Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 เมษายน 2547
จำคุก20ปี"รสรินและสามี"ค้าเงินเถื่อน800ล้านดอลลาร์             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารยูโอบี รัตนสิน
ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
รัตนโกสินทร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
พิเชษฐ์ ช่อประดิษฐ์
รสริน ช่อประดิษฐ์
ศิรินทรา มะหะหมัด
Banking and Finance




ศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาจำคุก 20 ปี" รสริน ช่อประดิษฐ์ และสามีฐานส่งเงินตราผิดกฎหมายออกนอกประเทศ กว่า 800 ล้านเหรียญฯหลังศาลพิเคราะห์ พบข้อหักล้างของพวกจำเลย ฟังไม่ขึ้น จงใจกระทำความผิด

วานนี้ (29 เม.ย.) ศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้มีคำพิพากษาในคดี ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจ และทรัพยากร 3 เป็นโจทก์ฟ้อง บริษัทรัตนโกสินทร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, น.ส.ศิรินทรา มะหะหมัด อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการสายงานลูกค้า และวาณิชธนกิจ ธนาคารยูโอบีรัตนสิน และอดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท รัตนโกสินทร์ ,นางรสริน ช่อประดิษฐ์ และนายพิเชษฐ์ ช่อประดิษฐ์ สามี ในฐานะผู้บริหารบริษัทรัตนโกสินทร์, บริษัท อิสเทิร์นปิโตรเลียมฯ และบริษัทธนทรัพย์ฯพร้อมพวกซึ่งเป็นเครือญาติและหุ้นส่วนฯ เป็นจำเลยที่ 1-14 ตามลำดับ ในความผิดฐานร่วมกันส่งของต้องจำกัดออกนอกราชอาณาจักร ฝ่าฝืนพ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา พ.ศ. 2485 ฝ่าฝืนพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และความผิดใช้เอกสารปลอมในการกู้ยืม

โดยคดีนี้ อัยการ ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 44 ระบุความผิดว่า ระหว่างวันที่ 30 มี.ค. 42-8 มิ.ย. 43 จำเลยกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องอีกหลายคนกระทำ ผิดกฎหมายหลายกรรม โดยพวกจำเลยติดต่อกับธนาคารกรุงเทพ ฯ สำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นตัวแทนซื้อ-ขาย หรือส่งออกเงินตราต่างประเทศ ซึ่งวันที่ 31 มี.ค. 42 พวกจำเลยร่วมกันกู้และนำเข้าเงินตราต่างประเทศจากฮ่องกง จีน และสิงคโปร์ จำนวน 4.8 แสนเหรียญสหรัฐ โดยแจ้งเอกสารรายงานการส่งออกนอกประเทศ (ธ.ต.4) เป็นเท็จไม่ตรงกับความเป็นจริง ว่าเพื่อชำระคืนเงินกู้นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งวิธีการให้ส่งเงินตราต่างประเทศไปยังประเทศสหรัฐฯ และนำเงินดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศไทย เป็นการกระทำอันเป็นเท็จ โดยความจริงแล้วพวกจำเลยไม่ได้กู้เงินจากบริษัท GEMDESHINDE ตามวันเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้ นอกจากนี้พวกจำเลย ยังนำเอกสารต่างประเทศที่เคยใช้แล้ว มาประกอบการโอน เงินตราต่างประเทศ หลายครั้ง หลายหน การกระทำ จึงเป็นการได้ไปซึ่งปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศเป็นการแจ้งวัตถุประสงค์อันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ฝ่าฝืนกฎกระทรวง คำสั่ง ประกาศ และพ.ร.บ.ควบคุม เงินตราฯ

เมื่อศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ ประกอบกับการนำสืบหักล้างของพวกจำเลยเห็นว่า บริษัทรัตนโกสินทร์ จำเลยที่ 1, บริษัทอีสเทิร์น ปิโตรฯ จำเลยที่ 5 และบริษัทธนทรัพย์ทวีฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลกระทำผิดจริงตามฟ้อง พิพากษาปรับจำเลย ที่ 1 จำนวน 152,316,000 เหรียญสหรัฐ , จำเลยที่ 5 จำนวน 294,686 ,000 เหรียญสหรัฐ และจำเลยที่ 13 จำนวน 358,433,454.60 เหรียญสหรัฐ ส่วนนางรสริน จำเลยที่ 3 และนายพิเชษฐ์ จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็น ผู้บริหารบริษัททั้งสาม ศาลเห็นว่าคดีนี้การโอนเงินเป็นจำนวนมาก และโดยปกติผู้บริหารย่อมจะตรวจสอบเอกสารต่างๆ ก่อน พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบ ไม่สามารถนำมาหักล้างพยานโจทก์ได้ จึงพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 6 มีความผิดรวม 666 กระทง จำคุกกระทงละ 1 ปี โดยให้รวมกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.91 คงโทษจำคุก จำเลย คนละ 20 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 , 4 , 8 , 9 , 10 , 11 และ 14 พยานหลักฐานโจทก์ไม่ชัดเจนว่าจำเลยร่วมกระทำในการโอนเงิน จึงพิพากษายกฟ้อง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us