กำไรธนาคารพาณิชย์พุ่ง นำโด่งโดยแบงก์ไทยพาณิชย์ กำไรสุทธิสูงกว่า 6.8 พันล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 122% ขณะที่ดีบีเอส ไทยทนุ เพิ่มจากปีก่อน 230% ด้านแบงก์กรุงศรีอยุธยา
ตั้งสำรองเพิ่ม 600 ล้านบาท ตั้งเป้าลดหนี้เน่าเหลือ 10-12% เตรียมขยายสินเชื่อปีนี้อีก
3 หมื่นล้าน "คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม" มั่นใจกลุ่มแบงก์รับผลดีจากเศรษฐกิจขยายตัว
กำลังการผลิตเพิ่ม เอ็น-พีแอลลด ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งระบบ 2.5-2.6%
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ได้ทยอยแจ้งผลประกอบการประจำไตรมาสแรก สิ้นสุด ณ วันที่ 31
มีนาคม 2547 ต่อตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ปรากฏว่าธนาคารพาณิชย์เกือบทุกแห่งมีผลประกอบ
การดีขึ้นทั้งในส่วนของกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
หรือเอ็นพีแอลลดลง
ล่าสุดธนาคารพาณิชย์จำนวน 6 แห่ง นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีกำไรสุทธิสูงสุดถึง
6,858.00 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 2.14 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ
3,077 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.98 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 122.88%
ขณะที่ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ มีกำไรสุทธิ ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
คือ กำไรสุทธิ 324.68 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.19 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ
98.32 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นสูงถึง 230.23%
ฟันธงสินเชื่อขยายตัวตามเศรษฐกิจ
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าผลประกอบ
การของธนาคารอยู่ในเกณฑ์ที่สูง และเชื่อว่ามีแนวโน้ม ที่จะมีกำไรอย่างต่อเนื่อง
เพราะภาวะเศรษฐกิจมีการ เติบโตสูง ส่งผลให้ภาคธุรกิจ มีการขยายกิจการ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุน
ทำให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจ และส่งผลให้ธนาคารมีรายได้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย
"ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อเพิ่มร้อยละ
4 ดังนั้น หากพิจารณา ถึงอัตราการเพิ่มอีก 3 ไตรมาส ส่งผลให้อัตราการเติบโตของสินเชื่อธนาคารประมาณร้อยละ
16 ซึ่งอัตราการเติบโตดังกล่าวเชื่อว่าทั้งระบบธนาคารพาณิชย์น่าจะมีการเติบโตระดับที่ใกล้เคียงกัน"
คุณหญิงชฎา กล่าวว่าในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่ธนาคารพาณิชย์กลับเข้าสู่ภาวะปกติที่ปล่อยสินเชื่อใหม่เพื่อไปขยายกำลังการผลิต
ดังนั้นส่งผลให้ส่วนต่างดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบเพิ่มขึ้น คาดว่าเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ
2.5-2.6 กลุ่มธุรกิจที่มีการขยายสินเชื่อได้มากคือ 1. กลุ่มของลูกค้ารายย่อย 2.
กลุ่มลูกค้าขนาดกลาง และขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี และ 3. กลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่
ทหารไทยคาดเอ็นพีแอลปีหน้าเหลือ 5%
นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย กล่าวถึงความคืบหน้าการควบรวมกิจการกับธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
และไอเอฟซีที ว่านายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง ได้เห็นชอบแนวทางการควบรวมกิจการแล้วตั้งแต่วันที่
8 เมษายนที่ผ่านมา และในวันที่ 29 เมษายนนี้ ทั้ง 3 หน่วยงานจะมีการประชุมผู้ถือหุ้น
เพื่อพิจารณาการเสนอซื้อขายหลักทรัพย์ตามแนวทาง การเทกโอเวอร์กิจการ คาดว่ากระบวนการต่างๆ
จะแล้ว เสร็จสิ้นเดือนมิถุนายน จากนั้นต้นเดือนกรกฎาคมก็จะเกิดธนาคารพาณิชย์ตามแนวทางใหม่
โดยหลังจากการควบรวมแล้ว ธนาคารตั้งเป้าดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรเนื่องจากมีขนาดสินทรัพย์
ที่สามารถดำเนินการได้และมีจุดแข็งจากทั้ง 3 องค์กรเข้ามาช่วย โดยหลังควบรวมกิจการ
ธนาคารจะมีส่วน แบ่งตลาดร้อยละ 10 และมีสาขา 450 สาขา
สำหรับผลการดำเนินงานของธนาคารในช่วงไตรมาสแรกปี 2547 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 1,430
