Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 เมษายน 2547
จัดสรรเปิดศึกชิงแลนด์แบงก์ระดมทุนซื้อที่-หวั่นปรับราคา             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, บมจ.
ไทยพาณิชย์, บล.
แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.
ลลิล พร็อพเพอร์ตี้, บมจ.
แกรนด์ ยูนิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์, บจก.
ไชยยันต์ ชาครกุล
ธีระชนม์ มโนมัยพิบูลย์
Real Estate
อดิพงษ์ ภัทรวิกรม
พิเชษฐ์ ศุภกิจจานุสันติ์




บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายกลาง เร่งระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ซื้อที่ดินสะสมรองรับโครงการในอนาคต หวังเสริมความเข้มแข็งรองรับความเสี่ยงการปรับราคาที่ดิน และลดความเสียเปรียบทางการแข่งขัน บล.ไทยพาณิชย์ ชี้การสต๊อกแลนด์แบงก์จะเป็นปัจจัยหลักของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยุคนี้

ทิศทางการลงทุนกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หลายบริษัทในช่วงก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กำหนด นโยบายซื้อที่ดินสะสมเพื่อรอการพัฒนาจำนวนมาก จนเกิดภาระต้นทุนการถือครอง เมื่อเผชิญปัญหาทำให้ส่วนใหญ่ตัดขายเพื่อลดภาระต้นทุน และชำระหนี้สิน พร้อมปรับตัวโดยการซื้อที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการทันทีเพื่อสร้างรายได้ และลดภาระต้นทุนที่ดิน

มาในยุคการฟื้นตัวของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ทิศทางการลงทุนของธุรกิจกลุ่มนี้เริ่มปรับเปลี่ยน รายกลางถึงเล็กเร่งระดมทุนเพื่อซื้อที่ดินสะสมรอการพัฒนาโครงการในอนาคต จากปัจจัยการปรับราคาที่ดินสูง ในอนาคตส่งผลโดยตรงต่อการทำกำไรขององค์กร

นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการกลยุทธ์การลงทุน บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวถึงทิศทางการลงทุนของกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ว่า การแข่งขันทำกำไรของกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขึ้นอยู่กับต้นทุนที่ดินเป็นสำคัญ เพราะมีสัดส่วนสูงถึง 20% ของมูลค่าการก่อสร้างทั้งหมด และแนวโน้มการปรับตัวของราคาที่ดินที่เริ่มขยับกันแล้วในปัจจุบันและเตรียมที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีกในอนาคต เป็นประเด็นที่หลายบริษัทให้ความสำคัญ

แนวทางการปรับตัวของกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นับจากนี้จะขึ้นอยู่กับการจัดหาที่ดินเป็นหลัก เห็นได้จากหลายบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์วางแผนที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อวัตถุประสงค์ของการซื้อที่ดินสำหรับพัฒนาโครงการ กรณีบริษัทที่เข้าตลาด หลักทรัพย์ได้มีแผนเพิ่มทุนเพื่อหาเงินซื้อที่ดินให้มากขึ้น สุดท้ายเป็นกลุ่มบริษัทที่มีเงินทุนสะสมก็พยายามมองหาและจัดซื้อที่ดินเพิ่ม แลนด์แบงก์จึงเป็นเป้าหมายหลักการลงทุนของกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้

"ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นหลายบริษัทเร่งระดมทุนเพื่อจัดซื้อที่ดินสะสม เพราะที่ดินที่มีศักยภาพเริ่มหายาก หรือซื้อได้แต่คงเป็นราคาที่สูง เมื่อเทียบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเจ้าของที่ดินส่วนใหญ่จะตัดขายในราคาที่ต่ำกว่าปกติ"

นายพิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์ กรรมการ บริหาร และกรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยการซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแผนงานของแต่ละบริษัท ในส่วนของบริษัทจะไม่ยึดติดกับทำเลใดทำเลหนึ่งโดยเฉพาะ โดยจะกระจายโครงการไปแต่ละพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีการสะสมแลนด์แบงก์ไว้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะซื้อที่ดินและพัฒนาโครงการทันที

