แบงก์กรุงศรี เตรียมเทขายหุ้นบริษัทในเครือกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ยังลง ทุนในธุรกิจหลักของบริษัทในเครือเช่นเดิม
ลั่นจัดการฟ้องหนี้ เน่าอีก 5,000 ล้านบาทให้หมดสิ้นมิ.ย.นี้เลี่ยงเกณฑ์ตั้งสำรองใหม่ของแบงก์ชาติ
มั่นใจล้างทุน สะสมหมดได้ในสิ้นปีนี้แน่นอน
นายจำลอง อติกุล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรี อยุธยา จำกัด (มหาชน)เปิดเผย
ว่า ธนาคารมีแผนที่จะขายบริษัท ในเครือที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของธนาคาร
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ได้มาจากการปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงหนี้เป็นทุนของลูกหนี้ธนาคาร
คิดเป็นวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท
"หากกิจการของบริษัทนั้นมีผลการดำเนินงานดีขึ้น และเห็นว่าจะสามารถทำกำไรได้
ธนาคารมีแผนที่จะขายกิจการดังกล่าวออกไป ซึ่งในขณะนี้เจ้าของกิจการบางรายได้ขอซื้อหุ้นจากธนาคารคืนบางส่วน
แล้ว ส่วนบริษัทที่ยังไม่สามารถทำกำไรได้นั้นธนาคารยังคงถือหุ้นไว้ แต่สำหรับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของธนาคารอย่างเช่น
อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี บล.เอเจเอฟ ธนาคารยังคงลงทุนในระยะยาวต่อไป" นายจำลองกล่าว
ทั้งนี้ ธนาคารกำลังดำเนินการ ฟ้องร้องลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญ หรือ NPL ประมาณ
200-300 ราย คิดเป็นมูลหนี้ประมาณ 5,000 ล้าน บาท โดยธนาคารตั้งเป้าฟ้องร้องให้
เสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2547 เพื่อที่จะไม่ต้องตั้งสำรองตามกฎเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศ
ไทย (ธปท.) ที่กำหนดให้ NPL ที่ไม่มีความคืบหน้าในการปรับโครง สร้างหนี้ในระยะ
2 ปี ทุกธนาคารจะไม่สามารถใช้หลักประกันมาตั้งสำรองได้
นายจำลอง กล่าวต่อว่า ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญได้อนุมัติให้มีการล้างขาดทุนสะสมของธนาคารที่มีจำนวน
36,000 ล้านบาท ซึ่งภายหลังจากที่นำกำไรสุทธิของปี 2546 มาหักผลขาดทุน ทำให้ตัวเลขขาดทุนสะสมทั้งหมดเหลือเพียง
3,600 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถล้างขาดทุนสะสมทั้งจำนวนได้ภาย ในสิ้นปี 2547 ทั้งนี้
การล้างขาดทุน สะสมต่อไปไม่ต้องขอมติจากผู้ถือหุ้นหากธนาคารมีกำไรในแต่ละไตรมาสก็สามารถนำมาล้างขาดทุน
สะสมได้ทันที และไม่จำเป็นต้องแบ่งกำไรสุทธิไปตั้งสำรองเพิ่ม
สำหรับการตั้งสำรองตามเกณฑ์ของ Basel II นั้น ธนาคารมีการบริหารความเสี่ยงตามแนวทาง
นี้อยู่แล้ว และได้มีการปรับแนวทาง การบริหารความเสี่ยงให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์อยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มในส่วนนี้
แต่อย่างไรก็ตามอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวจะบังคับใช้
ทั้งนี้ ตามหลัก Basel II ของประเทศที่พัฒนาแล้วจะเน้นการใช้ทุนให้น้อยลง แต่มีการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้นายจำลองยังกล่าว ถึงแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยว่า ภายใน ปี 2547 นี้ อัตราดอกเบี้ยของประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องมีการปรับตัวขึ้นอย่างแน่นอน
และถึงแม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่นักลงทุนมองว่าตลาดจะเป็น
แรงกดดันให้อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น
"การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศจะส่งผลให้ดอกเบี้ย ในประเทศปรับตัวขึ้นเร็วกว่าที่คาด
ซึ่งหากไม่มีปัจจัยนี้ก็จะรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ไว้ เพราะถือว่าเหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และหาก อัตราดอกเบี้ยในประเทศจำเป็นจะต้องปรับตัวตามก็จะไม่ส่งผลกระทบในระยะเวลาสั้นเนื่องจากต้องดูปัจจัยด้านอัตราเงินเฟ้อ สภาพคล่องส่วนเกินประกอบไปด้วย" นายจำลองกล่าว