Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2542








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2542
พรสนอง ตู้จินดา "ทายาท" ธนาคารไทยคนสุดท้าย?             
 

   
related stories

ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ยังต้องปรับตัวอีกมาก
ดีบีเอส รุกขยายกิจการ

   
search resources

ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
พรสนอง ตู้จินดา




เมื่อครั้งที่พรสนอง ตู้จินดา เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ธนาคารไทยทนุ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นดีบีเอส ไทยทนุ) เมื่อปี 2536 เขามีอายุเพียง 32 ปี นับว่าเป็นผู้บริหารระดับสูงของวงการ ธนาคารพาณิชย์ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น ซึ่งไม่ว่าจะมองมุมไหน เขาคือผู้บริหารมาจากทายาท ภายใต้โครงสร้างความคิดธุรกิจครอบครัว ซึ่งฝังรากลึกในระบบธนาคารไทยด้วย

และเขาคงได้ชื่อว่าเป็นทายาทของธนาคารครอบครัวไทยคนสุดท้ายเสียด้วย

พรสนอง เป็นบุตรชายคนโตของสนอง-ไพเราะ ตู้จินดา เกิดวันที่ 1 มีนาคม 2504 จบชีวิตวัยเรียนในประเทศไทยแค่ชั้นประถมสี่ ที่โรงเรียนสาธิตประสานมิตร จากนั้นย้ายไปชั้นประถมห้าที่โรงเรียนสาธิตปทุมวัน แต่เรียนได้แค่เทอมเดียว ก็ถูกทางบ้านส่งไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ

เกษม จาติกวณิช ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทบิดาของพรสนอง และคุณหญิงชัชนี จาติกวณิช คือ ผู้ใหญ่ที่ชี้ทางให้พรสนอง ไปศึกษาต่อที่อเมริกาเนื่องจากมหาวิทยาลัยที่นั่นมีมากมาย อีกทั้งการศึกษา ยังเน้นการปฏิบัติมากกว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษ ที่ค่อนข้างเน้นภาคทฤษฎี

เมื่อตัดสินใจได้แล้วทั้งเกษม-คุณหญิงชัชนี จึงพาหลานรักอย่างพรสนอง บินไปอเมริกา

ปี 2524 หลังจบไฮสคูล พรสนองเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน แหล่ง บ่มเพาะความรู้ระดับทอปของอเมริกา และปี 2527 พรสนองได้รับปริญญาตรี พอเรียนจบเขาเกิดเป็นไวรัสลงตับ แต่ขณะเดียวกันเขาได้เข้าทำงานในธนาคารกรุงเทพ

อยู่ได้ไม่นาน ปกรณ์ ทวีสิน ขณะ นั้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารไทยทนุ แนะนำให้ไปฝึกงานที่ธนาคารแมนทรัสต์ หรือแมนูแฟคเจอร์เรอร์ แฮนด์โอเวอร์ แอนด์ ทรัสต์ ซึ่งผู้บริหารไทยทนุไปฝึกงานที่นี่กันมาก ตั้งแต่ตัวปกรณ์เอง และขรรค์ ประจวบเหมาะ

หลังจากเรียนรู้งานที่นั่นประมาณ ปีเศษ พรสนองกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจ สาขาการเงินและการจัดการ มหาวิทยาลัยเท็กซัส รัฐแมสซาชูเซตต์ อเมริกา และใช้เวลาเพียงปีครึ่งก็จบการศึกษาเมื่อปี 2530

ชีวิตการทำงานเริ่มจริงจังเมื่อปี 2530 ในตำแหน่ง Executive Trainee ที่ซิตี้แบงก์ สาขาประเทศไทย แทนที่จะเป็นธนาคารไทยทนุ ตามคำแนะนำของบิดา ที่นี่เองที่พรสนองได้พบกับนิติกร ตันติธรรม ซึ่งทำงานในฝ่าย Treasury และชักชวนกันเข้ามาทำงานในธนาคารไทยทนุจนปัจจุบันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ขณะที่ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ผู้ช่วยผู้จัดการของไทยทนุอีกท่านหนึ่งที่เป็นศิษย์เก่าซิตี้แบงก์เช่นเดียวกัน

นับว่าธนาคารต่างชาติแห่งนี้ให้ประสบการณ์สำคัญแก่นายธนาคารและนักการเงินไทยหลายคนทีเดียว

