Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
More than a Motorcycle             
 





Harley-Davidson Motorcycle Company เป็นกิจการผลิตรถมอเตอร์ไซค์ที่พลิกฟื้นกิจการได้อย่างมหัศจรรย์ในช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากถูกคู่แข่งญี่ปุ่นโจมตีจนกิจการประสบปัญหาอย่างหนักหน่วง แต่บริษัทได้ปรับปรุงความสามารถในการทำกำไร ผลิตภาพและการพัฒนาสินค้าใหม่จนพาตัวรอดพ้นจากวิกฤตินั้นได้ในที่สุด

ความผิดพลาดของฮาร์เลย์ในครั้งนั้นเกิดจากโครงสร้างต้นทุนที่สูง ความอ่อนด้อยในแง่ทักษะการริเริ่มสร้างสรรค์ ผลกำไรที่มาจากการขายอะไหล่เป็นส่วนใหญ่แทนที่จะมาจากสินค้าหลัก และพนักงานขาดสำนึกในการร่วมสร้างองค์กร

ผู้ที่รับมือกับปัญหาดังกล่าวก็คือ ริช ทีร์ลิงค์ (Rich Teerlink) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินที่ต่อมารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารในปี 1988 ทีร์ลิงค์รับภาระหนักตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 ไปจนถึงต้นทศวรรษ 1990 โดยเขาทำงานร่วมกับทีมบริหารและที่ปรึกษาจากภายนอกคือ ลี ออสลีย์ (Lee Ozley) จัดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรตั้งแต่ขั้นรากฐานโดยมุ่งที่ความสำเร็จในระยะยาว

ทั้งนี้ ปรัชญาการบริหารที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ก็คือความเชื่อว่า การจูงใจให้พนักงานทุกคนมีความรับผิดชอบและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการเล่าโดยละเอียดว่าจะสร้างความสำเร็จที่ผลักดันโดยพนักงานให้ยั่งยืนได้อย่างไร

เลิกระบบการสั่งการและควบคุม

ทีร์ลิงค์และออสลีย์เสนอว่าการพลิกฟื้นกิจการจะเป็นไปไม่ได้ โดยปราศจากปรัชญาการเป็นผู้นำแบบเน้นการสั่งการและควบคุมที่เข้มแข็ง เมื่อองค์กรอยู่ภายใต้แรงกดดันที่หนักหน่วง ระบบการควบคุมแบบเบ็ดเสร็จอาจเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่หากการคุกคามจากภายนอกไม่รุนแรงเด็ดขาด องค์กรควรมองหาวิธีการบริหารและจัดองค์กรแบบใหม่ หรือจะกล่าวให้ชัดเจนขึ้นก็คือ ทุกคนในองค์กรต้องกระทำการและคิดแบบใหม่

ผู้เขียนบอกสาเหตุที่ควรใช้วิธีการดังกล่าวก็เพราะการเปลี่ยนแปลงโดยใช้อำนาจสั่งการนั้น ทำให้เกิดความกังวลใจและยังอาจสร้างแรงต่อต้านขัดขืนในหมู่พนักงานด้วย เพราะโดยปกติมนุษย์ไม่ชอบให้ใครมาผลักดันและไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง จึงยิ่งไม่ชอบการถูกเปลี่ยนแปลงด้วย

ออสลีย์ได้เสนอสูตรที่เป็นกรอบการเปลี่ยนแปลงองค์กรเมื่อเขาเข้าเป็นที่ปรึกษาของฮาร์เลย์เดวิดสันดังนี้

Change = (E x M x P) > Resisitance

สูตรดังกล่าวอธิบายได้ว่า E คือ engagement หรือการเข้าร่วมของพนักงานเมื่อมีความเข้าใจและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องกระทำสิ่งที่แตกต่างจากเดิม

M คือ model ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์เชิงอุดมคติของอนาคตองค์กรที่พัฒนาขึ้นจากการร่วมมืออย่างเต็มที่ของพนักงาน และเป็นวิสัยทัศน์ที่ให้ภาพร่างที่มีรายละเอียดตามสมควรที่จะให้แต่ละคนมีเป้าหมายในการต่อสู้

P คือ process ซึ่งรวมทั้งแผนงาน ระบบ และขั้นตอนการดำเนินงานที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลง

กระบวนการที่ยาวนานและยากลำบาก

กรอบแนวทางของออสลีย์นั้นเป็นเพียงชั้นเริ่มต้นเท่านั้น เพราะจะต้องแปรให้เป็นแนวทางการปฏิบัติที่สามารถปรับเปลี่ยนองค์กรของฮาร์เลย์-เดวิดสันได้ในขั้นพื้นฐานและเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานและพนักงานในองค์กรด้วย

หนังสือเล่มนี้แจกแจงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรบริษัทอย่างเป็นลำดับ โดยชี้ให้เห็นการริเริ่มสิ่งใหม่ไปทีละบท เช่น ในบทหนึ่งกล่าวถึง Joint Vision Process ซึ่งว่าด้วยวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่พัฒนาขึ้นได้เป็นลำดับขั้นตั้งแต่ระดับพนักงานแต่ละราย จนถึงระดับกลุ่ม ระดับผู้นำ และระดับโรงงาน ในบทต่อมาว่าด้วยการขยายกิจการอย่างระมัดระวัง โดยต้องจัดการฝึกอบรมเป็นครั้งคราวซึ่งอาจต้องมีการจำลองสถานการณ์ประกอบด้วย

บทที่สำคัญอีกบทหนึ่งคือบทที่กล่าวถึงแผนผังโครงสร้างองค์กรของฮาร์เลย์-เดวิดสัน ที่มีการจัดใหม่เป็นโครงสร้างที่เหลื่อมกันสามชั้นตามกระบวนหลักขององค์กรคือ การสร้างดีมานด์ การผลิตสินค้าและการสนับสนุน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มาแทนที่องค์กรเดิมที่แบ่งแผนกงานเป็นรูปพีระมิด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us