Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 เมษายน 2547
ตลท.ผ่อนกฎย้ายรีแฮบโบรกเลือก3บอร์ดใหม่             
 


   
www resources

บริษัทหลักทรัพย์ เอบีเอ็น แอมโร เอเชียโฮมเพจ
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ เคจีไอ (ประเทศไทย)
โฮมเพจ บริษัทเงินทุนธนชาติ

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ฟิลลิป (ประเทศไทย), บล.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทรีนิตี้, บล.
ธนชาต, บล.
เคจีไอ (ประเทศไทย), บล.
เอบีเอ็น แอมโร เอเซีย
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
วิกิจ ขจรณรงค์วณิช
กัมปนาท โลหเจริญวนิช
จรัมพร โชติกเสถียร
ทรงเดช ประดิษฐสมานนท์
ภัทรียา เบญจพลชัย
อัศวินี ไตลังคะ
Stock Exchange




บอร์ดตลท.มีมติปรับเกณฑ์ย้ายบจ. REHABCO กลับหมวดปกติ โดยพิจารณากระแสเงินสดรวมของกิจการ พร้อมอนุมัติตลท.เดินหน้าพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหุ้นกู้ถึงสิ้นปี 2548 ด้านกรรมการตลาดหลักทรัพย์ซีกโบรกเกอร์ที่จะหมดวาระลง 3 คน สมาคมบล.ได้มีการเลือก ตั้งแล้ว ได้แก่ กัมปนาท โลหะเจริญวนิช, อัศวินี ไตลังคะ, ทรงเดช ประดิษฐสมานนท์

นางภัทรียา เบญจพลชัย รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการตลท. เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ได้พิจารณาเกี่ยวกับหลัก เกณฑ์การพิจารณาย้ายบริษัทจดทะเบียน จากหมวด REHABCO (บริษัทที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ) กับหมวดอุตสาหกรรมปกติ และได้ปรับแนวทางจากเดิมที่พิจารณากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow from Operation: CFO) ภายหลังรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายเป็นบวกเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่ง มาเป็นการพิจารณากระแสเงินสดโดยรวมของกิจการ เพื่อประกอบการพิจารณาว่าบริษัทมีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่มั่นคงตามสภาพธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

เดิมหลักเกณฑ์การพิจารณาบริษัทที่จะย้ายจากหมวด REHABCO ไปยังหมวดปกติ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2546 เป็นต้นมา ประกอบด้วย 5 หลักเกณฑ์ ได้แก่ 1) บริษัทต้องมีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก 2) มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในธุรกิจหลัก 3 ไตรมาสติดต่อกัน หรือ 1 ปี 3) มีการปรับโครงสร้างหนี้มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลหนี้ทั้งหมดของ บริษัทและสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด 4) มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) ภายหลังรับรู้ดอกเบี้ยจ่ายมากกว่าศูนย์ 5) มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่มั่นคงตามสภาพ ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

เมื่อคณะกรรมการตลท.ได้ปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็จะทำให้บริษัทจดทะเบียนในหมวด REHABCO ที่มีความแข็งแรงเพียงพอสามารถย้ายกลับหมวดปกติได้ โดยไม่ติดเกณฑ์ที่ CFO ของบริษัทต้องเป็นบวกเท่านั้น

"เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่าเกณฑ์ในเรื่องของ CFO ไม่ใช่ปัจจัยหลักหรือปัจจัยเดียวที่ตลท.จะนำมาตัดสินว่าบริษัท มีสภาพคล่องหรือฐานะการเงินดี และมีความแข็งแรงเพียงพอที่ จะย้ายกลับหมวดปกติ เพราะการที่บริษัทมี CFO เป็นลบ หรือติดลบอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ได้ เพราะปัจจุบันหลายบริษัท ที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว และเริ่มดำเนินธุรกิจตามปกติ ก็อาจมีความต้องการที่จะเร่งขยายงานในด้านต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ CFO ติดลบ นอกจากนี้ การพิจารณากระแสเงินสดโดยรวมของกิจการก็จะทำให้เห็นภาพรวมฐานะการเงินของบริษัทได้ครอบคลุมมากกว่า" รองผู้จัดการกล่าว

นอกจากนี้ คณะกรรมการตลท. ได้อนุมัติแผนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ พร้อมทั้งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหุ้นกู้ในตลาดตราสารหนี้ออกไปถึงสิ้นปี 2548 ซึ่งขยาย เวลาจากเดิมสิ้นสุด 31 มีนาคม 2547 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนที่มีการออกหุ้นกู้ นำเข้ามาจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น

"คณะกรรมการตลท.ได้อนุมัติแผนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ซึ่งมุ่งพัฒนา 5 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเพิ่มจำนวน ผู้ลงทุน ด้านการเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของตราสารหนี้ ด้านการปรับปรุงระบบซื้อขายและการเข้าถึงข้อมูล ด้านการพัฒนาข้อมูลการลงทุน และด้านการให้ความรู้เรื่องตราสารหนี้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง" นางภัทรียากล่าว

แผนการดำเนินงานที่สำคัญได้แก่ การเพิ่มจำนวนบริษัทสมาชิกที่ให้บริการซื้อขายตราสารหนี้ รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักลงทุนสถาบัน อาทิ ธนาคาร กองทุนรวม ส่งคำสั่งซื้อขายตราสาร หนี้ได้เองเพื่อความสะดวก นอกจากนี้ จะเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายตราสารหนี้ โดยจะประสานงานกับธนาคารให้มีการทำงานร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อทำหน้าที่ Market maker รวมทั้งยังได้ศึกษาแนวทางการขอยกเว้นกำไรที่ได้จากการซื้อขายตราสารหนี้เพื่อส่งเสริมให้มีการซื้อขายตราสารหนี้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น

