อดีตนักเรียนทุน และทำงานแบงก์ชาติมากว่า 16 ปี ก่อนที่จะมาทำงานภาคธุรกิจ
ซึ่งเวลาช่วงหนึ่งเธอได้ศึกษาเรื่องราวของ distance learning อยู่หลายปี
ทุกวันนี้ก็ยังศึกษาและให้ความสนใจอยู่ ปัจจุบันเธอเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาเล็กๆ
ถามด่วน "นี่เธอ คำนี้แปลว่าอะไรนะ?"
ตอบไว "เอาอีกแล้ว ไปเปิดดิกดูซิ"
โต้กลับ "ก็เคยเปิดแล้วนี่นา แต่มันจำไม่ได้ ถามเธอ ง่ายกว่า"
และแล้วการโต้เถียงก็ยุติลง ใครบ้างจะไม่อยาก มีคนชมว่าเก่งเทียบเท่าพจนานุกรม
คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์อย่างนี้บ้างไหม? เป็นฝ่ายถาม หรือ ฝ่ายตอบ?
ผู้เขียนเองเคยเป็นทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อตกเป็นฝ่ายหลัง บ่อยครั้งกลับเป็นคนออกกำลังขาแขนและนิ้ว
มือแทนคนถาม เปิดหาความหมายของคำคำนั้นเองใน พจนานุกรม เพราะตัวเองก็เป็นคนขี้ลืมเหมือนกัน
โดย เฉพาะศัพท์ที่ไม่ค่อยได้ใช้ในงานประจำและชีวิตประจำ วัน ซึ่งผู้เขียนคิดเสมอมาว่านี่เป็นเรื่องปกติ
อ่านไม่ได้ เขียนไม่ออกเพราะไม่รู้คำศัพท์
แต่ในระยะสองปีที่ผ่านมานับตั้งแต่เข้ามาในแวดวงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
ผู้เขียนกลับพบว่าผู้เรียนจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น วัย ทำงาน หรือวัยกลางคนไปแล้วให้สาเหตุของการอ่านไม่ได้
เขียนไม่ออก พูดไม่ถูกว่ามาจาก "ไม่รู้ศัพท์
ที่ว่านี้เป็นคำพูดสั้นๆ ซึ่งคงจะหมายความว่า รู้คำศัพท์ไม่เพียงพอกับความต้องการของตน
หรือเพียงพอสำหรับงาน การบ้านหรือข้อสอบที่ต้องทำให้สำเร็จ
โปรดสังเกตคำกิริยาที่ผู้เรียนใช้ คือ คำว่า "รู้ "
ผู้เขียนเลยไปลองค้นคว้าวิธีการเรียนรู้คำศัพท์ จากตำราและหนังสือต่างๆ
ซึ่งนอกจากจะได้ คำตอบแสนอมตะมาแล้ว ยังพลอยได้กลยุทธ์การเรียนให้จำได้จำดีมาหลากวิธี
มาเล่าสู่กันฟังอีกด้วย
อมตะคำตอบกุญแจเรียนคำศัพท์
ตำราที่หวังดีจริง ซึ่งหมายถึงตำราที่ไม่มุ่งหากินกับยอดขายกลวิธีท่องจำคำศัพท์เท่านั้น
แต่ให้ความเห็นอย่างจริงใจ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า วิธีการที่ดีที่สุด
แน่นอนที่สุด ที่จะทำให้ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดหรือมีพื้นฐานทักษะภาษาอังกฤษอยู่ในระดับใด
ได้เรียนรู้คำศัพท์อย่างจีรังยั่งยืน คือ การอ่าน
ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วยเป็นเอกฉันท์มานานแล้ว
แต่แน่นอนละ การอ่านใช้เวลา
ถ้าคุณมีเวลาจำกัด เช่น อีกสองเดือนจะสอบวิชาภาษาอังกฤษ หรือจะสอบโทเฟลคุณจะอ่านอะไร
และอย่างไรให้คลังคำศัพท์เติบโตทันเข้าห้องสอบ ล่ะ?
ท่องศัพท์ให้จำ...ใครว่ายาก?
