ในยามที่เศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย ประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
จนเป็นเหตุให้สถาบันการเงินจำนวนมาก ในภูมิภาคนี้ประสบชะตากรรมล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมากนั้น
แต่ก็มีสถาบันการเงินที่มีความเข้มแข็งพอและสามารถปรับตัวรับสถานการณ์นี้ได้
โดยปรับเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส ฉวยจังหวะนี้ทำตนเป็นนักลงทุนซื้อกิจการสถาบันการเงินที่มีปัญหา
เพื่อใช้เป็นฐานขยายตัวในระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง
ธนาคารดีบีเอส ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในกรณีนี้
ดีบีเอสได้เข้าไปซื้อกิจการธนาคารในหลายประเทศ ในลักษณะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนมาก
ในไทย ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และมีความเป็นไปได้ในอินโดนีเซียด้วย แม้ว่าการซื้อกิจการในยามนี้ไม่ค่อยราบรื่นนัก
ถึงราคาที่ซื้อได้จะถูก แต่ความเสียหายที่ตามติดมากับสถาบันเหล่านี้ก็สร้างความสูญเสียให้ดีบีเอสอยู่ไม่น้อย
โดยเฉพาะกรณีของการซื้อธนาคารไทยทนุนั้น มีรายงานว่าไทยทนุมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สูงถึง
1.6 พันล้านเหรียญ และหลังจากที่ดีบีเอสเข้าไปถือหุ้นแล้ว ได้มีการตัดหนี้สูญ
(write off) ออกไปถึง 150 ล้านเหรียญ และยังตั้งวงเงินรับความสูญเสียขั้นต่ำสุดไว้อีกจำนวน
79 ล้านเหรียญเพราะสินทรัพย์ที่เสื่อมคุณภาพลงเรื่อยๆ ของไทยทนุ
ด้านผลการดำเนินล่าสุดของดีบี เอสเมื่อสิ้นปี 1998 มีกำไรสุทธิลดลงถึง
49% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 1997 คือมีกำไรสุทธิ 222.7 ล้านเหรียญเทียบกับปี
1997 ที่มีกำไรสุทธิ 436.4 ล้านเหรียญ ดีบีเอสรายงานว่าสาเหตุหลักที่ทำให้ผลกำไรลดลงมากนั้น
เพราะมีการนำเงินไปตั้งสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในธนาคารลูกที่ดีบีเอสเข้าไปซื้อกิจการ
ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เกาหลี และฟิลิปปินส์ วงเงินที่มีการตั้งสำรองเมื่อสิ้นปี
1998 เท่ากับ 996.4 ล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้น 101.1% เมื่อเทียบกับงวดสิ้นปี
1997 ที่มีการตั้งสำรอง 495.5 ล้านเหรียญ
ดีบีเอสมีกำไรสุทธิลดลงไม่มากเท่าที่รายงาน คือลดลงแค่ 27.6% หากไม่นับผลการดำเนินงานของธนาคาร
ไทยทนุและธนาคาร POSBank ในสิงคโปร์ นั่นหมายความว่าผลการดำเนินงานของธนาคารทั้งสองแห่งน
ี้เป็นตัวฉุดผลการดำเนินงานของดีบีเอสอย่างมาก
ตัวเลขที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งที่มีการรายงานเมื่อสิ้นปี 1998 คือสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPLs) ของ ดีบีเอสซึ่งมีจำนวน 7,086 ล้านเหรียญเมื่อรวม NPLs ของไทยทนุ
และเท่ากับ 4,211.7 ล้านเหรียญหากไม่รวม NPLs ของไทยทนุ ซึ่งปรากฏว่าในปี
1998 นี้ NPLs ของดีบีเอสเพิ่มขึ้นถึง 278.8% เมื่อเทียบกับ NPLs ปี 1997