6 เดือนเต็ม พรสนองเข้าคอร์ส ติวเข้มทางการตลาด สินเชื่อ เงินฝาก และบริการต่างๆ ซึ่งความฝันของเขาตอนนั้นอยากทำหน้าที่ด้านสินเชื่อหรือไม่ก็การตลาด ครั้นเวลาผ่านไปปีครึ่ง พรสนองจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าฝ่ายสินเชื่อ และตำแหน่งสุดท้ายในซิตี้แบงก์ คือ Risk Assessment & Relationship Manager (Corporate Customers)

หลังจากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในซิตี้แบงก์ราว 3 ปี พรสนองออกมารับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทั่วไป ธนาคารไทยทนุ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2533 โดยทำหน้าที่ดูแลประสานงานเกี่ยวกับสินเชื่อรายใหญ่ ซึ่งก่อนที่เขาจะเข้ามาในสายงานสินเชื่อ ธนาคารไทยทนุยังไม่มีการแบ่งเป็นสินเชื่อรายใหญ่และรายย่อย

ครั้นวันที่ 1 เมษายน 2533 พจน์ สารสิน ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ ได้แต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ ขึ้นเป็นประธาน กรรมการแทน ทำให้ตำแหน่งกรรมการว่างปกรณ์ ทวีสิน จึงได้เสนอให้พร-สนอง เข้ามาเป็นกรรมการอีกตำแหน่ง พร้อมๆ กับรับผิดชอบด้านการลงทุนเพิ่มเติม

นับเป็นครั้งแรกที่ชัดเจนที่สุด หลังจากบิดาของเขา (สนอง ตู้จินดา) เข้ามาเป็นกรรมการบริหารธนาคารใน 1 ปีก่อนหน้า ซึ่งแสดงอย่างชัดเจนว่า ตระกูลตู้จินดา เป็นตระกูลแรกในบรรดาผู้ถือหุ้นธนาคารไทยทนุ ที่มีตัวแทนของตนมากกว่า 1 คน อันแสดง ถึงพลังที่มากที่สุดของกลุ่มในธนาคารที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นในลักษณะ "เบี้ยหัวแตก"

การมาของพรสนอง จึงแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการปฏิวัติเชิงปฏิบัติของธนาคารแห่งนี้

ขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้บริหารระดับสูงอีกคนและเป็นทายาทผู้บริหารธนาคารไทยทนุที่ยาวนานที่สุดถึง 18 ปี (เฉลิม ประจวบเหมาะ) เริ่มไต่เต้าจากการเป็นพนักงานหมวดบริหาร ฝ่ายการธนาคารต่างประเทศในปี 2520 จนขึ้นเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการในปี 2532 ในปีต่อมาขรรค์เริ่มเรียนรู้ว่าพรสนอง ตู้จินดา คือทายาทคนใหม่ เพราะวันแรกที่พรสนองมาก็มีตำแหน่งในระดับเดียวกับเขาที่ไต่เต้ามาถึง 12 ปีเต็ม

เฉลิม ประจวบเหมาะ บิดาของขรรค์ ก็คือมืออาชีพในยุคเก่าที่ผู้ถือหุ้นเดิมไม่อาจจะลืมเขาได้ ในเรื่องของความซื่อสัตย์ และไม่แสวงหาผลประโยชน์แก่ตน โดยเฉพาะการเข้าถือหุ้นในธนาคาร

ซึ่งแตกต่างจากสนอง ตู้จินดา ที่ไต่เต้าจากผู้ทำงานให้ตระกูลชั้นสูงในบรรดาผู้ถือหุ้นธนาคารไทยทนุ กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นในระดับเดียวกัน เป็นผู้ถือหน้าใหม่ที่เข้ามาภายหลัง ด้วยสายตา ที่ชาญฉลาดในฐานะผู้มีประสบการณ์ในการจัดการหนี้สินของระบบธนาคารไทยมาหลายแห่ง เขาเรียนรู้ว่าธนาคารไทยทนุ คือ ธนาคารที่ลงทุนน้อยที่สุด แต่มีอำนาจที่สุด เพราะโครงสร้างผู้ถือหุ้นกระจายอย่างมาก

และเขาเรียนรู้อีกว่า กิจการธนาคารไทยมีอภิสิทธิ์มากมาย

27 มกราคม 2535 พรสนองขึ้น ดำรงตำแหน่งกรรมการและรองกรรม การผู้จัดการ ดูแลสายงานธุรกิจทั้งหมด อาทิ ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายปฏิบัติการสินเชื่อ สำนักบริหารเงิน ฝ่ายการธนาคารทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวที่มอบให้กับพรสนอง เป็นการวางตัว "กรรมการผู้จัดการ"คนใหม่ แทนปกรณ์ ทวีสิน