ในระยะเวลาจำกัด คุณจะเลือก "ท่อง" ศัพท์ด้วยวิธีใด
คุณจะลอกแล้วลอกอีก จนกว่าข้อมือจะเคล็ด ตามสไตล์ครูภาษาอังกฤษใจร้ายทำโทษคุณ
ตอน ป.5 หรือคุณจะเขียนคำศัพท์ไว้ทีละหยิบมือลงในกระดาษแผ่นเล็กๆ และปะไว้เต็มบ้าน
บนประตูตู้เย็น ข้างหน้าต่าง บนกระจกห้องน้ำ หรือคุณจะวาดภาพประกอบคำศัพท์
เขียนลงในกระดาษแข็ง ตัดแยกเป็น แผ่นละคำ ด้านหนึ่งเป็นตัวสะกด อีกด้านเป็นรูปภาพ
เอาไว้คอยเดาเล่น
หรือคุณเป็นพวกช่างท่อง ช่างจดลงในสมุดเล่ม เล็กพกติดตัวสะดวก หยิบออกมาท่องได้ทุกเมื่อ
ไม่ว่าในรถไฟ เรือเมล์ หรือตอนเข้าคิว
ฯลฯ
ผู้เขียนเชื่อว่าวิธีการท่องจำของมนุษย์เรายังมีอีกเป็นร้อย แต่จากการค้นตำราทำให้พบแนวทางจาก
ปรมาจารย์สองท่านในเครือสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ที่ฟังดูเข้าท่าที่สุด
สองท่านนี่บอกว่า คุณจะทำอย่างไรก็ได้ แล้วแต่คุณถนัด สำคัญที่วิธีการนั้นๆ
จะต้องทำให้คุณสามารถใช้คำศัพท์ใหม่อย่างคล่องแคล่ว
อีกอย่าง คือ การหมั่นทบทวนทั้งคำใหม่และเก่า ฝึกนำคำศัพท์ที่ไม่ได้ใช้ออกมาใช้งานบ่อยๆ
ใช้เฉพาะ ใหม่บ้าง เก่าบ้าง และรวมมิตรกันบ้าง ในไม่ช้าคุณจะพบว่าคลังคำศัพท์ของคุณได้แข็งแรงขึ้น
พร้อมเป็นฐาน ที่มั่นคงกับการขยายตัวต่อไป
วิธีการที่ผู้เขียนนำมาฝากมีทั้งที่รวมแนวคิดนี้ และอื่นๆ ที่เห็นว่าน่าจะได้ผล
อีกทั้งแปลกและสนุกดีด้วย
‘ เขียนคำศัพท์ลงบนกระดาษ จะมากกว่าหนึ่ง คำหรือกลุ่มคำก็ได้ เปิดพจนานุกรมหาความหมาย
เมื่อ ทราบแล้ว ลองแต่งเรื่องเล่าหรือนิทานเชื่อมโยงคำศัพท์ ใหม่ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน
หรือที่ง่ายกว่านี้ คือ แต่งเป็น ประโยคเดี่ยวๆ สำหรับแต่ละคำ
‘ จัดคำศัพท์ต่างๆ ในหมวดหรือหัวข้อเดียวกันไว้ด้วยกัน โดยวาดโยงเป็นแผนผัง
หรือรูป ต้นไม้ที่แตกกิ่งก้าน อย่างแรกกำลังเป็นที่นิยม มักเรียกกันว่า mind
map อย่างหลัง ชื่อน่ารักว่า word tree ตามตัวอย่างทำนองนี้ ‘ จดคำศัพท์ลงในสมุด
เปิดพจนานุกรมหา ความหมายแล้วเขียนคำจำกัดความตามความเข้า ใจของคุณเอง และลองแต่งประโยคตัวอย่าง
2-3 ประโยค โดยอาจดัดแปลงจากตัวอย่างในพจนานุ กรม ถ้าไม่มั่นใจนัก และถ้าถนัดหรือต้องการฝึกมือ
น่าจะลองวาดภาพประกอบด้วย แถมแต้มสีสันลงไปบ้าง คงดูไม่น่าเบื่อ
‘ อ่านออกเสียงคำศัพท์นั้นดังๆ ทั้งนี้ควรจะลองถอด รหัส วิธีการอ่าน ออกเสียงในพจนานุกรมของคุณก่อน
และถ้ายังไม่มั่นใจ ก็ลองถามเพื่อนๆ ดู เพราะทุกครั้งที่คุณเอ่ยชื่อคำคำนี้
คุณจะจำมันได้ดีขึ้น
‘ อ่านอะไรก็ได้ที่ชอบ เมื่อสะดุดคำศัพท์ที่ไม่รู้ เดาไปก่อน เมื่อทนไม่ได้จริง
หรือทางเดาตันแล้ว ค่อยไป เปิดพจนานุกรมหลังจากนี้จะอ่านออกเสียงดังๆ ตามด้วยการจด
และลองเขียนประโยคตัวอย่างดูก็ได้
‘ เมื่อพบคำศัพท์ใหม่ ลองผ่าตัดคำนั้นเพื่อหา ส่วนประกอบสำคัญๆ ได้แก่