ที่มีอยู่ 1,112 ล้านเหรียญ
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของดีบีเอสในปี 1998 คิดเป็น 8.2% ของสินเชื่อทั้งหมดเมื่อนับรวมไทยทนุ
และคิดเป็น 5.2% ของสินเชื่อทั้งหมดเมื่อไม่นับไทยทนุ หรือเพิ่มขึ้น 3.3%
เมื่อเทียบกับอัตราส่วน NPL1.9% ในปี 1997
จะเห็นได้ว่า การพลิกวิกฤติเป็นโอกาสในกรณีไทยทนุไม่ใช่เรื่องง่าย และยังไม่รู้ว่าโอกาสนี้จะให้ผลลัพธ์อย่างไร
นโยบายการซื้อกิจการสถาบันการเงินในภูมิภาคน ี้เป็นทิศทางสำคัญของดีบีเอส
ในช่วงจังหวะที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย มันเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
Lee Hsien Loong กล่าวไว้เมื่อเดือนมิถุนายน 1998 ว่า "ความใหญ่เป็นประเด็นสำคัญของกิจการสถาบันการเงินนานาชาติ"
คำพูดที่กระตุ้นให้มีการมองโอกาสในการซื้อหรือควบกิจการในต่างประเทศ ซึ่ง
John Olds ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาร่วมงานกับดีบีเอสเมื่อเดือนสิงหาคม
1998 มีภาระต้องผลักดันนโยบายนี้ให้เกิดดอกออกผลเร็วที่สุด
โอลด์ส เป็นวาณิชธนากรที่ได้รับความนับถือคนหนึ่งในวงการ เขามีประสบการณ์ยาวนานถึง
25 ปีกับเจ.พี.มอร์แกน-สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของสหรัฐฯ ตอนที่เขาเข้ามาดำรงตำแหน่งในดีบีเอสนั้น
ผู้คนต่างพากันประหลาดใจ เพราะเขาเป็นผู้บริหารสูงสุดชาวต่างชาติคนแรกก็ว่าได้
ในกิจการที่ใหญ่ที่สุดและเป็นกิจการของรัฐในสิงคโปร์ มีการอธิบายว่านี่เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ารัฐบาลสิงคโปร์ซึ่งมีนโยบายที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นในดีบี
เอสลงให้เหลือ 42% จริงจังกับการปรับ ปรุงแก้ไขภาพพจน์อุตสาหกรรมธนาคาร ของประเทศ
โอลด์สมีภารกิจที่จะต้องสร้างให้ดีบีเอสเป็นธนาคารภูมิภาคให้สำเร็จ
ซึ่งแนวทางนี้เท่านั้นที่รัฐบาลสิงคโปร์มองว่าจะสามารถทำให้ดีบีเอสอยู่รอดและมีความมั่นคงได้
แม้ว่าการไล่ซื้อกิจการธนาคารในประเทศต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นการปักธงชัยลงบนผืนดินของภูมิภาคนี้
จะดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่นเท่าใดนัก แต่กระบวนการนี้ยังสามารถดำเนินไปได้
และมันยังเพียงแค่บทเริ่มต้นเท่านั้นในความเห็นของโอลด์สผู้ซึ่งไม่ใคร่ชอบพบหน้านักข่าวสักเท่าใด
และยอมเปิดตัวกับนักลงทุนหลังจากเข้ามาทำงานแล้ว 6 เดือน ต้องถือว่าเขาเป็นคนที่โลว์โปรไฟล์คนหนึ่งทีเดียวในหมู่นักการธนาคารอาเชียน
นอกจากการเข้าซื้อกิจการแบงก์ไทยทนุแล้ว ดีบีเอสซื้อกิจการ retail bank
ชื่อ Kwong On จำนวน 79.2% ในฮ่องกง ส่วนการซื้อกิจการสถาบันการเงินในมาเลเซียนั้น
ยังไม่ใช่จังหวะเหมาะสักเท่าไหร่ในเวลานี้ อย่างน้อยก็จนกว่าทางการมาเลเซียจะยอมให้นักลงทุนต่างชาติครอบครองหุ้นส่วนข้างมากได้
ส่วนในอินโดนีเซียนั้น อาจจะเร็วเกินไปที่จะคิดเข้าไปซื้อในตอนนี้ (ราคาอาจจะยังแพงอยู่?
หรือรอให้เหตุการณ์ทางการเมืองมีความสงบเรียบร้อยมากกว่านี้ และนโยบายของรับบาลชุดใหม่?)
แต่โอลด์สยังมีแนวคิดนี้อยู่ในอินโดนีเซีย
การขยายกิจการลงรากฐานในภูมิภาคเป็นภารกิจสำคัญของโอลด์สก็จริง แต่เขาต้องมองด้วยว่าเมื่อเข้าไปได้ในแต่ละประเทศแล้ว
เขาจะแข่งขันกับสถาบันอื่นๆ อย่างไร ทั้งนี้ดีบีเอสมีจุดแข็งอย่างมากในประเทศตัวเอง
คือ การเป็นวาณิชธนกิจรายใหญ่สุดในตลาดการทำ IPO หรือการขายหุ้นให้ประชาชนเป็นครั้งแรก
ซึ่งเป็นเรื่องแน่อยู่แล้ว เพราะรัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคาร
และเมื่อบริษัทรายใหญ่ต้องการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ รัฐบาลต้องให้การช่วยเหลือสนับสนุน
แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ไม่ได้มีในประเทศไทย กระนั้นก็ดี ธนาคารพาณิชย์รายอื่นๆ
ต่างมองว่าดีบีเอสเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเพราะมีความแข็งแกร่งมั่นคงและมีการบริหารการจัดการที่ดี
ไม่ใช่แต่เพียงขยายกิจการไปในภูมิภาค การซื้อกิจการในประเทศ ดีบีเอส ทำให้
ไม่แน่ว่าเป็นนโยบายรัฐบาลหรืออย่างไร ดีบีเอสซื้อกิจการธนาคารออมสินในสิงคโปร์ชื่อ
POSBank เมื่อปีที่แล้ว การซื้อครั้งนี้ทำให้ดีบีเอสมีส่วนแบ่งตลาดลูกค้ารายย่อย
(retail market) ถึง 40% ถือเป็นเจ้าตลาดไปแล้วในสัดส่วนขนาดนี้ และยังครองตู้เอทีเอ็มมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดด้วย
แน่นอนว่าการรุกไปในตลาดลูกค้ารายย่อย เป็นทิศทางของดีบีเอส ซึ่งการขยายตัวภายในประเทศในช่วงที่ผ่าน
มานั้นเริ่มให้ผลตอบแทนหรือ return ที่ต่ำเกินไปแล้ว โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์
ดังนั้น ดีบีเอสจึงต้องเล็งไปยังฐานลูกค้านอกประเทศ หรือฐานลูกค้าทั่วภูมิภาค
แต่นโยบายนี้จะใช้ได้ในทั่วภูมิภาคจริงหรือไม่ ต้องรอดู เพราะตลาดนี้ในไทยมีผู้จับจองหลายราย
ที่สำคัญไทยทนุแต่เดิมมีส่วนแบ่งค่อนข้างน้อย เพราะเป็นธนาคารขนาดเล็ก และตอนนี้ยังเคลื่อนตัวช้ากว่าธนาคารขนาดเดียว
กันอีกรายหนึ่ง แม้จะเร็วกว่าอีก 2 รายที่เพิ่งถูกซื้อกิจการโดยนักลงทุนต่างชาติ
ดีบีเอสและสถาบันการเงินในเครือถือเป็นกลุ่มธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์
ด้วยมูลค่าเงินกองทุน 10.5 พันล้านเหรียญ และมูลค่าสินทรัพย์รวม 111.4 พันล้านเหรียญ
ณ 30 มิถุนายน 1999 นอกจากนี้ธนาคารยังเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าตามราคาตลาดที่มากที่สุดในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารได้แก่ MND Holdings (Private) Limited (20.9%)
และ Temasek Holdings (Pte) Ltd (19.0%) ซึ่ง 2 หน่วยงานนี้ควบคุมดูแลโดยกระทรวงการคลังสิงคโปร์
เมื่อเริ่มก่อตั้งในปี 1968 นั้นดีบี เอสมีลักษณะเป็นสถาบันเงินทุนเพื่อการพัฒนา
แต่แล้วขยายกิจการออกไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปในทศวรรษ 1980
นี่เอง มีการให้ บริการทุกอย่างแบบธนาคารพาณิชย์ ดีบีเอสมีสาขา 168 แห่งในสิงคโปร์
มีบริษัทลูกหลายแห่งในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย นอกจากนี้มีธนาคารสาขาและสำนักงานในสหรัฐอเม-ริกา
สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า สาธารณรัฐประชาชนจีน
ไต้หวัน เกาหลี และประเทศไทย รวมทั้งยังมีธนาคารตัวแทน (Correspondent Bank)
อีก 900 แห่งทั่วโลก
ดีบีเอสได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 100 อันดับของธนาคารชั้นนำของโลก ซึ่งสะท้อนให้เห็นสถานะทางการเงินชั้นเยี่ยม
คุณภาพสินทรัพย์ที่ดี และการมีพันธมิตรทางธุรกิจที่เป็นสถาบันการเงินในภูมิภาค
ปัจจุบันดีบีเอสเป็นผู้นำในตลาด IPO และการทำรายการด้านหลักทรัพย์ในตลาด
Public Offering และในตลาดทุนสิงคโปร์ นอกจากนี้ธนาคารยังมีชื่อเสียงชั้นนำในการรับฝากหลักทรัพย์หรือ
Custodian ให้กับนักลงทุนสถาบัน และเป็น Global Custodian ด้วย ซึ่งธนาคารได้ขยาย
คัสโตเดียนแฟรนไชส์ไปทั่วทั้งภูมิภาคอีกด้วย
บทบาทที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือการเป็น key player ในตลาดเงินสิงคโปร์
เป็น Market Maker ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์สหรัฐ และธนาคารยังเป็นผู้นำในธุรกิจ
Corporate Lending หรือการปล่อยสินเชื่อให้วิสาหกิจต่างๆ และการปล่อยสินเชื่อในลักษณะ
Project Finance
(เรียบเรียงจาก Asiaweek,April 2, 1999, www.dbs.com.sg)