หลังจากใช้เวลารอคอยมาถึง 7 ปีเต็ม บริษัทไอทีเก่าแก่ที่มีอายุ 22 ปีแห่งนี้ ก็ประสบผลสำเร็จในการนำบริษัทเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หากพูดถึงบริษัทซี.เอส. ล็อกซอินโฟ หลายคนอาจคุ้นเคยชื่อนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นไอเอสพีรายล่าสุดที่เพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปหมาดๆ แต่หากเอ่ยชื่อบริษัท "ล็อกซบิท" แล้ว ถ้าไม่ได้อยู่ในแวดวงคอมพิวเตอร์ก็แทบจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน
ทั้งที่บริษัทล็อกซบิท นอกจากจะเป็นแกนหลักธุรกิจไอทีของกลุ่มล็อกซเล่ย์
ที่ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2525 แล้วล็อกซบิทยังเคยเป็นบริษัทแม่ของบริษัทล็อกซอินโฟ
ก่อนที่จะรวมกิจการกับซี.เอส. อินเทอร์เน็ต
ด้วยความที่ธุรกิจหลักของล็อกซอิน โฟ คือ System Integration หรือ SI เน้นงานประมูล
ให้กับลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาด ใหญ่เป็นหลัก โดยเฉพาะธนาคาร และบริษัทโทรคมนาคม
การดำเนินธุรกิจของล็อกซบิทจะไม่หวือหวา หรือปรากฏเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์
แต่ไม่ใช่สำหรับช่วงเวลานับจากนี้
"ความท้าทายของเรา นอกจากการเติบโตของรายได้แล้ว เรายังต้องเติบโต ในเรื่องของกำไรด้วย"
คำกล่าวของพัลลภ นาคพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัทล็อกซบิท ที่อาจมองดูเป็นเรื่องปกติของทุกบริษัทที่ต้องมีเป้าหมายในลักษณะเดียวกัน
หากแต่ในแง่ของผู้ประกอบธุรกิจไอทีแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะตลอดหลายปีที่ผ่านมา
พวกเขาต้องรับมือกับราคาเครื่องที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว สวนทางกับพัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้บรรดาบริษัทไอทีทั้งหลาย
จำเป็นต้องแสวงหาหนทางเพิ่มรายได้ใหม่ๆ โดยเฉพาะจากธุรกิจให้ "บริการ" เพื่อทดแทน
รายได้จากการขายเครื่องฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
ล็อกซบิทก็เช่นกัน แม้จะคร่ำหวอด อยู่ในธุรกิจให้บริการรับเหมาติดตั้งระบบไอทีครบวงจร
หรือ System Integrator หรือ SI เป็นที่รู้จักดีในหมู่ลูกค้าธนาคาร และบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่
ทำรายได้ ในปีที่ผ่านมา 1,831 ล้านบาท แต่ก็ต้องหนีไม่พ้นกับภาวะดังกล่าว
ล็อกซบิทจึงต้องขยายฐานธุรกิจเข้าสู่บริการ "Out Source" และบริการบำรุงรักษาหลังการขายให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
(Recurring Services) เพื่อเพิ่มยอดขาย และกำไร
"ถ้าต้องการให้ยอดขายเพิ่มขึ้นก็ต้องเพิ่มคนมากขึ้น นี่คือเหตุผลที่ทำไมต้องขยายธุรกิจอื่นๆ
ต่อเนื่อง" พัลลภให้เหตุผล
การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงเป็นหนทางหนึ่งของการระดมเงินทุน เพื่อนำมาใช้สำหรับขยายการลงทุนไปยังธุรกิจดังกล่าว
รวมถึงการชำระคืนหนี้สินระยะยาว และในบริษัทย่อยที่มีอยู่กว่า 10 บริษัท
บริษัทล็อกซบิท (LOXBIT) ถือกำเนิด ขึ้นเมื่อ 22 ปีที่แล้ว จากบริษัทเล็กๆ
ที่มี ชื่อว่า ซีสเท็ม ออกะไนเซชั่น จำกัด ภาย ใต้เครือข่ายของบริษัทล็อกซเล่ย์