คำนำหน้า (prefix) และ/หรือคำตามหลัง (suffix) รากศัพท์ ตลอดจนลงลึกไปกว่า
นั้น โดยลองสืบประวัติของคำนั้นๆ คุณอาจจะค้นพบ ศัพท์ใหม่ๆ อีกชุดหนึ่งเลยที่เริ่มจากคำนี้คำเดียว
‘ สำหรับคำศัพท์ที่ดูจะสะกดยาก ส่วนใหญ่เพราะเป็นคำยาวๆ ลองแต่งประโยคใช้ตัวอักษรทั้ง
หมดของคำนั้นๆ วิธีนี้ ฝรั่งเรียกว่า mnemonics ตัวอย่าง ที่น่าเอ็นดูคือคำว่า
arithmetic เด็กฝรั่งจำยาก คุณครู เลยใช้วิธีให้จำ A Rat in The House Might
Eat The Ice Cream ครูบางคนเปลี่ยน The เป็นชื่อ Tom คงเพื่อสะกิดเด็กหลับบางคนในห้องเรียน
คุณจะเลือกใช้วิธีใดก็แล้วแต่ หรือจะนำมา รวมมิตรเป็นสูตรส่วนตัวของคุณก็ได้
ขอให้สนุกกับ การ "ใช้ คำศัพท์ใหม่ๆ
หรือคุณจะเลือกเป็นผู้ใฝ่รู้อารมณ์ดีอย่างคุณ หมอลูอิส โทมัส ที่เขียนไว้ในหนังสือเกี่ยวกับคำศัพท์
ชื่อ Et Cetera, Et Cetera (Notes of a Word-Watcher) ว่า
"ผมลืมคำศัพท์อยู่เรื่อยละ แต่การลืมน่ะเป็น ส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมสนุก
เพราะมันทำให้มีโอกาสพบความสุขกับการค้นหาความหมายกับการได้เปิด พจนานุกรม
และทำให้ตกตะลึงกับคำศัพท์นั้นได้อีกคำรบหนึ่ง"
เล่นๆ เรียนๆ กับคำศัพท์ ค้นตำรามาหลายเล่ม ได้กลยุทธ์การเรียนการจำคำศัพท์มาก็หลายวิธี
แต่ผู้เขียนขอสารภาพว่าที่ถูกใจมากๆ กลับพบจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งเพราะค้นไป
เล่นไป สนุกจังเลย และเผลอๆ ได้ความรู้ใหม่ติดตัวมาด้วย
ก็นักจิตวิทยาการศึกษาสมัยนี้ เขาบอกไว้ไม่ใช่หรือว่า...
การเรียนรู้ที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราเพลิดเพลินกับสิ่งที่เราทำ
‘ http:// www.wuziegames.com แค่ชื่อก็บอกคุณสมบัติไม่ธรรมดาแล้ว ที่นี่มีเกมสารพัดรูปแบบทั้งที่เกี่ยวกับคำศัพท์แบบฉาบฉวยและแบบเจาะลึก
พวกแรกรวมทั้งบิงโกสารพัดกลุ่มคำและจำนวนตัวสะกด ครอสเวิร์ด เกมอักษรไขว้
แฮงแมน รวมทั้งหัวข้อชื่อ Amandas Mnemomics Page ซึ่งน่ารักมากสำหรับคน
มีปัญหาการสะกดคำยาวๆ ยากๆ ส่วนพวกหลังเจาะตามแนวนักโบราณคดีกึ่งนักสืบถึงรากคำและประวัติความเป็นมา
ข้อควรระวังสำหรับคนชอบขุดเจาะลึก คือ ต้องผ่านด่านโฆษณาของ Amazon.com ที่บุกแหลก
คลิกลงไปเรื่อยๆ แลัวคุณจะพบกับต้นตอ
นอกจากคุณสมบัติน่าคบดังกล่าว เว็บนี้ยังสามารถพาคุณเข้าถึงเว็บอื่นๆ ทั้งที่คงแก่เรียนแปลกพิสดาร
และแสนสนุก
เล่นๆ เรียนๆ กับคำศัพท์ ค้นตำรามาหลายเล่ม ได้กลยุทธ์การเรียนการจำคำศัพท์มาก็หลายวิธี
แต่ผู้เขียนขอสารภาพว่าที่ถูกใจมากๆ กลับพบจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งเพราะค้นไป
เล่นไป สนุกจังเลย และเผลอๆ ได้ความรู้ใหม่ติดตัวมาด้วย
ก็นักจิตวิทยาการศึกษาสมัยนี้ เขาบอกไว้ไม่ใช่หรือว่า...