ในที่สุด 15 มิถุนายน 2536 พรสนอง ได้รับการโปรโมตเป็นกรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาเหมาะสมอย่างมาก ท่ามกลางนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน

การมาของพรสนองยังธนาคารอนุรักษนิยมแห่งนี้จึงไม่กระโตกกระตาก เท่าที่ควร ทั้งๆ ความเป็นโครงสร้างการบริหารธนาคารแห่งนี้เปลี่ยนแปลงรากฐานที่ก่อตั้งเมื่อ 45 ปีที่แล้ว

และนับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กระทบองค์กรที่เปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ เป็นนิจศีล รุนแรงที่สุด ครั้งที่ 1

แม้ว่าพรสนองจะมีบุคลิกประนี ประนอมไม่แตกต่างจากปกรณ์ ทวีสิน มากนัก ทั้งยังอยู่ภายใต้เงาของปกรณ์อย่างมาก ภายใต้โครงสร้างที่ให้มีทั้ง CEO และ President แต่พรสนอง นับว่าเป็นผู้สร้างสีสันและความเปลี่ยน แปลงต่อความรู้สึกนึกคิดต่อธนาคารไทยทนุอย่างมาก

ช่วงปลายปี 2539 รัฐบาลพยายามที่จะผลักดันให้มีการควบรวมกิจ การระหว่าง บง.เอกธนกิจ และธนาคารไทยทนุ ซึ่งก่อนหน้านั้น ทั้งคู่เคยมีแนวคิดที่จะควบกิจการกันอยู่แล้ว พรสนอง เกือบสร้างประวัติศาสตร์การควบรวมกิจการสถาบันการเงินภาคเอกชนครั้งแรกได้สำเร็จ แต่สุดท้ายกลับล้มเหลวโดยฝ่ายธนาคารไทยทนุเมื่อเข้ามาวิเคราะห์หลักทรัพย์ของบง.เอกธนกิจ แล้วพบว่าหุ้นต่างๆ ไม่มีค่าเลย

อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้พรสนอง ตู้จินดา คือฝ่ายที่มีน้ำหนักอย่างมาก ในการสนับสนุนแผนการสร้างธนาคารให้ใหญ่ด้วยกลวิธี M&A ซึ่งผู้บริหารไทยทนุรุ่นเก่าจำนวนไม่น้อยเย็นชากับวิธีนี้

เวลาผ่านไปไม่กี่ปีพรสนองมีบทบาทสำคัญของความสำเร็จในการพาพันธ มิตรเข้ามาร่วมดำเนินธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่คนไกลตัวที่ไหน แต่เป็นธนาคารดีบีเอส แห่งสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นธนาคารไทยทนุมาเป็นเวลายาวนาน ด้วยการเล็งอนาคตอันสดใสของการดำเนินธุรกิจธนาคาพาณิชย์ในไทย ธนาคารดีบีเอสจึงตัดสินใจถือหุ้นในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน 57.08%

แม้สัดส่วนการถือหุ้นของตระกูล ตู้จินดาจะเหลือไม่ถึง 5% ในวันนี้แล้วก็ตาม แต่เขาคือตัวแทนทายาทของระบบธนาคารครอบครัวที่ยังมีความหวังว่า สัดส่วนที่ครอบครองหุ้น (รวมทั้งอำนาจการบริหาร) น้อยลงนั้นอาจจะมีผลตอบแทนมากขึ้นในอนาคต จาก "ความเป็นมืออาชีพธนาคาร" ของดีบีเอส ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนคุ้มกับการลงทุนที่บิดาของเขาลงทุนไว้เมื่อหลายปีก่อน

ที่สำคัญไม่ว่าโครงสร้างบริหารจะเป็นอย่างไร ดีบีเอสจะมีบทบาทและอำนาจ เพียงแต่วันนี้พรสนองยังเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่

เขายังเป็นทายาทของระบบธนาคารครอบครัวไทยคนล่าสุดที่เข้ามาใหม่ และยังรักษา"ฐานะ" ของเขาอยู่ได้ ในขณะที่ธนาคารหลายแห่งมีอันเป็นไป ไม่น้อยหน้าธนาคารใหญ่

นี่คือสิ่งที่คนรุ่นใหม่อย่างพรสนอง ตู้จินดา เข้าใจธุรกิจนี้ดีกว่าคนรุ่นก่อน ซึ่งไม่แน่ว่าหากสนอง ตู้จินดา มีชีวิตอยู่เขาจะเห็นด้วยหรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us