Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2547
เมืองใหม่ "ไอที"             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์




ความพยายามสร้างเมืองภูเก็ตให้เป็นเมืองที่ทันสมัยด้วยไอที เกิดขึ้นมาหลายยุค แต่ครั้งนี้จะเป็นยุคสุดท้ายที่จะพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองดิจิตอล เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้นใน ชื่อของ ICT CITY

ในอดีต ภูเก็ตเคยเป็นเหมืองแร่ ถัดมาเป็นยุคของสวนยางพารา ก่อนจะมาเป็นยุคธุรกิจโรงแรม และตอนนี้อยู่ที่ธุรกิจท่องเที่ยว

นพ.ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต และคณะอนุกรรมการ SIPA สาขาภูเก็ต กล่าวว่า ในครั้งที่มีนโยบายการสร้างเมืองไอซีที ภูเก็ตไม่ได้มีรายชื่ออยู่ในแผน แต่เป็นเพราะการรวมตัวกันของกลุ่มนักวิชาการ และภาคเอกชนเข้าไปพบตัวแทนของรัฐบาลในกระทรวงไอซีที เพื่อขอพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองไอซีทีอีกเมืองหนึ่ง นอกจากเชียงใหม่และขอนแก่น จึงทำให้มีรายชื่ออยู่ในแผนพัฒนาดังกล่าว

การพัฒนาเมือง ICT CITY ในแต่ละจังหวัดจะมีรูปแบบแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐาน ลักษณะภูมิประเทศ

ภูเก็ตมีความแตกต่างจากเมืองอื่น คือเป็นเมืองท่องเที่ยว มีค่าครองชีพสูง ที่ดินแพง จึงต้องมีการพัฒนาในรูปแบบเฉพาะตัว โดย ICT CITY ที่ภูเก็ตจะเป็นเหมือนสถานที่พบปะ พูดคุย ประชุม และทำธุรกิจมากกว่าที่จะเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีตึกสูงบรรจุนักพัฒนาเป็นร้อยๆ คน

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภูเก็ต สามารถสร้างรายได้หลักถึงร้อยละ 50 ของรายได้การท่องเที่ยวทั้งประเทศ การนำไอทีมาใช้ประโยชน์น่าจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวอีกแรงหนึ่ง

แผนพัฒนาเมืองภูเก็ต มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบบรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต ระบบโทรศัพท์พื้นฐานที่ใช้ในการสื่อสาร, การสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และการพัฒนาบุคลากร

ในส่วนของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานนั้น ในเบื้องต้น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปวางเครือข่ายบรอดแบนด์ โดยจะพร้อมใช้ภายในเดือนมิถุนายน 2547 จำนวน 5,000 เลขหมาย ในขณะที่บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เข้าไปติดตั้งเกตเวย์ของโทรศัพท์ระหว่างประเทศด้วยเช่นกัน

ส่วนแนวทางการพัฒนาบุคลากรจะร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และสถาบันราชภัฏภูเก็ต ผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ จำนวน 400 คน ภายใน 4 ปี

แนวทางหนึ่งที่จะนำไปใช้ให้การพัฒนาบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คือการให้แรงงานต่างประเทศที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานในจังหวัดภูเก็ตได้ง่ายขึ้น โดยจะต้องเข้าไปถ่ายทอดความรู้ในสถานศึกษาท้องถิ่นให้ครบตามชั่วโมงที่กำหนดไว้

ส่วนทางด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะมีการตั้งสำนักงาน SIPA ที่ภูเก็ต มีการพัฒนาคนทำงานด้านไอทีให้ได้อีก 3,000 รายภายในปีนี้ และมีผู้ประกอบการด้านไอทีเพิ่มขึ้น โดยผลักดันการสร้างอุตสาหกรรม ขนาดเล็กขนาด 5-10 คน

ทางด้านซอฟต์แวร์ที่ SIPA ให้การสนับสนุน ได้แก่ ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรภายใต้คอนเซ็ปต์ web service, ซอฟต์แวร์แอนิเมชั่น, ซอฟต์แวร์พัฒนาเกมและมัลติมีเดีย และซอฟต์แวร์สำหรับเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded System)

โดยหน้าที่หลักของภูเก็ตจะเน้นอยู่ 2 เรื่องด้วยกันคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านเทคโนโลยีของ Web Service และแอนิเมชั่น

ในขณะนี้มีผู้ประกอบการด้านไอทีประมาณ 200-300 ราย โดยส่วนใหญ่จะประกอบกิจการเกี่ยวกับการสร้างซอฟต์แวร์ การทำแอนิเมชั่น และรับจ้างทำกราฟิกดีไซน์ให้ต่างชาติ

ตัววัดความสำเร็จของภูเก็ต ICT CITY คงจะไม่ใช่จำนวน เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่อยู่ที่การเข้าถึงเทคโนโลยีของประชาชนเป็นหลัก เช่น สัดส่วนการมีโทรศัพท์ใช้จะต้องเป็น 1 เลขหมายต่อ 2 ครัวเรือน จากปัจจุบันมีสัดส่วนที่ 1 เลขหมายต่อ 4 ครัวเรือน เป็นต้น

สุดท้ายแล้วการเป็นเมือง ICT CITY จะต้องทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของจังหวัดดีขึ้น และประชาชนมีรายได้ต่อหัวมากขึ้นจากเดิม สามารถเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ด้วยไอทีที่ทันสมัย

นั่นจึงจะเป็นความหมายของคำว่าเมือง ICT CITY ในแบบฉบับของคนภูเก็ต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us