การเรียนรู้ที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราเพลิดเพลินกับสิ่งที่เราทำ
‘ http:// www.wuziegames.com แค่ชื่อก็บอกคุณสมบัติไม่ธรรมดาแล้ว ที่นี่มีเกมสารพัดรูปแบบทั้งที่เกี่ยวกับคำศัพท์แบบฉาบฉวยและแบบเจาะลึก
พวกแรกรวมทั้งบิงโกสารพัดกลุ่มคำและจำนวนตัวสะกด ครอสเวิร์ด เกมอักษรไขว้
แฮงแมน รวมทั้งหัวข้อชื่อ Amandas Mnemomics Page ซึ่งน่ารักมากสำหรับคน
มีปัญหาการสะกดคำยาวๆ ยากๆ ส่วนพวกหลังเจาะตามแนวนักโบราณคดีกึ่งนักสืบถึงรากคำและประวัติความเป็นมา
ข้อควรระวังสำหรับคนชอบขุดเจาะลึก คือ ต้องผ่านด่านโฆษณาของ Amazon.com ที่บุกแหลก
คลิกลงไปเรื่อยๆ แลัวคุณจะพบกับต้นตอ
นอกจากคุณสมบัติน่าคบดังกล่าว เว็บนี้ยังสามารถพาคุณเข้าถึงเว็บอื่นๆ ทั้งที่คงแก่เรียนแปลกพิสดาร
และแสนสนุก
เล่นๆ เรียนๆ กับคำศัพท์ ค้นตำรามาหลายเล่ม ได้กลยุทธ์การเรียนการจำคำศัพท์มาก็หลายวิธี
แต่ผู้เขียนขอสารภาพว่าที่ถูกใจมากๆ กลับพบจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งเพราะค้นไป
เล่นไป สนุกจังเลย และเผลอๆ ได้ความรู้ใหม่ติดตัวมาด้วย
ก็นักจิตวิทยาการศึกษาสมัยนี้ เขาบอกไว้ไม่ใช่หรือว่า...
การเรียนรู้ที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราเพลิดเพลินกับสิ่งที่เราทำ
‘ http:// www.wuziegames.com แค่ชื่อก็บอกคุณสมบัติไม่ธรรมดาแล้ว ที่นี่มีเกมสารพัดรูปแบบทั้งที่เกี่ยวกับคำศัพท์แบบฉาบฉวยและแบบเจาะลึก
พวกแรกรวมทั้งบิงโกสารพัดกลุ่มคำและจำนวนตัวสะกด ครอสเวิร์ด เกมอักษรไขว้
แฮงแมน รวมทั้งหัวข้อชื่อ Amanda's Mnemomics Page ซึ่งน่ารักมากสำหรับคน
มีปัญหาการสะกดคำยาวๆ ยากๆ ส่วนพวกหลังเจาะตามแนวนักโบราณคดีกึ่งนักสืบถึงรากคำและประวัติความเป็นมา
ข้อควรระวังสำหรับคนชอบขุดเจาะลึก คือ ต้องผ่านด่านโฆษณาของ Amazon.com ที่บุกแหลก
คลิกลงไปเรื่อยๆ แลัวคุณจะพบกับต้นตอ
นอกจากคุณสมบัติน่าคบดังกล่าว เว็บนี้ยังสามารถพาคุณเข้าถึงเว็บอื่นๆ ทั้งที่คงแก่เรียนแปลกพิสดาร
และแสนสนุก