Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 เมษายน 2547
ครม.ไฟเขียวภาษีกองทุนเฉือน2พันล.กระตุ้นตลท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยาเจเอฟ จำกัด - เอเจเอฟ

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ - MAI
ไทยพาณิชย์, บล.
อยุธยาเจเอฟ, บลจ.
กระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
อดิศร เสริมชัยวงศ์
สุวิทย์ เมษินทรีย์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
เรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์
สมชัย สัจจพงษ์
Stock Exchange




คณะรัฐมนตรีไฟเขียวมาตรการภาษีกระตุ้นตลาดทุน ทั้งการยืดระยะเวลาการลดภาษีให้บริษัทจดทะเบียนใหม่ที่นำหลักทรัพย์เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดใหม่ภายในสิ้นปี 2548 รวมทั้งภาษีส่งเสริมการลงทุนผ่านนักลงทุนสถาบัน ขณะที่รมว.คลัง "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" ไม่ห่วงผลกระทบของรายได้รัฐบาล แม้จะลดลง กว่าปีละ 2.2 พันล้านบาท ด้านผู้บริหารบลจ. มั่นใจมาตรการภาษีหนุนให้ธุรกิจกองทุน รวมที่ลงทุนในหุ้นขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันคาดว่าจะสรุปได้ภายใน 2 เดือน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (27 เม.ย.) ว่าครม.ได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อช่วยพัฒนาการลงทุนในตลาดทุนระยะยาว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ (ก.ล.ต.) เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา

ยืดเวลาลดภาษีบจ.ใหม่ถึงสิ้นปี48

สำหรับสาระสำคัญของมาตรการภาษีดังกล่าว ประกอบด้วย สิทธิประโยชน์ทางภาษี 3 ประการ คือ ประการแรก การขยายการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับบริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ จากวันที่ 5 กันยายน 2547 นี้ ออกไปอีก 1 ปี 3 เดือน หรือสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2548

โดยบริษัทที่นำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในระยะเวลาดังกล่าว จะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติ บุคคลจากอัตรา 30% เหลือ 20% ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะ เวลาบัญชีสำหรับกรณีนำหลักทรัพย์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ใหม่ (MAI) และเหลือ 25% ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลา บัญชี สำหรับกรณีนำหลักทรัพย์เข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทที่นำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ได้มีการเตรียมความพร้อม ขณะที่ทางก.ล.ต. เองมีเวลาในการพิจารณาคุณภาพของบริษัทเหล่านั้นด้วย รวมทั้งเพื่อเป็น การกระจายการนำหุ้นใหม่เข้าเสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่กระจุกตัวมากจนเกินไป

"การขยายระยะเวลา อาจมีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บภาษีบ้างในระยะสั้น แต่จะเป็น ผลดีต่อระบบจัดเก็บในระยะยาว เนื่องจากบริษัทที่จดทะเบียนจะมีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส หากให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้สิ้นสุดปีนี้ จะมีปัญหาเรื่องกระบวนการในการตรวจสอบบริษัทที่ต่างเร่งรัดเข้ามาช่วงนี้ บางบริษัทมีคำ ขอไม่เรียบร้อย จะส่งผลเสียในภาพรวมได้"

ผ่อนปรนเกณฑ์ลงทุน "RMF"

ประการที่ 2. การผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภาษีกรณีการลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยผ่อนหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการลงทุนผ่าน RMF โดยกำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา สามารถนำเงินได้ทุก ประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนใน RMF ได้รับการลด หย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่จ่าย เป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 300,000 บาทของปี ภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ หรือ กบข. จากเดิมที่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษี สำหรับการนำเงินได้บางประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น

การผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้แก่ RMF จากเดิมที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษี เฉพาะกรณีการขายคืนหน่วยลงทุนเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป หรือ มีทุพพลภาพ หรือตายเท่านั้น