"ในส่วนของแกรนด์ยูนิตี้ฯ บริษัทร่วมทุนจะไม่เน้นการซื้อที่ดินสะสมเพื่อพัฒนาโครงการ แต่จะซื้อโครงการสร้างค้างมาพัฒนา และมองหาที่ดินใหม่เพื่อพัฒนาโครงการทันที โดยเชื่อว่ามีศักยภาพ ในการมองหาที่ดินมาพัฒนาได้ทันเวลาตามแผน สำหรับในส่วนของแอล.พี.เอ็น.ฯ จะไม่มีนโยบายซื้อที่ดินสะสมเป็นเวลานานก่อนนำมาพัฒนา สิ่งสำคัญอยู่ที่การปรับตัวมากกว่า ยิ่งปรับตัวช้าจะยิ่งเสียเปรียบในการแข่งขัน"

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทจัดทำแผนการซื้อที่ดินสะสมสำหรับพัฒนาโครงการในอนาคต ปีละ 1,000 ล้านบาท โดยในปี 2546 บริษัทได้ซื้อที่ดินสะสมไว้แล้วประมาณ 1,000 ไร่ เมื่อรวมที่ดินเดิมทำให้มีประมาณ 2,000 ไร่ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท

"ในปี 2547 บริษัทไม่จำเป็นต้องเร่งจัดหาพื้นที่ เข้ามาให้ได้ตามจำนวนตามที่มีการกำหนดไว้ในงบ ประมาณ เพราะจำนวนที่ดินที่บริษัทถืออยู่ในมือขณะนี้มีจำนวนค่อนข้างมาก โดยที่ดินที่จะมีการโอนในปีนี้จะมีอยู่ทั้งหมด 200 ไร่ บริเวณพระราม 5 จำนวน 100 ไร่ และพัฒนาการอีก 100 ไร่"

แนวทางการเลือกซื้อที่ดินไว้ใช้พัฒนาโครงการ ในอนาคต จะเน้นพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณถนนสายหลักของกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณทางขึ้นลงทางด่วนหลัก ส่วนที่ดินแนวรถไฟฟ้าหรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายในการซื้อที่ดิน บริเวณดังกล่าว เพราะยังไม่อยู่ในความต้องการ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

นายไชยยันต์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทเตรียมเปิดโครงการใหม่อีก 5 โครง การ มูลค่าประมาณ 5.3 พันล้านบาท โดยไตรมาส แรกจะเปิดตัว 2 โครงการ ที่รังสิต-คลอง 4 และรามอินทรา-ซาฟารี ในไตรมาสที่ 3 อีก 2 โครงการ ที่จังหวัดนนทบุรี และเทพารักษ์ และในไตรมาสที่ 4 อีกโครงการสำหรับกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ พร้อมกับออกหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 1,200 ล้านบาท เพื่อชำระคืนหนี้ระยะสั้นในส่วนของตั๋วสัญญา ใช้เงินประมาณ 300 ล้านบาท อีก 900 ล้านบาท จะใช้ในการซื้อที่ดินเปล่าประมาณ 700 ล้านบาท อีก 200 ล้านบาท ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

ความเคลื่อนไหวในอีกหลายบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต่างเตรียมแผนงานในการซื้อที่ดิน เพื่อรองรับการทำงานในอีก 3-5 ปีข้างหน้า อาทิ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ วางแผนลงทุนซื้อที่ดินประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท, แสนสิริ เตรียมซื้อที่ดินใหม่ สำหรับโครงการบ้านเดี่ยว จำนวน 6 ทำเล มูลค่าโครงการ 17,850 ล้านบาท และโครงการคอนโดมิเนียมย่านใจกลางธุรกิจอีก 2 ทำเล และกำลังหาที่ดินเพิ่มอีก 2 ทำเล มูลค่ารวม 3,000 ล้านบาท รวมมูลค่าเฉพาะแผนการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ประมาณ 20,850 ล้านบาท ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อชิงทำเลที่โดดเด่น อยู่ในความต้องการของลูกค้า และบริหารความเสี่ยงของต้นทุนที่ดินที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นในอนาคต

แหล่งข่าวธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2546 หลายบริษัทต่างมองหาซื้อที่ดินสะสมเป็น จำนวนมาก โดยเฉพาะทำเลในเมืองที่หาที่ดินค่อนข้างยาก เพราะในช่วงตลาดขาขึ้นเจ้าของที่ดินมักไม่ ยอมขาย โดยเชื่อว่าราคาจะขยับขึ้นอีกมากในอนาคต หลังจากมีการปรับราคาลงในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ หรือ กรณีที่ขายจะอยู่ในระดับที่สูงมาก ทำให้ผู้ประกอบ การมีต้นทุนที่ดินที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อการ ทำกำไรของกลุ่มธุรกิจนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us