Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2547
12 Girls Band เซ็กซี่ในคีย์ "จีนคลาสสิก"             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 





ตอนกลับไปเยี่ยมบ้านชั่วคราวที่เมืองไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมเสียดายเหลือเกินที่ไม่ทันได้ชม "โหมโรง" ภาพยนตร์ที่ดึงเอาเรื่องราวของดนตรีไทย โดยใช้ "ระนาด" เข้ามาช่วยดำเนินเรื่อง ปะติดปะต่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และสร้างกระแสความนิยมดนตรีไทยขึ้นมาในเมืองไทยอีกไม่น้อย

แม้กระทั่งเหล่าเจ้านายชั้นสูง หรือผู้นำประเทศก็ยังให้การสนับสนุนเข้าชม และกล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องนี้กันอยู่เนืองๆ ส่วนนักดนตรีไทยซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และเป็นหนึ่งในผู้นำแสดงเป็น "ขุนอิน" อย่างณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า นักดนตรีวงบอยไทย และทายาทของครูดนตรีไทยอย่าง ครูสุพจน์ โตสง่า ก็กลายเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไปอีกครั้ง

อาจเรียกได้ว่า ภาพยนตร์ที่มีการโปรโมตผ่านการโฆษณาและกลยุทธ์การตลาด ได้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการ "ขุด" วัฒนธรรมของสังคมที่ถูกลืมขึ้นมา "ปัดฝุ่น" และดึงความสนใจจากประชาชนขึ้นมาใหม่

ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้สำหรับดนตรีไทยถือว่าเป็น เรื่องที่มีกันนานๆ ครั้ง ในฐานะที่เป็นดนตรีกระแสรองของโลก เป็นวัฒนธรรมของประเทศเล็กๆ คนกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในซีกโลกตะวันออก ซึ่งยังดิ้นรนอยู่กับความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และยังไม่มีโอกาสหันมาอนุรักษ์ และซึมซับกับมรดกที่บรรพบุรุษได้สรรค์สร้างเอาไว้

ผิดกับประเทศทางตะวันตกที่ดนตรีคลาสสิก หรือศิลปะแขนงอื่นๆ อย่าง บัลเลต์ โอเปร่าของเขาที่ได้อานิสงส์ จากการเป็นประเทศพัฒนา ประเทศผู้เจริญ ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ-การเมืองโลก สามารถชักจูงคนจากประเทศกำลังพัฒนา ประเทศโลกที่ 3 ให้หันมาสนใจวัฒนธรรมตะวันตกได้แบบไม่ต้องกระตุ้น หรือโปรโมตกันให้เหนื่อยแรง

แต่ก็แน่นอนว่า ยุคสมัยที่การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้นับเป็น ปี เดือน วัน แต่เป็นชั่วโมง นาที วินาที หรือกระทั่งเสี้ยววินาที ในยุคที่การแข่งขันเป็นสิ่งที่มวลชนชาวโลกหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการตลาดที่หมายความถึงรายได้ จึงเป็นเรื่องที่ศิลปะทุกแขนงย่อมมีการกลายพันธุ์ หรืออย่างน้อยก็ย่อมถูกขุด, ปัดฝุ่น ดัดแปลง หรือแต่งตัวเสียใหม่ ให้เข้ากับยุคกับสมัย

หากใครยังจำได้ถึงสาวน้อยลูกครึ่งไทย-สิงคโปร์ ที่ไปเรียนดนตรีคลาสสิกอยู่ที่อังกฤษตั้งแต่เล็ก อย่างวาเนสซา เมย์ (Vanessa Mae) หรือแม้กระทั่ง 4 ศิลปินคลาสสิกสาวสุดเซ็กซี่ที่รวมกลุ่มกันในชื่อ บอนด์ (Bond)

ทั้งวาเนสซา เมย์ และบอนด์ หากพูดถึงเรื่องฝีมือในการเล่นดนตรีแล้วไม่มีใครปฏิเสธว่าพวกเธอเก่งพอตัว แต่ก็ไม่มีใครกล้าปฏิเสธอีกเช่นกันว่า ที่พวกเธอโด่งดังมาได้ ก็เพราะ "หน้าตาและความเซ็กซี่" ซึ่งเป็นผลมาจาก "การ แต่งตัวใหม่" อันเป็นมาตรการทางการตลาดที่ในโลกยุคทุน นิยมใครที่อยากทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำต่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่เมืองจีนขณะนี้ก็มี ปรากฏการณ์คล้ายๆ กับที่ว่านี้ เช่นกัน "วง 12 สาว (12 Girls Band)" หรือ " " เป็นวงดนตรีที่สมาชิกทั้งหมดเป็นนักดนตรีคลาสสิกจีนทั้งหมด 12 คน และกำลังโด่งดังเป็นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น ซีดีเพลง และดีวีดีคอนเสิร์ต ชุด Miracle ของพวกเธอที่ออกขายในประเทศ ญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมาขายรวมกันได้เกือบ 2,000,000 แผ่น

เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าแปลกใจอยู่เช่นกันที่ 12 Girls Band ซึ่งเล่นเพลงจาก เครื่องดนตรีจีน ทำโดยคนจีนและนักดนตรี ที่เป็นคนจีนทั้งหมด นั้นกลับไปโด่งดังอยู่ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2546 ที่ผ่านมา ก่อนที่จะกลับมาโด่งดังในเมืองจีนเมื่อต้นปี 2547 นี้เอง

แนวความคิดในการจัดตั้งวงดนตรีนี้ขึ้นตั้งแต่กลางปี 2544 จากบริษัทในปักกิ่งแห่งหนึ่ง ที่มีความพยายามจะแหวกแนวดนตรีคลาสสิกของจีนให้เข้าสู่ยุคใหม่ โดยมีการผสมผสานเครื่องดนตรีคลาสสิกจีนและชนกลุ่มน้อยของจีน เข้ากับสไตล์เพลงจากตะวันตกทั้งป๊อป ร็อก และแจ๊ซ และที่สำคัญนอกจากฟังเพราะแล้ว นักดนตรีทั้งหมดจะต้องเป็น "สาวสวย!"

