ปลายเดือนมีนาฯ ผมได้มีโอกาสไปเยือนพิพิธ ภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่รังสิต ซึ่งหมายจะให้เป็นข้อเขียน
ชิ้นใหม่ของผมซึ่งก็ได้ข้อมูลมาพอสมควร แต่ยังไม่ได้ลงมือเพราะยังไม่จวนตัว
พอต้นเดือนเมษาฯ ได้รับมอบ หมายให้ไปอบรมที่ประเทศอังกฤษ 1 สัปดาห์จึงใช้โอกาสวันหยุดเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ณ กรุง ลอนดอน เลยมีเรื่องให้เขียนเยอะขึ้น ซึ่งในตอนแรกนี้ ผมขอเล่าถึงประสบการณ์ต่างแดนก่อนแล้วจะย้อนมาเล่าเรื่องของบ้านเราให้ฟังต่อไป
ตั้งหลักที่ใจกลางมหานครลอนดอนซึ่งเป็นจุด ศูนย์กลางของสรรพสิ่ง เช่น ร้านอาหาร
ร้านค้า โรง ภาพยนตร์ โรงละคร ถนนหนังสือ (ถนนที่มีร้านหนังสือ ใหญ่ๆ มากมาย)
ผมเลือกมาเริ่มต้นที่ Piccadilly Circus ด้วยเหตุผลสำคัญอีกอย่างคือ มีร้านอาหารจีนราคาประหยัดอยู่ใกล้ๆ
ที่ว่าประหยัดนี้คือ เกี๊ยวน้ำ ชามละ 3.80 ปอนด์ หรือสองร้อยกว่าบาท เท่าที่คุยกับฝรั่งเขาว่า
ราคาอาหารและค่าครองชีพเพิ่มขึ้นบ้างแต่ไม่มากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาแต่ที่สะดุ้งเวลาควักกระเป๋าก็เพราะ
ค่าเงินบาทที่หล่นลงจากปอนด์ละ 40 กว่าบาท เมื่อ 5 ปีก่อนเป็นเกือบ 70 บาทในตอนนี้
ที่ Piccadilly Circus มีสถานีรถไฟใต้ดินชื่อเดียว กัน การเดินทางด้วยรถไฟใต้ดินสะดวกมากแต่ค่าโดย
สารแพงเอาเรื่อง ราคาค่ารถไฟเขาคิดเป็น Zone บริเวณ ที่ผมเตร็ดเตร่จะอยู่ใน
Zone 1-2 ซึ่งถ้าซื้อตั๋วเป็นเที่ยวจะต้องจ่ายถึง 1.90 ปอนด์ต่อเที่ยว (เดินทางไปกลับได้เกี๊ยวน้ำอีกชาม)
ผมจึงเลือกซื้อ เป็นตั๋ววัน Zone 1-2 ราคา 4 ปอนด์ซึ่งสามารถเดินทางได้ ตลอดวัน
(วันทำงานต้องหลัง 9.30 น.) เพราะเล็ง ไว้ว่าจะเดินทางไปชมพิพิธภัณฑ์ แล้วกลับไปซื้อ
หนังสือ ตามด้วยเกี๊ยวน้ำอีกชามก่อนนอน
จาก Piccadilly Circus นั่งรถสาย Piccadilly Line ไป 4 ป้ายรถไฟใต้ดินถึงสถานี
South Kensing- ton ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที เดินออกจากที่ตรวจตั๋วก็พบที่ขายตั๋วเช้าชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ผมแวะ ซื้อตั๋วเข้าชมราคาผู้ใหญ่ 6.95 ปอนด์ (นักศึกษา 3.50 ปอนด์ เด็กอายุต่ำกว่า
16 ฟรี) จากนั้นเดินไปตาม ทางเดินใต้ดินซึ่งทำไว้อย่างดีระยะทางประมาณ 300
เมตร ไปโผล่ที่ทางเข้าพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์พอดี
ผ่านทางเข้าสู่ชั้น Ground floor ในบริเวณที่เรียกว่า East Hall มีการจัดแสดงชื่อว่า
Power เห็นเครื่องจักรกลสมัยเก่าจัดแสดงอยู่มากมายทั้งเล็กและใหญ่ บางเครื่องมีขนาดเท่าของจริง
(บ้านหลังย่อม) งานเด่นที่จัดแสดงได้แก่เครื่องจักรไอน้ำ ที่สร้างโดยบิดาแห่งเครื่องจักรไอน้ำ
Boulton และ Watt ของแท้ สร้างในปี ค.ศ.1788 โครงสร้างและกลไกยังใช้ไม้ผสมเหล็ก
แต่ตัวที่ดูเด่นที่สุดในบริเวณ นั้น ได้แก่ เครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่สีแดงสดของ
Harle Syke ซึ่งเครื่องนี้มีการเดินเครื่องให้เห็นการทำงานของส่วนต่างๆ แต่เนื่องจากเครื่องจักรมีขนาดใหญ่จึงต้องมีนายช่าง
2 คนยืนประจำคอยระวังอันตรายให้กับผู้ชม คอยตรวจการทำงานของ เครื่องจักรและตอบคำถาม
นอกจากนี้ยังมีเครื่อง จักรกลจำลองขนาดเล็กพร้อมข้อมูลอธิบายกลไกและหลักการทำงาน
บางเครื่องมีแป้นหมุนให้ผู้ชม สามารถทดลองเพื่อให้เห็นการทำงานของเครื่องได้
ที่น่าสนใจคือ ไอเดีย (ทางวิทยาศาสตร์ และวิศว- กรรม) ที่จะนำเครื่องจักรกลมาใช้ประโยชน์ในการ
ผลิต ยืนอยู่ตรงนี้จะเห็นหัวเลี้ยวหัว ต่อที่สำคัญของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม และผลพวงที่ตามมาต่อวิถีทางของ มนุษย์ มีทั้งสวยงามมีทั้งอัปลักษณ์