เพื่อจำหน่ายเครื่องรูดบัตรเครดิตอัตโนมัติให้กับธนาคารต่างๆ
จนกระทั่งในปี 2536 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเมืองไทยเติบโตเต็มที่ ความต้องการไอทีเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือประกอบธุรกิจมีมากขึ้น
บริษัทจึงขยับขยายเข้าสู่ธุรกิจ System Integration โดยมุ่งไปที่ลูกค้าธนาคาร
และบริษัทโทรคมนาคมเป็นหลัก พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทล็อกซเล่ย์ บิสซิเนส
อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี เรียกย่อๆ ว่า ล็อกซบิท
ช่วงเวลานั้นเอง ล็อกซเล่ย์ถือโอกาส จัดทัพองค์กรใหม่ นำบริษัทไอทีทั้งหมดที่เคยอยู่ภายใต้กลุ่มล็อกซเล่ย์
เช่น บริษัทโปรเฟสชั่นแนล คอมพิวเตอร์ ที่ชำนาญตลาดราชการ บริษัทเอ็มโฟกัส
และบริษัทไทยเกตเวย์ ให้บริการข้อมูลเข้ามาสังกัดอยู่ภายใต้ล็อกซบิท ซึ่งทำหน้าที่เป็น
Holding Company ดูแลธุรกิจไอทีทั้งหมด
ประการแรก เพื่อตัดปัญหาความซ้ำซ้อนของบริษัทในกลุ่มในการเข้าประมูลงานลูกค้าราชการ
หรือองค์กรขนาด ใหญ่ และเพื่อให้สอดคล้องกับองค์กรธุรกิจ ไอทีที่มีโครงสร้างเฉพาะตัว
ที่เน้นความคล่องตัว และการดูแลพนักงาน แตกต่างไปจากล็อกซเล่ย์ที่เติบโตมาจากเทรดดิ้ง
เฟิร์มที่มีขั้นตอนสลับซับซ้อน
"กว่าจะจัดทัพเสร็จก็มาถึงปี 2539 เวลานั้นเราก็เตรียมตัวที่จะนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ถึงขั้นจ้างบริษัทที่ปรึกษา ทำเอกสาร ออกข่าวไปแล้ว"
แต่แผนระดมทุนก็ต้องมาหยุดชะงักลง เพื่อต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจที่ถาโถมเข้ามาในปี
2540 ทำให้ล็อกซบิทต้องหันไปกอบกู้สถานการณ์ ด้วยการรัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่ายทุกวิถีทาง
แต่ไม่ลดคน
"โชคดีที่ธรรมชาติของล็อกซเล่ย์ เราจะระวังตัวในเรื่องการลงทุนมาตลอด ซึ่งผู้ใหญ่ที่ล็อกซเล่ย์ก็รู้ล่วงหน้ามา
2 ปีแล้ว และก็ได้เตือนมาตลอด" พัลลภเล่าถึงการผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจในปี
2540
ประกอบกับธุรกิจไอที แม้จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินต่างประเทศ
แต่ก็ยังมีโอกาสทางธุรกิจ เพราะไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น หรือแม้แต่ในช่วงขาลง
ก็ยังจำเป็นต้องใช้ไอทีมาเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความเป็นต่อในการแข่งขันรอบใหม่
ท่ามกลางซากปรักหักพังของวิกฤติ เศรษฐกิจที่พัดพาให้บริษัทบางแห่ง ต้องล้มหายตายจากไป
หลายรายต้องลดขนาด ลง แต่ล็อกซบิทยังคงอยู่รอดในธุรกิจ SI โดยมีลูกค้าธนาคาร
และโทรคมนาคมเป็นและทีมงานที่ร่วมบุกเบิกกันมาก็ยังอยู่กันพร้อมหน้า แผนการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯจึงถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้ง
หากไม่มีอะไรผิดพลาด เดือนพฤษภาคมนี้ ล็อกซบิทจะเป็นหุ้นในหมวดตัวใหม่บนกระดานหุ้นของตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งประเทศไทย และเป็นหุ้นล่าสุดในกลุ่มล็อกซเล่ย์ เพื่อเตรียมพร้อมบุกขยายไปยังธุรกิจ
Outsourcing และบริการบำรุงรักษาหลังการขายให้กับลูกค้า ตามเป้าหมายที่วางไว้