หลังจากการเปิดรับสมัครนักดนตรีสาวจากทั่วประเทศ ที่มีคุณสมบัติคือ มีพรสวรรค์ในการเล่นเครื่องดนตรี โบราณของจีนรวมถึงเครื่องดนตรีของชนกลุ่มน้อย อย่างเช่น เอ้อหู , กู่เจิ้ง , ผีผา , ขิมจีน , ขลุ่ยไม้ไผ่ ฯลฯ และอีกคุณสมบัติที่สำคัญก็คือ อายุน้อยและหน้าตาดี

ในที่สุดก็มีการคัดเลือกเอานักศึกษาที่กำลังเรียน และนักศึกษาที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนดนตรีชั้นนำของประเทศจีน 3 สถาบัน ออกมา 12 คน

หวังเสี่ยวจิง ผู้ก่อตั้งและผู้ควบคุมวงให้สัมภาษณ์ว่า สมาชิกของวงทั้ง 12 คน ต่างก็ถนัดเครื่องดนตรีโบราณจีนแตกต่างกันไป โดยทั้ง 12 คน ต่างก็จับและเล่นเครื่องดนตรีนั้นๆ มาเกินสิบปี โดยทุกคนเริ่มเล่นตั้งแต่ยังเป็นเด็กอายุ 6-7 ขวบ และต่างก็เป็นแชมป์ระดับประเทศ คว้ารางวัลในการแข่งขันระดับประเทศมาแล้วทุกคน อย่างไรก็ตาม หวังได้เน้นย้ำว่านอกจากฝีมือทางดนตรีที่ฉกาจฉกรรจ์แล้ว ทั้ง 12 คน ต้องรูปร่างหน้าตาดีได้มาตรฐาน

"วงนี้ไม่เพียงเล่นดนตรีแบบใหม่ให้คนฟังๆ แล้วเพราะแต่เป็นดนตรีที่ชมผ่านสายตาได้ด้วย"

แนวคิดของ หวัง หากพูดไปไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่อะไร หากย้อนไปกล่าวถึงศิลปินอย่าง วาเนสซา เมย์ หรือวงบอนด์ ศิลปินดนตรีคลาสสิกต่างก็มีจุดขายหลักคือ รูปร่างหน้าตาและการแต่งตัวที่ดึงดูดคนดู

12 Girls Band ก็เช่นกัน สาวทั้ง 12 ถูกจับแต่งหน้า ทาตา ใส่ชุดเสียใหม่ มิวสิกวิดีโอของพวกเธอไม่ได้เป็น การถ่ายเอาทิวทัศน์ธรรมชาติมาประกอบเพลง แต่เน้นจุดขายตรงนักดนตรี ส่วนคอนเสิร์ตของพวกเธอก็เป็นคอนเสิร์ต ที่ผสมเอา แสง-สี-เสียง และวงดนตรีแบ็กอัพมาเต็มรูปแบบ

เพลงของ 12 สาวเป็นการดัดแปลงเอาเพลงในหลากหลายรูปแบบเข้ามานำเสนอใหม่ มีการผสมเครื่องดนตรีจีนทั้ง ขิม ขลุ่ย กู่เจิ้ง เข้ากับกีตาร์เบส กลอง หรือกระทั่งซาวด์ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ มีการนำเอาเพลงจากหลายรูปแบบมาเรียบเรียงเสียใหม่ ทั้งเพลงจีนโบราณ เพลงญี่ปุ่น เพลงคลาสสิก ป๊อป ร็อก แจ๊ซของศิลปินตะวันตก อย่างเช่น งานของบีโธเฟน, Take Five ของ Paul Desmond หรือ เพลง Only Time ของ Enya

แน่นอนว่า การแหวกแนวเอา "การตลาด" มานำ "ศิลปะ" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเอานักดนตรีสาวมาเป็นจุดขาย ย่อมถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนในแวดวงดนตรีคลาสสิกอย่างหนาหู โดยเฉพาะประเด็นทำให้ดนตรีคลาสสิกจีนเสื่อมเสีย (ดังเช่นกับที่วาเนสซา เมย์ ก็เคยถูก อาจารย์ของเธอโจมตี) อย่างไรก็ตาม งานของ 12 Girls Band ก็มีผู้ชื่นชอบและชื่นชมไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะคนจีนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติ ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นการดัดแปลงดนตรีคลาสสิกจีนให้เหมาะกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปได้อย่างเหมาะเจาะ

โลกยุคนี้ งานศิลปะประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ ดูเหมือนว่าจะไม่ได้วัดกันที่คำวิจารณ์ แต่วัดกันที่ ขายได้ หรือขายไม่ได้มากกว่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us