ส่วนตัวคิดว่าทั้งหมดคือ ส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ
ถัดมาเป็นที่จัดแสดงวิวัฒ-นาการด้านการสำรวจอวกาศ มีแบบจำลองของจรวดขนาดต่างๆ
ที่ใช้ส่งดาวเทียมและมนุษย์ การจัดแสดงจะออกไปลักษณะ Display ล้วนๆ ไม่ค่อยมีข้อมูล
และคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์มากนัก เจตนาให้ผู้ชม โดยเฉพาะเด็กๆ เดินชมเล่นเพลินๆ
ถัดมาเป็น บริเวณจัดแสดงในหัวข้อว่า Making the Modern World เป็นห้องโถงหลังคาสูงจัดแสดงพัฒนาการทางด้านเทค
โนโลยี ตั้งแต่ปี ค.ศ.1750 ถึงปี ค.ศ.2000 ฉบับย่อแต่หลากหลาย มีตั้งแต่หัวรถจักรไอน้ำของ
Stephenson รถยนต์เก่า เครื่องบินเก่า ที่น่าสนใจคือ วิวัฒนาการของ เครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน
ซึ่งจัดแสดงเป็นพันรายการ โดยแบ่งเป็นยุคๆ
ข้ามจากตึกกลางเข้าสู่ Welcome Wing เป็นส่วนที่ต่อเติมล่าสุด ที่ชั้น
Ground Floor จะมีร้านอาหาร ที่จัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวที่กำลังเป็นกระแส
ซึ่งเรื่องหนึ่งที่จัดแสดงอยู่คือ เรื่องโรคปากเท้าเปื่อยในสัตว์ ซึ่งกำลังโหมกระหน่ำเกาะผู้ดีจนเปื่อยอยู่
นอกจากนั้นก็มีลานเล่นสนุกสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบ จุด ประสงค์เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกตและเรียนรู้รูปลักษณ์
Pattern ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ มีโรงภาพยนตร์ IMAX สำหรับฉายภาพยนตร์ทั้ง
2 มิติและ 3 มิติแต่ต้องเสีย เงินเพื่อเข้าชม ดูนาฬิกาแล้วยังไม่หลุดจาก
Ground Floor เลย เลยต้องจ้ำไปFirst Floor ของ Welcome Wing
ที่นี่จัดแสดงเรื่องราวที่น่าสนใจมากในหัวข้อว่า Who am I คงจะเดาได้ว่า
เป็นเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ เช่น เรื่องการทำงานของสมอง
ลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม DNA รหัสชีวิต และจิตวิทยา เป็นต้น
ผมได้ไปลองเล่นจอ Interactive มุมหนึ่งพบสิ่งที่น่าสนใจคือ วิธีการนำเสนอเพื่อการเรียนรู้
จอที่ผม ทดลองเป็นเรื่องราวของทฤษฎีว่าด้วยที่มาของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่
2 ขั้วคือ ทฤษฎี Out of Africa กล่าวว่าวิวัฒนาการจากสัตว์ที่เกือบเป็นคน
(Homo Erectus) จนกลายมาเป็นมนุษย์ Homo Sapiens เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกาเท่านั้น
จากนั้นมนุษย์ Homo Sapiens มีการแยกย้ายไปอยู่ในส่วนต่างๆ ของโลกและวิวัฒนาการต่อกลายเป็นที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนอีกขั้วหนึ่งคือ ทฤษฎี Multiregio-nal กล่าวว่าในแต่ละภูมิภาคจะมีการวิวัฒนาการจาก
Homo Erectus กลายมาเป็นมนุษย์ยุคปัจจุบัน อย่างอิสระ ในจอจะถามว่าท่านเลือกทฤษฎีไหน
จากนั้นเครื่องจะเสนอแหล่งข้อมูลจาก 3 แนวทางการศึกษาคือ โบราณคดี ภาษาศาสตร์
และพันธุกรรม ซึ่งข้อมูลที่ค้นมาได้จะทำให้สามารถสรุปได้ว่าทฤษฎีใดน่าเชื่อถือกว่ากัน
จากที่ผมได้ทดลองได้ ความรู้ว่าข้อมูลปัจจุบันมีแนวโน้มสนับสนุนทฤษฎี Out
of Africa แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปให้เป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย
สิ่งที่กำลังเป็นจุดสนใจ และจะนำไปสู่ข้อสรุปได้คือการศึกษา DNA อย่างละเอียดซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังมาแรง
เป็นวิธีการศึกษาที่สนุกและเข้าใจง่าย สิ่งสำคัญคือ เครื่องมือ เพื่อช่วยในการเรียนรู้ที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องแพง
แต่ ด้วยปัญญาทำให้สวยงามและได้ผล
คราวหน้าผมจะมาเล่าต่อ แล้วพบกันครับ