Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 พฤษภาคม 2547
อสังหาฯQ1ขยายตัวต่อธปท.คาดราคาบ้านพุ่ง             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
อัจนา ไวความดี
Real Estate




แบงก์ชาติ เผยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไตรมาสแรกยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เหตุเศรษฐกิจฟื้น บวกกับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ คาดการณ์ราคาอสังหาริมทรัพย์จะสูงขึ้น ตามราคาต้นทุน และราคาประเมิน ที่ดินที่สูงขึ้น ระบุธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ร้อนแรงจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ พร้อมชี้คอนโดมิเนียม ใกล้สถานีรถไฟฟ้าและรถไฟ ใต้ดินเป็นทำเลทอง มีแววราคาพุ่ง

นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ที่ผ่านมาว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญๆ จากการที่เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลทำให้ความ ต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ หากพิจารณาดัชนีเครื่องชี้วัดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แล้ว ยังไม่มีดัชนีตัวใดส่งสัญญาณของความร้อนแรงที่จะส่งผลกระทบต่อ เสถียรภาพเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่าราคาอาคารชุดที่พักอาศัยย่านธุรกิจจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก

สำหรับดัชนีเครื่องชี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเดือนมกราคม 2547 ที่ผ่านมานั้น มูลค่าการซื้อขายที่ดินลดลงมากจากสิ้นเดือนก่อน โดยมีปัจจัยจากนโยบายการลดหย่อนภาษีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลผ่อนปรนได้สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นมา จึงส่งผลให้ที่พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง และที่อยู่อาศัยจดทะเบียนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลชะลอลง

ประกอบกับ ธปท.ได้ออกมาตรการให้สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อย สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท และโครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป

"จากการขยายตัวของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูงในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ได้เข้าสู่ธุรกิจมากขึ้น ทำให้คาดว่าอุปทานของภาคอสังหาริมทรัพย์จะขยายตัวต่อไป ขณะที่อุปสงค์ จะสูงต่อเนื่องภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายขึ้นของผู้ซื้อ ส่วนแรงกดดันด้านราคายังมีไม่มาก เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงแต่ต้นทุนของวัสดุก่อสร้างที่เร่งตัวขึ้นมากอาจกดดันให้ผู้ประกอบการต้องปรับราคาขึ้นในอนาคต"

รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ธปท.ยังได้เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายที่ดินและเครื่องชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 โดยด้านอุปทานเร่งตัวขึ้นจากเดือนมกราคม ยกเว้นพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอุปทานที่อยู่อาศัยโดยรวมยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีการเปิดตัวโครงการใหม่จำนวน มากในช่วงต้นปี ทั้งบ้านเดี่ยว อาคารชุด และทาวน์เฮาส์ ทั้งนี้ จากการสอบถามผู้ประกอบการ พบว่าปริมาณการซื้อขายบ้านและที่ดินในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ค่อนข้างดีสอดคล้องกับมูลค่าการซื้อขายที่ดิน

อย่างไรก็ตาม การที่ต้นทุน ราคาวัสดุก่อสร้าง และราคาประเมินที่ดินเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือด้านก่อสร้าง เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งราคาอาคารชุดในย่านธุรกิจใจกลางเมืองได้ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะโครงการตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งมีศักยภาพทั้งเพื่อการลงทุนและเพื่อการเก็งกำไร

สำหรับมูลค่าการซื้อขายที่ดิน ณ สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2547 นั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 36,752 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 65.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ส่วนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างมีจำนวน 1,471,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 36.7% และที่อยู่อาศัยที่จดทะเบียนเพิ่มในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวน 3,950 หน่วย ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ มีทั้งสิ้น 2,390,000 ตัน ขณะที่ดัชนีราคาขายวัสดุก่อสร้างอยู่ที่ระดับ 147.6% ซึ่งถือว่าสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us