"การผ่อนปรนหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติข้างต้น จะมีส่วนส่งเสริมให้มีการลงทุนในกองทุน มากขึ้น เป็นการสร้างความมั่นคงในด้านรายได้สำหรับผู้ลงทุน และทำให้กองทุนสามารถนำเงินไปลงทุนในตลาดทุนระยะยาวได้มากขึ้นด้วย ซึ่งกรณีนี้จะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"

ลดภาษีกองทุนหุ้นระยะยาว

ประการที่ 3. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับบุคคลธรรมดาที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อ การลงทุนในตราสารแห่งทุนระยะยาว ตามกฎ หมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดตั้งได้ภายใน 3 เดือน โดยให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา ที่ซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนระยะยาวฯ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นและจำหน่วยหน่วย ลงทุนเป็นครั้งแรก ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 หรือ 3 ปีข้างหน้า ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่ลงทุนในอัตราไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกินปีละ 300,000 บาท

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้ ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา หากมีเงินได้ หรือผลประโยชน์ใดๆ จากการขายหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อย กว่า 5 ปี คืนให้กับกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนระยะยาวฯได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินที่ได้รับ

กระทบรายได้ภาษีปีละ 2.2 พันล้าน

"ในระยะยาวจะมีผลกระทบต่อรายได้ภาษี ปีละประมาณ 2,200 ล้านบาท แต่จะมีส่วนสนับ สนุนในด้านการลงทุน ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะยาว"

นายสมคิด กล่าวว่ามาตรการสิทธิประโยชน์ ทางภาษีดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เรียบร้อยแล้ว โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน สามารถทันใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการยื่นแบบภาษีในปีงบประมาณ 2548 หรือช่วง มีนาคม 2548 แน่นอน

นายสมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการสิทธิ ประโยชน์ทางภาษีเป็นการพัฒนาตลาดทุนในระยะยาว ไม่ใช่เป็นการกระตุ้นตลาด แต่เป็นการ ปูพื้นในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดทุน เนื่องจากปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งระบบ 2,000,000 ล้านบาท แบ่งเป็นนักลงทุนต่างประเทศ 1.10 ล้านล้านบาท นักลงทุนรายย่อย 5 แสนล้านบาท และนักลงทุนสถาบัน 4 แสนล้านบาท

"การสร้างเสถียรภาพตลาดทุน จำเป็นต้อง เพิ่มสัดส่วนนักลงทุนประเภทสถาบันให้มากพอ และได้ดุลกับนักลงทุนรายย่อย เพราะนักลงทุนรายย่อยจะตกใจเทขาย และช้อนซื้อตามนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อเสถียรภาพของตลาดทุน"

หวังพัฒนาตลาดทุนระยะยาว

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า มาตรการทาง ด้านภาษีที่ออกมาตรงกับความต้องการของ ก.ล.ต.ที่อยากให้ตลาดทุนมีความแข็งแกร่ง และมีการพัฒนาไปได้ในระยะยาว ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวสร้างให้ตลาดทุนมีเสถียรภาพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนมีทางเลือกในการออมและยังเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วย

สำหรับมาตรการในการจัดตั้งกองทุนหุ้นสามัญระยะยาวนั้น หลังจากที่ครม.มีมติเห็นชอบไปแล้ว ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 ทางคณะกรรมการก.ล.ต. เตรียมที่จะยกร่างกฎ ก.ล.ต.เพื่อเสนอให้กฤษฎีกาพิจารณา ก่อนที่จะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้คาดว่า จะสามารถประกาศได้ภายในอีก 3 เดือนข้างหน้า

ทั้งนี้ หลักการเบื้องต้นในการจัดตั้งกองทุน จะต้องมีขนาดในการจัดตั้งประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งจะต้องมีผู้ถือหน่วยลงทุนมากกว่า 10 ราย ถึงจะสามารถจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนได้ โดยกองทุนนี้จะเป็นกองทุนเปิด มีระยะเวลา 10 ปี ซึ่ง จะมีการลงทุนในหุ้นเท่านั้น และในการซื้อคืนนั้นได้มีการกำหนดช่วงเวลาในการซื้อคืนไว้ แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าเป็นช่วงเวลาใด

