่แรกของจุลกร ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ
ปิติ สิทธิอำนวย และเป็นผู้ให้โอกาสเขาในการเข้ามาทำงาน แต่อยู่ได้เพียง
2 ปี จุลกรถูกส่งตัวไปทำงานที่สาขาฮ่องกงในตำแหน่งเดิม ความจริงแล้วเขาถูกเลือกให้เป็นผู้ช่วย
โชติ โสภณพนิช ขณะนั้นดำรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการภาคพื้นเอเชีย
ทำงานอยู่กับโชติ โสภณพนิช ได้ประมาณ 3 ปี จุลกรตัดสินใจเดินทางไปเรียนต่อระดับปริญญาโท
สาขาบริหารธุรกิจที่ Wharton School of Finance มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
อเมริกา ในช่วงที่ศึกษาอยู่จุลกรยังเป็นพนักงานและรับเงินเดือนจาก BBL อยู่
ถือว่าได้รับการสนับสนุนจาก โชติ โสภณพนิช อย่างดี
หลังจากจบปริญญาโท จุลกรทำงานที่ BBL สาขานิวยอร์ก ขณะเดียว กันได้เข้าไปฝึกวิทยายุทธ์ที่วอลล์สตรีท
อีกด้วย ต่อมาในปี 2522 กลับมาสำนัก งานใหญ่เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าส่วน ฝ่าย
วางแผนและควบคุมสาขาต่างประเทศ แต่อยู่ได้ไม่กี่เดือนถูกส่งไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาลอนดอน
ปี 2524 กลับเข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพัฒนา ธุรกิจการต่างประเทศ
เขาเติบโตในสายปฏิบัติการ 11 ปีของจุลกรคลุกคลีอยู่กับงานด้านสินเชื่อทั้งในและต่างประเทศ
ตำแหน่งสุดท้าย คือ รองผู้จัดการสายกิจการต่างประเทศ (ภาคพื้นเอเชียและเอเชียตะวันออก)
ผนวกกับพื้นฐานการศึกษาดีเพียงพอที่ยศ เอื้อชูเกียรติ กรรม การผู้จัดการใหญ่ธนาคารเอเชียในขณะนั้น
จะต้องชักนำให้เข้ามาเริ่มต้นกับธนาคารเอเชียในปี 2528 ในตำแหน่งผู้อำนวยการสายการเงินและธุรกิจ
การเดินออกจากธนาคารขนาดใหญ่มายังธนาคารขนาดเล็กของจุลกร เป็นการลาจากด้วยดีไม่ได้มีปัญหากับใคร
แต่เขามีเจตนาดีที่อยากเรียนรู้งาน ให้เร็ว เนื่องจากที่ BBL เป็นเวทีขนาด
ใหญ่ การทำงานจึงเป็นไปในลักษณะ specialize ถ้าจะเรียนรู้ทั้งหมดแน่นอนว่า
จุลกรต้องใช้เวลานานทีเดียว ขณะที่การเรียนรู้ในธนาคารที่เล็กลงมาน่าจะคล่องตัวมากกว่า
ประกอบกับความต้องการอยากทำงานในเมืองไทย จุลกรจึงตัดสินใจมาสู่อ้อมอกธนาคารเอเชีย
และเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด เพราะถ้าเขายังอยู่ที่ BBL คงจะไม่ได้ขึ้นถึงตำแหน่งสูงสุดเหมือนที่ธนาคาร
เอเชียให้เขาในปัจจุบัน
จุลกรพิสูจน์ฝีมืออยู่ได้ 4 ปี ได้โปรโมตขึ้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
ด้านการตลาด ในปี 2532 และขึ้นเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ในปี 2534 จากนั้นภายในเวลาไม่ถึง
1 ปี ได้รับเลือก เป็นกรรมการบริหารธนาคารในตำแหน่ง กรรมการรองผู้จัดการใหญ่
ที่รวดเร็วไปกว่านั้นเห็นจะได้ แก่การที่คณะกรรมการบริหารต่างเห็นพ้องต้องกันตามข้อเสนอของ
ยศ เอื้อ-ชูเกียรติ ที่จะให้จุลกรขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเขา ซึ่งจะไปรับตำแหน่งรองประ-ธานกรรมการในกลางปี
2535 ท่ามกลาง ความขัดแย้งระหว่างตระกูลเอื้อชูเกียรติ และภัทรประสิทธิ์
รุนแรงมากขึ้น
แม้ว่าจุลกรจะเป็นคนที่ยศนำเข้ามา แต่เขาแสดงความเป็นมืออาชีพ ที่ยืนอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นได้อย่างดี
และนี่คือบุคลิกสำคัญของเขาที่ผลักดันให้เขาก้าวขึ้นอย่างรวดเร็ว
จุลกรสามารถอยู่ท่ามกลางความ ขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นได้ดีนั้น มาจากทีมงานที่เป็นปึกแผ่นของเขา
ต่อหน้าคนภายนอก เขาวางท่ามาดนายธนาคารมากทีเดียว แต่กับเพื่อนร่วมงานเขาสามารถเข้ากันได้กลม
กลืน ไม่มีระบบขุนนางเช่นธนาคารอื่น อย่างหน้ามือเป็นหลังมือทีเดียว
ว่ากันว่าเขาเป็นนักประชาธิปไตย ในการบริหารมากคนหนึ่ง ซึ่งหายากในระบบธนาคารไทย
ลูกน้องเขาบางคนจะพยายามยกย่องความดีเด่นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงเกิดจากโครงการบริหารธนาคารที่ดีของธนาคารเอเชีย
ที่สร้างมาตั้งแต่สมัย ยศ เอื้อชูเกียรติ นั่นเอง
ทีมบริหารของธนาคารเอเชีย เป็นคนรุ่นเดียวกันในทางความรู้และประสบการณ์
พวกเขามาสู่ธนาคารใหม่ในระยะใกล้เคียงกัน ความเป็นเพื่อน การเคารพความคิดซึ่งกันและกัน
ย่อม ทำให้โครงสร้างการบริหารดำเนินด้วยการถกเถียง แสดงความเห็น ความรู้กันอย่างมาก
ซึ่งถือเป็นกระบวนทางธรรมชาติที่ว่า Knowledge Management ขององค์กรธุรกิจยุคใหม่ที่พูดกัน
จุลกรมีบทบาทผู้นำในการสรุปความคิดและตกผลึก กลั่นกรองความ คิดอย่างหลากหลายที่ถกเถียงกันอย่างมาก
มาเป็นแนวทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพต่อๆ ไป
จุลกรจึงกลายเป็นมืออาชีพที่ไม่ได้ก่อขึ้นจากตัวเขาเองล้วนๆ แต่เป็นอุบัติเหตุของการผสมผสานความรู้จากทีมงานของเขานั่นเอง
นี่คือ ความเฮง แท้จริงที่เขากล่าวถึงความสำเร็จของเขา แม้ว่าผู้คนทั่วไปจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม