เอกชน 4 รายเสนอสร้างไซโลเก็บข้าวเปลือก เจ้าเก่า "เพรซิเดนท์ อะกริ -นครหลวงค้าข้าว"
ได้ไฟเขียวแล้ว เหลืออีก 2 บริษัทเครือซีพี รอ"วัฒนา"อนุมัติ เผยลงทุนคุ้มค่า เพราะได้สิทธิรับฝากข้าวจำนำตันละ 246 บาทแน่นอน โกดังไม่มีเส้ เจ๊งแน่ สส.ทรท.-ชาติไทย อัดนโยบายนำเข้าข้าว ทักษิณ แก้แทน แค่บริหารจัดการการส่งออก ไม่ได้นำเข้ามา
หลังจากที่นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายเปิดให้เอกชนสร้างไซโลเพื่อใช้ในการรับจำนำข้าวตั้งแต่ช่วงต้นปี
2547 มีรายงานข่าว ล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์ ว่า มีเอกชนที่เสนอตัวเข้ามาแล้ว 4
ราย มีขนาดความ จุของการเก็บข้าวรวมกัน 1.649 ล้านตัน และผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการตาม
นโยบายคณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ที่มีนาย วัฒนาเป็นประธานอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการรับจำ
นำกับรัฐบาลแล้ว 2 ราย ส่วนอีก 2 รายกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา
เอกชน 2 รายแรกที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ได้แก่ บริษัท สยามธัญรักษ์ จำกัด เสนอสร้างไซโล
ความจุ 3 แสนตัน ตั้งอยู่ที่อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ จำกัด
ความจุ 1.49 แสนตัน ตั้งอยู่ที่อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
ส่วนอีก 2 บริษัท ที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติ คือ บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์ข้าว จำกัด
ความจุ 6 แสนตัน ตั้งอยู่ที่อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์และบริษัท ซีพี อินเตอร์เทรด
จำกัด ความจุ 6 แสนตัน ตั้งอยู่ที่อ. ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา และอ.ลาดหลุมแก้ว
จ.ปทุมธานี ไซโลของทั้งสองบริษัทมีความจุรวม 1.2 ล้านตัน
บริษัท สยามธัญรักษ์ เป็นบริษัทในเครือเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง ที่ชนะการประมูลข้าวรัฐบาลครั้งล่าสุดจำนวน
1.7 ล้านตัน บริษัท แคปปิตัลซีเรียลส์ เป็นบริษัทในเครือบริษัท นครหลวงค้าข้าว
บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์ข้าว มีกรรมการชื่อนายวัลลภ เจียรวนนท์ และนายธีรยุทธ พิทยาอิสรกุล
และมีคนในตระกูลเจียรวนนท์และบริษัทในเครือ ซีพีเป็นผู้ถือหุ้น ส่วนบริษัท ซีพี
อินเตอร์เทรด เป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
การสร้างไซโล เพื่อใช้ในการเก็บข้าว กำหนดเป้าหมายให้มีความจุรวมทั้งสิ้น 3 ล้านตัน
เท่ากับว่าขณะนี้เอกชนรายอื่นสามารถที่จะยื่นข้อเสนอเข้ามาให้พิจารณาได้อีก เพราะยังไม่ครบตามจำนวนที่ต้องการ
แต่ขึ้นอยู่กับนายวัฒนาว่า จะเห็นชอบให้ใคร เป็นผู้ลงทุน เพราะหลังจากเสนอให้กนข.อนุมัติในหลักการเมื่อวันที่
15 ตุลาคม 2546 แล้ว การอนุมัติให้เอกชนสร้างไซโลเป็นอำนาจของนายวัฒนา ที่จะพิจารณาให้หรือไม่ให้ใครก็ได้
กนข.เพียงแต่ลงมติ เห็นชอบตามข้อเสนอของนายวัฒนาเท่านั้น
สำหรับไซโลที่ผ่านการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ จะได้สิทธิรับการคัดเลือกเป็นผู้รับฝากเก็บข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นอันดับแรก
ซึ่งเท่า กับว่าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลฤดูกาลผลิตปี 2546/47 โกดังที่เคยเข้าร่วมโครงการกับรัฐบาลจะหมดสิทธิที่จะเข้าร่วมโครงการได้อีก
เพราะได้มีการรับประกันกับไซโลแล้วว่าเมื่อลงทุนสร้างแล้ว รัฐบาลจะพิจารณาให้เป็นผู้เก็บข้าวของรัฐบาลเป็นอันดับแรก
นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาค่าฝากเก็บเพิ่ม ขึ้นจากอัตราเดิมที่รัฐบาลเคยจ่ายให้กับโกดังทั่วไป
โดยคิดค่าฝากเก็บตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 246 บาท/ตัน/6เดือน แยกเป็นค่าบริการฝากเก็บ
126 บาท ค่าประกันภัย 14 บาท ค่าตรวจสอบคุณภาพ 16 บาท ค่ารักษาคุณภาพ 60 บาท และค่าขนถ่ายเข้าเก็บ
30 บาท โดยค่าฝากเก็บนี้ คณะอนุกรรมการฯปรับได้ตามความเหมาะสม
การสร้างไซโลครั้งนี้ นายวัฒนาตั้งเป้าหมายดำเนินการให้เสร็จพร้อมรองรับข้าวได้ภายในปี
47 สำหรับผลผลิตข้าวเปลือกนาปีปี 47/48 ซึ่งสอดคล้อง กับนโยบายระบายสต๊อกข้าวของรัฐ
1.9 ล้านตันเกลี้ยง สต๊อกในคราวเดียวเพื่อที่ฤดูกาลใหม่รัฐจะได้ไปใช้ ไซโลในการบริหารโครงการรับจำนำข้าวเพียงอย่างเดียว
โดยที่ไม่ต้องไปใช้บริการของโกดังแต่อย่างใด
การฝากเก็บข้าวในไซโลแม้จะมีค่าใช้จ่ายในการ ฝากเก็บสูงกว่าเก็บในโกดัง แต่การเก็บในไซโลจะมีการควบคุมอุณหภูมิทำให้รักษาคุณภาพข้าวได้นาน
เมื่อถึงเวลาขายไม่จำเป็นต้องเสียเงินปรับปรุงคุณภาพข้าวอีก
นายกฯ แก้แทนเรื่องนำเข้าข้าว
ส่วนแนวคิดการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านของนายวัฒนา ยังถูกคัดค้านจากหลายๆฝ่าย
รวมทั้ง ส.ส.พรรคไทยรักไทยและพรรคชาติไทยด้วย
ระหว่างการประชุมส.ส.พรรคไทยรักไทย เมื่อวานนี้ มีส.ส.ของพรรคหลายคนไม่เห็นด้วยกับความ
คิดของนายวัฒนา เช่นนายโสภณ เพชรสว่าง ส.ส. บุรีรัมย์ พรรคไทยรักไทย ได้สอบถามนโยบายการ
นำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเกษตรกรไม่เห็น ด้วย โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า ไม่ใช่การนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาไว้ ในประเทศไทยเพื่อส่งออก
แต่ประเทศไทยจะเข้าไปจัดการข้าวของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้การขายข้าว เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ไม่มีการดัมป์ราคากันเอง จนราคาข้าวของประเทศใดประเทศหนึ่งตกตํ่า แต่ข่าว ที่ออกมาเกิดจากการชี้แจงที่ไม่ชัดเจน
ทำให้เข้าใจว่า จะมีการนำเข้าข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาไว้ในประเทศไทยเพื่อส่งออก
"นโยบายนี้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะทำให้ราคาข้าวของประเทศดีขึ้นเพราะตอนนี้ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่มีไม่กี่ประเทศเช่น
เวียดนาม พม่า เราก็ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจานำเข้า นอกจากจะได้กำไรแล้วยังทำให้ไทยเป็นเจ้าตลาดข้าว
เหมือนกับที่สิงคโปร์ไม่ได้ผลิตน้ำมันแต่สิงคโปร์ก็เป็นตัวกลางในธุรกิจน้ำมันของภูมิภาค"
พ.ต.ท.ทักษิณกล่าวต่อที่ประชุม
มีรายงานว่าในการประชุมพรรควันนี้ ส.ส.ของพรรคหลายคนโดยเฉพาะส.ส.ภาคกลางและภาคอีสานได้เตรียมจะอภิปรายตำหนินายวัฒนา
และนายวัฒนาก็รู้ตัวล่วงหน้าจึงไม่มาประชุม
ชาติไทยค้าน
ส่วนการประชุมพรรคชาติไทย เมื่อวานนี้ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคเปิดโอกาสให้สมาชิก
พรรคได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวคิดของนายวัฒนา โดยเชิญนายประภัตร โพธสุธน รองหัวหน้าพรรคและเป็นประธานคณะที่ปรึกษาสมาคมชาว
นาไทย มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องข้าวในประเทศเพื่อน บ้าน
นายประภัตรอธิบายว่าลาว เขมร พม่า ไม่มีข้าว พอที่จะส่งออกได้ หากไทยไปรับซื้อข้าวก็จะทำให้มีการทุจริตเกิดขึ้น
และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือพ่อค้า และเจ้าของโรงสี โดยชาวนา และประเทศชาติไม่ได้อะไร
มีแต่ถูกกดราคาข้าวเปลือกให้ต่ำลง แค่ข่าวออก มาเพียงวันเดียวราคาข้าวต่อเกวียนจาก
5,000 บาทเหลือเพียง 4,000 บาทเท่านั้น และที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์คือบริษัทนำเข้าข้าวรายใหญ่ที่ใกล้ชิดกับรัฐมนตรี