พร้อมเดินหน้าปรับลดภาษีนิติบุคคล

สำหรับกรณีที่นายสมคิด มอบนโยบายการ ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้นั้น นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปว่าจะมีการปรับลดภาษีลงเหลือระดับเท่าใด แต่ภายใน 1-2 วันนี้ จะหารือถึงแนวทางการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล กับนาย ศุภรัตน์ ควัฒกุล อธิบดีกรมสรรพากร และคาด ว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการสรุปแนวทาง

ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค.อยู่ระหว่างการศึกษาผลดี ผลเสีย จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีในทุกรายการที่มีแนวทางปรับเปลี่ยนอัตราอากรอยู่ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้ ผู้บริหารบลจ.มั่นใจหนุนธุรกิจกองทุน

นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่าการให้สิทธิประโยชน์ทาง ภาษีแก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนคาดว่าจะสามารถกระตุ้นให้มีการลงทุนผ่านกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นมากขึ้น และส่งผลทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นจะมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย เนื่องจากยังมีหุ้นที่มีพื้นฐานทางธุรกิจแข็งแกร่งอีกมากให้นักลงทุนสถาบันเลือกลงทุน แต่ทั้งนี้การลงทุนในตลาดหุ้นจะต้องคำนึงถึงภาวะตลาด หุ้นด้วย

"มาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ เป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหน่วยลงทุนมาก แต่ภาครัฐควรจะมีความคาดหวังที่ถูกต้องต่อมาตรการสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันได้เพียงใด เนื่องจากการลงทุนในตลาดหุ้นจะต้องอาศัยจังหวะและภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย นอกจากนี้มาตรการนี้ยังมีข้อจำกัดว่าให้ลงทุนระยะยาว" นายอดิศร กล่าว

ทั้งนี้การกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้มีความคล้ายคลึงกับกองทุน RMF จึงมีความกังวลว่าจะมีความซ้ำซ้อนกันได้ ทำให้ผู้ถือหน่วย ลงทุน ในกองทุน RMF หรือที่ลงทุนแล้วแต่ยังไม่เต็มวงเงินลดหย่อนทางภาษีอาจโยกย้ายเงินลงทุนส่วนหนึ่งมาลงทุนในกองทุนใหม่นี้ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยปัจจุบันการลงทุน ในหุ้นของกองทุน RMF มีมูลค่าประมาณ 2-3 พันล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กองทุนที่ลงทุนในหุ้นเดิมไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวมากนัก โดยปัจจุบันมูลค่ากองทุนที่ลงทุนในหุ้นและกองทุนผสมแบบยืดหยุ่นที่ลงทุนในหุ้นมีมูลค่ารวมกันทั้งหมดประมาณ 5 พันล้านบาท คาดว่าหากมีการเปิดกองทุนใหม่ตามเกณฑ์สิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้อาจสามราถระดมเงินในช่วงแรกได้ประมาณ 1 พันล้านบาท

นายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม อยุธยาเจเอฟ จำกัด กล่าวว่า กองทุน RMF และกองทุนหุ้นเดิมที่เปิดก่อนจะมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว อาจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจเกิดการโยกย้ายเงินลงทุนจากกองทุนหุ้นเดิมมาลงทุนในกองทุนหุ้นใหม่ได้

สำหรับการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ซื้อหน่วยลงทุนนั้น น่าจะทำให้มีนักลงทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนรวมมากขึ้น หากเป็นเม็ดเงินใหม่ที่นำมาลงทุนจะทำให้ธุรกิจกองทุนรวมมีการ ขยายตัว และเป็นการเพิ่มสัดส่วนจำนวนนักลงทุนสถาบันในตลาดให้มากขึ้นได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us