Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน21 เมษายน 2547
ธปท.ให้ยาขมแบงก์บีบกันสำรอง100%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC
วิโรจน์ นวลแข
Banking




แบงก์ชาติเตรียมนำกฎเหล็กในการลดเอ็นพีแอลทั้งระบบ โดยสั่งธนาคารพาณิชย์กันสำรองหนี้เสียทั้ง 100% ไม่ยกเว้นส่วนของหลักประกัน หวังระบบสถาบันการเงินไทยได้มาตรฐานตามเส้นตายบาเซิล ทู เผยปัจจุบันมาตรฐานหนี้เสียธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่กลุ่มเดียวกับอินโดฯ คาดประกาศใช้กลางปีนี้ ขณะที่ธนาคารกรุงไทยเล่นบทเสือปืนไวนำกำไรไตรมาสแรกกันสำรอง ล่วงหน้า ตั้งเป้าลดเอ็นพีแอลเหลือ 5% ภายในปีนี้ ส่วนกำไรขอ 1.7 หมื่นล้านบาท "วิโรจน์" มั่นใจเพราะสินเชื่อกำลังขาขึ้นตามภาวะดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับขึ้นภายใน 6 เดือนข้างหน้า

นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังจะนำกฎการกันสำรองใหม่ภายในกลางปี 2547 โดยให้ธนาคารพาณิชย์กันสำรองหนี้สูญและอยู่ระหว่างการฟ้องร้องต้องสำรอง 100% เป็นการกดดันให้ธนาคารพาณิชย์แก้ปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แบบเบ็ดเสร็จ ตามแผนการลดเอ็นพีแอลในระบบสถาบันการเงินตามนโยบายธปท. ทั้งนี้เป็นไปตามาตรฐานบีไอเอส ภายใต้กฎบาเซิล ทู ซึ่งประเทศไทยต้องใช้ในปี 2549

ปัจจุบันเอ็นพีแอลธนาคารพาณิชย์สูงถึง 6.4 แสนล้านบาท หรือ 12% (ณ ธ.ค. 2546) เป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเทียบกับสากลที่ไม่ควรเกิน 3%

"สาเหตุที่ต้องคุมเข้มเพราะเคยให้โอกาสธนาคารพาณิชย์โอนหนี้เสียเข้าบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน(บบส.) แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ เพราะตกลงเรื่องราคาที่โอนไม่ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการควบคุมให้สถาบันการเงินปรับตัวให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ไฟแนนเชียล มาสเตอร์แพลน) ที่ต้องลดจำนวนสถาบันการเงินลง" นายวิโรจน์กล่าว

สำหรับสาระสำคัญของมาตรการกันสำรองหนี้สูญ 100% นายวิโรจน์อธิบายว่า หลังวันที่ 15 พ.ค. ธนาคารพาณิชย์ต้องกันสำรองเงินสดในหนี้สูญหรือหนี้ที่กำลังฟ้องร้องทั้งหมด จากเดิมในส่วนของหลักประกันไม่ต้องกันสำรอง ยกตัวอย่าง หนี้ 100 บาท มีมูลค่าหลักประกัน 30 บาท ซึ่งเดิมส่วนของหลักประกันธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องสำรอง แต่ต่อไปต้องกันสำรอง "หมายถึงต้องกันสำรองอีก 30 บาท การถูกบังคับครั้งนี้ระบบธนาคารพาณิชย์จะต้องใช้เงินนับแสนล้านบาทจากการนำเงินสดไปชดเชยหลักประกันหนี้สูญมีกฎเกณฑ์ว่า ถ้าอายุหนี้เกิน 2 ปี ในกรณีที่ฟ้องร้องจะต้องสำรองในส่วนหลักประกันทันที"

สำหรับธนาคารกรุงไทย นายวิโรจน์เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีเอ็นพีแอล 9 หมื่นล้านบาทหรือ 7% ของสินเชื่อรวม แบ่งเป็นหนี้สูญและอยู่ระหว่างฟ้องร้องซึ่งเข้าข่ายดังกล่าวจำนวน 2.4 หมื่นล้านบาท ในจำนวน นี้มีหลักประกันมูลค่า 8 พันล้านบาท เขากล่าวว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ ธนาคารกรุงไทยกันสำรองในไตรมาสแรกทันที 2.8 พันล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่กำลังฟ้องร้อง หากได้หนี้คืนภายหลังธนาคารก็จะมีรายได้กลับมาเป็นกำไร ที่เหลืออีก 5.1 พันล้านบาท จะกันสำรองให้หมดเร็วที่สุด อย่างช้าไม่เกินสิ้นปี การดำเนินการดังกล่าวไม่เพียงเป็นไปตามกฎการกันสำรองใหม่และมาตรฐานบีไอเอส แต่ส่งผลต่อฐานะการดำเนินงานให้กลับมาเป็นรายได้และกำไร

