Integrated Supply Chain Management อาจเป็นเรื่องที่ดูสลับซับซ้อน แต่ในความเป็นจริง
ถือเป็นธุรกิจ ที่ใกล้ตัว และกำลังเพิ่มบทบาท ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในหลักฐาน
คือหลายสถาบันการศึกษาได้เปิดสอนสาขาวิชา Logistics หรืออย่างน้อยก็เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร
MBA
Integrated Supply Chain Management เป็นเรื่องของการจัดเก็บและเคลื่อน
ย้ายสินค้า จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งคำว่า "Integrated" นั้น ครอบคลุมทั้งในส่วนของ
Freight Management (FM) การบริหารตู้สินค้าเพื่อการนำเข้า ส่งออก ทั้งทางเรือ
ทางบก และทางอากาศ และ Contract Logistics (CL) การจัดเก็บและขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค
ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่มีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มกระบวน การผลิตสินค้าในปัจจุบัน
จากผลการวิจัยร่วมกันระหว่าง National University of Singapore และ Georgia
Institute of Technology พบว่า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ Logistics ถ้าจะคิดเป็นตัวเงิน
จะอยู่ในสัดส่วนระหว่าง 10-20% ของราคาสินค้า และคิดเป็น 8-20% ของ GDP
ตัวเลขดังกล่าวอาจจะสูงกว่านั้นสำหรับประเทศไทย ที่ซึ่งปัจจัยส่งเสริมในเรื่องระบบการขนส่งสินค้า
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถนนหนทาง หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาอีกมาก
โอกาสจึงเปิดกว้างให้ Logistics Solution Provider ที่เป็นต่างชาติซึ่งมีความพร้อมในเรื่องเทคโนโลยีและความชำนาญเข้ามาทำธุรกิจในไทย
"เราต้องการเป็นผู้นำในธุรกิจ Integrated Supply Chain Management ในเมืองไทย
ภายใน 2 ปีนับจากนี้" Grant Enders กรรมการบริษัท Exel (Thailand) บอกกับ
"ผู้จัดการ"
เป็นเป้าหมายที่ไม่น่าจะไกลเกินเอื้อม เหตุจาก Exel (Thailand) เป็นผู้นำระดับโลกและเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ดำเนิน
ธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งในส่วนของ FM และ CL "ในขณะนี้ Exel (Thailand) เป็นผู้นำหมายเลข
1 ในส่วนของ CL จากการประเมิน ของลูกค้าและคู่แข่งของ Exel เอง" Grant บอกถึง
Position ของ Exel (Thailand) ยังคงเหลือในส่วนของ FM ที่จะต้องแข่งขัน กับผู้เล่นสัญชาติไทยรายย่อยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
ในปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าสัดส่วนรายได้ของ Exel (Thaialnd) ในธุรกิจ FM
และ CL จะอยู่ที่ประมาณ 50:50 แต่ธุรกิจ CL เป็นส่วนที่ต้องใช้พนักงานมากถึงกว่า
80% จากที่มีอยู่ประมาณ 1,400 คน และก็เป็นส่วนที่ Exel (Thailand) ตั้งเป้าว่าจะโตถึง
20% ในปีนี้ เนื่องจากมองเห็นโอกาสที่สดใสรออยู่เบื้องหน้า
"บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่เริ่มที่จะเห็นความสำคัญของ logistics และเข้าใจมากขึ้นว่า
บริษัทอย่าง Exel สามารถนำเสนอ solution อะไรได้บ้าง" Grant บอกถึงเหตุผลสนับสนุนหลังจากที่ผ่านมา
ลูกค้าจะเป็น Multinational Company เสียเป็นส่วนใหญ่
โดยปัจจุบัน ลูกค้าของ Exel (Thailand) มาจาก 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ Consumer
Product, Retail และ Healthcare เช่น P&G Nestle Tops Boots และที่กำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
คือกลุ่ม Automobile ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความสำคัญมาก ในตลาดอเมริกาและยุโรป
โดยประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศ ในภูมิภาคนี้นอกเหนือจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น
จีน และอินเดียที่ Exel กำลังให้ความสำคัญอย่างมากกับกลุ่ม Automobile
"ส่วนที่ยากที่สุดของธุรกิจนี้ น่าจะอยู่ที่การหา solution ที่ flexible
และ innovative ให้กับลูกค้า โดยทีมงานของ Exel (Thailand) จะต้องเข้าใจธุรกิจของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง
ก่อนที่จะพัฒนา solution ที่ลูกค้าต้องการ" Grant บอก
ซึ่ง Key Success Factor อยู่ที่พนักงานของ Exel เอง เป็นนโยบายของ Exel
ทั่วโลกที่จะเปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบ
เช่น การฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษ การร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำโครงการ
Executive Development Program อบรมผู้บริหารระดับสูงในเรื่องการเงิน การตลาด
และอื่นๆ หรือแม้กระทั่งการส่งพนักงานของ Exel (Thailand) ไปศึกษาขั้นปริญญา
โท ในสาขาวิชา Automobile ที่ประเทศอังกฤษ และด้าน Healthcare ที่ประเทศนิวซีแลนด์
เพราะ Exel เชื่อว่าหากพนักงานโต บริษัทก็จะโตตามไปด้วย
Exel (Thailand)
ปี 2538 Exel Logistics เริ่มดำเนินธุรกิจ contract logistics ในไทย
ปี 2543 MSAS เข้ามาทำธุรกิจ Freight Management ในไทย โดยลงทุนร่วมกับบริษัทท้องถิ่น
ปี 2543 Ocen Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ MSAS ได้ควบรวมกิจการกับ Exel
PLC ทั่วโลก ทำให้ Exel PLC กลายเป็นผู้ให้บริการเรื่อง Supply Chain Management
แบบครบวงจร
ปัจจุบัน Exel (Thailand) มีพนักงานประมาณ 1,400 คน ดูแลพื้นที่คลังสินค้ากว่า
1.4 ล้านตารางฟุต กระจายอยู่ใน 12 สำนักงานทั่วประเทศ เช่นที่เชียงใหม่ แหลมฉบัง
บางพลี บางบัวทอง และศรีนครินทร์