ด้านการเพิ่มจำนวนและความหลากหลายของตราสารหนี้ มีการจัดทีมการตลาดเพื่อส่งเสริมการเพิ่มจำนวน และประเภทของตราสารหนี้ที่เข้าจดทะเบียนนอกเหนือจากหุ้นกู้ เช่น หุ้นกู้แปลงสภาพ รวมทั้งจะศึกษาแนวทางการนำตราสารหนี้ที่ออกโดยภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IFC (International Finance Corporation) ธนาคารโลก เป็นต้น เข้าจดทะเบียนด้วย

"เพื่อให้บริการข้อมูลแก่ผู้ลงทุนได้มากขึ้น ตลท.จะเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ให้บริษัทสมาชิก จากปัจจุบัน 100 จอ เป็น 300 จอ รวมทั้งจะพัฒนาระบบซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตให้ผู้ลงทุนส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นกู้ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ และจะเพิ่มข้อมูลเรียลไทม์ในระบบข้อมูล SET Smart และเว็บไซต์ จากปัจจุบันที่มีการเผยแพร่ในรูปแบบตัววิ่งแบบเรียลไทม์ทางหน้าจอโทรทัศน์ของไอทีวี โดยคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในปีนี้ ส่วนด้านการให้ความรู้ จะมีการจัดกิจกรรมและจัดทำสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง" รองผู้จัดการกล่าว

ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการตลท. ยังได้อนุมัติการ เตรียมแผนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในระยะยาว เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณตราสารหนี้จากทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะมีเพิ่มมากขึ้น และเพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดรองตราสาร หนี้ในต่างประเทศได้

"คณะกรรมการตลท.มีความเห็นว่า ตลาดรองตราสารหนี้ ในประเทศไทยต้องปรับตัวให้พร้อมรองรับปริมาณหุ้นกู้ที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งพันธบัตรจากภาครัฐบาลและเอเชียบอนด์ ซึ่งกระทรวงการคลังได้เริ่มทยอยออกมาจำหน่าย แก่ประชาชนทั่วไปแล้ว หากไม่มีการเตรียมการที่ดี ตราสารหนี้ที่มีจำนวนมากขึ้นจะหันไปจดทะเบียนและไปใช้บริการในตลาดรองตราสารหนี้ในต่างประเทศ ตลท.จึงต้องเตรียมการให้ตลาดรองตราสารหนี้ของไทยสามารถแข่งขันกับตลาดรองตราสารหนี้ในต่างประเทศได้" นางภัทรียากล่าว

ตลาดตราสารหนี้ได้เปิดการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 เป็นต้นมา โดยมีหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียน 7 บริษัท มูลค่า 152,648 ล้านบาท ปัจจุบันมีบริษัทหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายตราสารหนี้อย่างสม่ำเสมอ 4 ราย ได้แก่ บล.ไทยพาณิชย์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) บล.ธนชาติ และบล.เอบีเอ็น แอมโร เอเชีย โดยหุ้นกู้ที่มีการซื้อขายมากที่สุดคือหุ้นกู้ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ส่วนความเคลื่อนไหวทางด้านการเลือกตั้งกรรมการตลาดหลักทรัพย์ในส่วนที่มาจากการเลือกตั้งของบริษัทสมาชิก (โบรกเกอร์) แทนกรรมการที่จะหมดวาระลงนั้น แหล่งข่าวจาก โบรกเกอร์เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 เมษายน สมาคมบริษัทได้มีการประชุมเพื่อเลือกตั้งผู้ที่จะเข้าไปเป็นกรรมการตลาดหลัก ทรัพย์ในส่วนของโบรกเกอร์ซึ่งจะหมดวาระ 3 คน ประกอบด้วยนายวิกิต ขจรณรงค์วณิช กรรมการผู้จัดการ บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย),นายจรัมพร โชติกเสถียร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ และนายทรงเดช ประดิษฐ์สมานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชี ซึ่งผลเลือกตั้งบริษัทสมาชิกได้คัดเลือกนางอัศวินี ไตลังคะ กรรมการผู้จัดการบล.ธนชาติ, นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการผู้อำนวยการบล.ทรีนีตี้ และนายทรงเดช ที่กลับเข้ามาเป็นกรรมการอีกวาระหนึ่ง ซึ่งกรรม การใหม่นี้จะมีผลในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ และจะมีวาระบริหารเป็นเวลา 2 ปี

จะเห็นว่าผลการคัดเลือกครั้งนี้มีตัวแทนจากคนทำธุรกิจโบรกเกอร์ 2 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชี 1 คน ทำให้สัดส่วนโครงสร้างกรรมการในโควตาของโบรกเกอร์ได้ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมที่กำหนดให้มีตัวแทนจากบริษัทหลักทรัพย์ 3 คน และคนนอกที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นกรรมการ 2 คน แต่ได้ปรับเปลี่ยนใหม่เป็นตัวแทนจากโบรกเกอร์ 4 คน และคนนอก 1 คน สาเหตุเนื่องจากพิจารณาเห็นว่า ตลาดหลักทรัพย์ควรที่จะหาผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในตลาดทุนเข้ามาบริหาร ซึ่งจะทำให้เกิดผลดีต่อตลาดหุ้นโดยรวมของไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us