"ปีนี้ตั้งเป้ากำไร 1.5-1.7 หมื่นล้านบาท เฉพาะการกันสำรองใหม่ครบ 8 พันล้านบาท ทำให้เอ็นพีแอล ของธนาคารกรุงไทยปีนี้ลดลงทันที 1 หมื่นล้านบาท ดังนั้นเป้าลดเอ็นพีแอลเหลือ 5 หมื่นล้านบาทหรือ 5% ในปีนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากและปลายปี 2548 ธนาคารกรุงไทยจะมีเอ็นพีแอลเพียง 2% มีรายได้และฐานที่เร็วขึ้น"

นายวิโรจน์กล่าวว่า การที่กำไรธนาคารกรุงไทย ในไตรมาสแรกของปีเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เกิดจากการปล่อยกู้ที่ขยายตัวมากทำให้รายได้จากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นรายได้จากกำไรจากการซื้อขายสินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีเอ) บวกกับส่วนต่างการลงทุนตราสารหนี้ประเภทจังก์บอนด์ ซึ่งถือเป็นรายได้พิเศษด้วย

สำหรับเป้าหมายสินเชื่อปี 2547 ธนาคารกรุงไทยตั้งเป้าเมื่อต้นปีว่าจะปล่อยกู้ 7 หมื่นล้านบาท แต่ขณะนี้ปล่อยกู้ไปแล้วถึง 2.4 แสนล้านบาท (รวมที่ยังไม่ได้เบิก) ทำให้ธนาคารคาดว่าจะมีกำไรไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท

นายวิโรจน์ย้ำว่า ระดับเอ็นพีแอลในเมืองไทยถือว่าต่ำกว่ามาตรฐานโลก หากจัดลำดับอยู่ในระนาบเดียวกับประเทศอินโดนีเซีย เป็นเรื่องที่ธปท. ต้องรีบแก้ปัญหา เพราะถือว่าแย่มาก การล้างบัญชีเพื่อให้สะอาดจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง

6 เดือนดอกเบี้ยขึ้น

นายวิโรจน์มั่นใจว่า ภายใน 6 เดือนข้างหน้า อัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับตัวขึ้น ขณะที่การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนเริ่มตีบตันเพราะผลตอบแทนต่ำมาก ขณะนี้เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ดังนั้นเริ่มมีความต้องการเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ที่ชัดเจน สภาพคล่องแต่ละธนาคารลดลง ในส่วนของกรุงไทยมีส่วนเกินอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

"ตอนนี้ธนาคารและผู้ประกอบการรับรู้กันแล้วว่าอีกไม่นานดอกเบี้ยกำลังจะขึ้น ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ กำลังรอสัญญาณจากธปท. เพราะธปท.มีข้อมูลทั้งระบบ อย่างไรก็ตามธนาคารกรุงไทยพยายามจะเข้าไปทดสอบสภาพคล่องในระบบโดยการกู้ในตลาดเงินกู้ระยะสั้นพบว่า มีเม็ดเงินให้กู้ไม่มากนัก ดังนั้นการขึ้นดอกเบี้ยคงต้องรอธปท. อีกครั้ง สิ่งที่ต้องระวังคือธนาคารแต่ละแห่งไม่รู้ว่าถ้าขึ้นดอกเบี้ยจะมีเงินฝากไหลทะลักเข้ามามากน้อยแค่ไหน เราจึงไม่เป็นผู้นำในการขึ้นดอกเบี้ย"

ด้านภาพรวมธุรกิจธนาคารพาณิชย์และเศรษฐกิจโดยรวม นายวิโรจน์กล่าวว่า การยุบสภาของรัฐบาลไม่สำคัญเท่ากับว่า หลังเลือกตั้งพรรคไหนจะเป็นรัฐบาล ถ้าไม่ถึงกับเปลี่ยนขั้วจากระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบอื่น เชื่อว่าความเชื่อมั่นยังมีเต็มเปี่ยม จะไม่มีวิกฤตเศรษฐกิจรอบสองเกิดขึ้นอีก เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งต่อเนื่องอีก 2 ปี เป็นอย่างน้อย

"ปัญหาภาคใต้เป็นเรื่องเก่าที่สังคมตื่นตัวในการรับรู้เท่านั้นเอง การรับรู้ปัญหากลับสร้างผลดีต่อการแก้ปัญหา" นายวิโรจน์กล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us