Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
Shopping for Identity             
 





การทำตลาดกับชนกลุ่มน้อยมีให้เห็นกันตั้งแต่สินค้าในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับทารกเลยทีเดียว อาหารเด็กเกอร์เบอร์เป็นตัวอย่างหนึ่ง โดยเมื่อมีการวางตลาด Gerber Tropical ก็ชูประเด็นชักจูงลูกค้ากลุ่มผิวสี ว่าเป็นอาหารเด็กที่มีส่วนผสมหลากหลายถึง 16 อย่าง อาทิ มะม่วง มะละกอ ถั่วและข้าว ซึ่งเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์กับทารกที่เป็นกลุ่มผิวสี นับว่าเป็นการแทรกช่องว่างตลาด ในยุคที่อเมริกันชนพากันแสวงหารากเหง้าทางชาติพันธุ์ของตนในแบบที่ลึกซึ้งกว่าการหวนหาอดีตที่คลุมเครือ ยิ่งกว่านั้น ชนกลุ่มน้อยยังเป็นตัวแทนกลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อ และบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคกำลังให้ความสนใจอย่างยิ่ง

การซื้อหาสินค้าตามอัตลักษณ์ของตนนั้นจะว่าไปไม่ใช่สิ่งใหม่ พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิลหรือพีแอนด์จีเคยชูประเด็นโฆษณาอาหารมังสวิรัติ Crisco ในช่วงปี 1913 ว่า ชาวยิวรอคอยมากว่า 4,000 ปีแล้ว แต่ในยุคนั้นการซื้อหา Crisco ไม่ได้ทำให้ชนกลุ่มน้อยมีความแตกต่างจากอเมริกันชน กล่าวคือ Crisco เป็นอาหารยิวสไตล์อเมริกัน จึงช่วยสร้างความเป็นอเมริกันและสร้างความเป็นแบบแผนเดียวกันของการรับประทานอาหาร ประเด็นผิวสีที่หยิบยกขึ้นมายุคนั้นจึงเป็นการสร้างความผสมผสานกลมกลืนเข้าหากันของชนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่ม มากกว่าการชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายของผู้คน และเป็นแนวทางตามนโยบายของสหรัฐฯ ที่ดำเนินมาเกือบตลอดศตวรรษ ส่วนผู้ทำโฆษณาก็ใช้การตลาดแบบมวลชนก็สร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม ฮาลเตอร์แย้งว่านับจากทศวรรษ 1970 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการหลอมรวมอัตลักษณ์แบบอเมริกัน ไปสู่การเน้นความหลากหลายปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง เขาระบุว่าภาพยนตร์ชุด Roots เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าวงศ์วานของมนุษย์นั้นไม่ได้มีแต่คนผิวขาวหรือพวกแองโกลแซกซอนเท่านั้น แต่ยังมีคนผิวสีอยู่ด้วย นอกจากนั้นเขายังยกตัวอย่างการทำตลาดแบบเน้นกลุ่มชนผิวสีเช่น Mattel วางจำหน่ายตุ๊กตา Barbies แบบผิวสี แบบเอเชียและแบบละตินอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1980s แต่การตลาดแนวนี้ก็ดำเนินมาอย่างช้าๆ เพราะกว่าที่ Barbies ผิวสีจะปรากฏตัวในโฆษณาจริง ๆ ก็ล่วงมาถึงปี 1990 แล้ว

ฮาลเตอร์บอกนอกจากตุ๊กตา Barbies ยังมีตัวอย่างเชนร้านค้า Star Market ที่จัดรูปแบบตามร้านค้าไอริชเมื่อเปิดสาขาในย่านชุมชนชาวไอริชในบอสตัน และเชนร้าน Star Market ที่เปิดในย่านชุมชนชาวอาร์เมเนียนก็จัดรูปแบบร้านแนวอาร์เมเนียนด้วย

หนังสือเล่มนี้เน้นการบรรยายและออกแนววิชาการมากกว่าเป็นคู่มือปฏิบัติแบบฮาวทูทั่วไป แต่ต้องนับว่าเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ให้ความคิดอ่านที่ละเอียดลึกซึ้ง และเหมาะสำหรับศึกษาแนวโน้มการตลาดในยุคต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us