Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 พฤษภาคม 2547
เจ้าหนี้ติงแผนฟื้นฟูฯTPI"พันธมิตร"ไร้ความชัดเจน             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ปตท., บมจ.
กระทรวงการคลัง
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
มงคล อัมพรพิสิฏฐ์
Construction
Energy




เจ้าหนี้ติงแผนฟื้นฟูกิจการฯทีพีไอฉบับแก้ไขไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการหาพันธมิตรร่วมทุนที่ขาด ความชัดเจน หลังจากปตท.-ปูนใหญ่ยังปฏิเสธร่วมทุนอยู่ เนื่องจากต้องใช้เงินทุนไม่น้อยกว่าหมื่นล้านในการซื้อหุ้นใหญ่ รวมทั้งต้องทำดิวดิลิเจนส์ก่อนตัดสินใจด้วย

แหล่งข่าวจากเจ้าหนี้บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้เจ้าหนี้ยังมีความเห็นพ้องต้องกันว่าแผนฟื้นฟูแก้ไขฯฉบับแก้ไขที่ผู้บริหารแผนฯเสนอไว้ก่อนหน้านี้ไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ โดยเฉพาะประเด็นสถานการณ์ภายหลังการลดทุนและเพิ่มทุนจดทะเบียน แล้ว ใครจะเข้ามาเป็นพันธมิตรใหม่ที่เข้ามาร่วม ลงทุนภายหลัง

เนื่องจากที่ผ่านมามีความชัดเจนในการหาพันธมิตรร่วมทุนที่ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีในไทย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ซึ่งเป็นว่าที่พันธมิตรใหม่ 2 รายที่ทางเจ้าหนี้ต้องการนั้นปฏิเสธการเข้ามาร่วมลงทุนในเบื้องต้น โดยปูนซิเมนต์ไทยนั้นยินดีเข้ามารับจ้างบริหารให้เพียงอย่างเดียว หลังจากที่แผนแก้ไขฟื้นฟูกิจการได้รับการยอมรับระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้แล้ว โดยไม่ขอใส่เงินเข้ามาร่วมลงทุน

ขณะที่บริษัท ปตท.เองก็มีเงื่อนไขว่า หากต้องเข้าลงทุนจะต้องมีการตรวจสอบสถานะกิจการใหม่อีกครั้ง (Due Diligence) เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของการลงทุน เนื่องจาก บริษัทปตท.เป็นหุ้นมาร์เกตแคปใหญ่ที่มีนักลงทุน ทั้งไทยและต่างประเทศถือหุ้นอยู่

"เราต้องดูแลผู้ถือหุ้นต่างประเทศกลุ่มที่เขาเป็นพาร์ตเนอร์ถือหุ้นในระยะยาวด้วย ต้องทำ อะไรให้โปร่งใส ไม่เช่นนั้นเขาจะหาว่าปตท.เอาเงิน ไปช่วยเหลือรัฐบาล กลัวผู้ถือหุ้นต่างประเทศจะไม่เห็นด้วยถ้าไม่มีการทำดิวดิลิเจนซ์ใหม่"

นอกจากนี้เม็ดเงินที่ผู้ร่วมลงทุนรายใหม่จะต้องนำมาลงทุนใส่เข้าไปในทีพีไอมีจำนวนสูงมาก ตัวเลขคร่าวๆ ที่คำนวณกันไว้เฉพาะแค่ตัวเงินทุนหมุนเวียน 200 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 8,000 ล้านบาท ยังไม่รวมกับเงินในส่วนของการ ซื้อหุ้นเพิ่มทุน(ภายหลังการลดและเพิ่มทุน) ถ้ารวมทั้ง 2 ส่วนนี้จะตกเป็นเงินลงทุนที่ผู้ร่วมลงทุน ใหม่จะต้องใส่เข้าไปอย่างน้อยก็ต้องเป็นตัวเลขระดับ 1 หมื่นล้านบาทขึ้นไป

ถือเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ทางปตท.ต้อง มีการขอทำดิวดิลิเจนซ์ใหม่ นอกเหนือไปจากเงื่อนไขเดิมก่อนหน้านี้ที่ปตท.ยืนยันไปแล้วว่าแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขนั้นต้องเป็นแผนฟื้นฟูฯที่ลูกหนี้หรือนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และเจ้าหนี้ยอมรับทั้งคู่ เพราะปตท.ไม่ต้องการให้เกิดปัญหาในภายหลัง

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาทางผู้บริหารแผนฯที่มีพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธาน ได้เข้าไปพบและรายงานความคืบหน้าและกรณีที่เจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับแผนฟื้นฟูทีพีไอ ให้กับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รับทราบแล้ว โดยนายสมคิด ต้องการให้ปัญหาของทีพีไอได้ข้อยุติลงโดยเร็ว จึงได้มีนโยบายว่าจะนัดพบเจรจากับเจ้าหนี้และลูกหนี้พร้อมๆ กันในเร็วๆนี้

แต่อย่างไรก็ตาม ทางนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารฝ่ายลูกหนี้ได้แจ้งความจำนงจะขอไปพบนายสมคิด เป็นการส่วนตัวก่อนเพื่อเรียนเสนอแผนฟื้นฟูแก้ไขกิจการทีพีไอฉบับที่ลูกหนี้ได้จัดทำขึ้นไว้ก่อน ซึ่งถ้าหากนายสมคิด ให้นายประชัยเข้าพบก่อนในวันสองวัน ต่อไปนายสมคิด ก็จะให้ทางเจ้าหนี้เข้าไปพบ

"รัฐมนตรีสมคิดต้องการเจรจาให้เรื่องจบโดยเร็ว แม้โอกาสที่การเจรจาครั้งนี้ดูจะลำบาก เพราะนอกจากต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยอมซึ่งกันและกัน แต่ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยอมกันคนละนิดการแก้ไขปัญหาจะจบลงอย่างแน่นอน เพราะลำพังแค่ประเด็นเงื่อนไขของพันธมิตรใหม่ ที่จะมาลงทุนก็ไม่สามารถได้ข้อยุติ และนำมาโชว์ในแผนฟื้นฟูว่าเป็นใครได้อยู่แล้ว" แหล่งข่าว

แหล่งข่าวจากทีมผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ ทีพีไอ กล่าวว่า รายละเอียดแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขได้ส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาเพื่อเห็นชอบ ซึ่งมีบางประเด็นที่เจ้าหนี้ยังไม่สามารถยอมรับได้ อาทิ การหาพันธมิตรร่วมทุน ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยจะต้องมีการหารือกันต่อไป แต่คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็ววันนี้

ดังนั้น จึงยังไม่สามารถกำหนดเวลาแน่นอน ในการเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อโหวตรับแผนฟื้นฟูฯฉบับแก้ไขนี้ได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us