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และเชื่อว่าในแต่ละไตรมาสที่เหลือธนาคารจะมีกำไรไม่น้อยกว่าไตรมาสแรกแน่นอน
เพราะสามารถขยายสินเชื่อได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้ สิ้นปีธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ
28,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ด้อยคุณภาพล่าสุดอยู่ที่ร้อยละ 10.8 หรือ 32,812 ล้านบาท
ธนาคารมีรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ จำนวน 2,187 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีจำนวน
1,396 ล้านบาท สูงขึ้น เกือบร้อยละ 57 เนื่องจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลด ลงประมาณ
1,300 ล้านบาท รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจำนวน 1,013 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ
20
ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 1,651 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ
2 เนื่อง จากธนาคารสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน ได้มากขึ้น
สำหรับตัวเลขการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
เพราะธนาคารมีนโยบายในการตั้งสำรอง ไว้จำนวนมาก ส่วนเงินด้อยคุณภาพ หรือเอ็นพีแอล
ณ เดือนมีนาคม 2547 มีจำนวน 32,812 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.8 ของสินเชื่อ รวมสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อ
เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 อยู่ในระดับร้อยละ 9.9 เนื่องจากมีเอ็นพีแอล ย้อนกลับจากลูกค้า
ปรับโครงสร้างหนี้รายใหญ่ ซึ่งธนาคารได้ตั้งสำรองไว้ ครบเรียบร้อยแล้ว
"ธนาคารได้ตั้งเป้าสิ้นปีจะลดเอ็นพีแอลเหลือร้อยละ 6-7 โดยเป็นตัวเลขเอ็นพีแอลหลังจากการควบรวมแล้ว
และจะสามารถลดเอ็นพีแอลลงให้เหลือ ร้อยละ 5 ภายในปีหน้า"
กรุงศรีฯ กำไรสุทธิ 1.2 พันล้าน
นายจำลอง อติกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี
2547 ว่า ธนาคารมีผลกำไรจาก การดำเนินงานก่อนหักสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 1,814
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับปี 2546 โดยมีผลกำไรสุทธิในไตรมาสแรก 1,214
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 30%
ทั้งนี้ ไตรมาสแรกของปีนี้ธนาคารได้ตั้งสำรองฯ เพิ่มอีก 600 ล้านบาท เพื่อรองรับนโยบาย
ลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลงจาก ปัจจุบันที่มีอยู่ 59,000 ล้านบาท
หรือคิดเป็น 14.8% ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ธนาคารมีพอร์ตเอ็นพีแอลอยู่ในสัดส่วน 15.10%
โดยสามารถลด เอ็นพีแอลได้ 5,000 ล้านบาท และตั้งเป้าลดสัดส่วนเอ็นพีแอลลงเหลือ
10-12% ในสิ้นปีนี้
"หากปีนี้ธนาคารมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นก็จะตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว
ที่ตั้งสำรองฯไว้ 3,000 ล้านบาท เพื่อให้สามารถลดสัดส่วนเอ็นพีแอลได้ตามเป้าที่ตั้งไว้
โดยจะใช้แนวทาง การเจรจากับลูกหนี้เพื่อนำหนี้มาชำระมากขึ้น นอก จากนี้ยังเชื่อว่าในปีนี้เอ็นพีแอลทั้งระบบจะลดลง
เนื่อง จากราคาสินทรัพย์สูงขึ้น ประกอบกับภาวะตลาดน่าจะทำให้การขายเอ็นพีแอลคล่องตัวขึ้น"
นายจำลอง กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในไตร-มาสแรกของธนาคารเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในทุกด้าน
โดยการขยายสินเชื่อมีการเติบโตสุทธิประมาณ 6,300 ล้านบาท ซึ่งสินเชื่อปกติเพิ่มขึ้นประมาณ
9,100 ล้านบาท ในขณะที่สินเชื่อที่ไม่ก่อให้ เกิดรายได้ลดลงประมาณ 2,800 ล้านบาท
โดยรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิเพิ่มขึ้น 54% ขณะที่รายได้จากค่าธรรมเนียม
เพิ่มขึ้น 21% และมีส่วนแบ่ง กำไรจากเงินลงทุนใน บริษัทย่อยเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า
รวมทั้งธนาคารยังตั้งเป้าขยายรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ในส่วนของค่าธรรมเนียมและบริการให้โตขึ้น
30%
"ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้น 6-7% หรือเติบโตขึ้น 30,000
ล้านบาท โดยเน้นการ รักษาฐานลูกค้าในทุกกลุ่ม และเน้นการขยายธุรกิจสินเชื่อ รายย่อยเพิ่มขึ้น
โดยทำธุรกิจร่วมกับบริษัทในเครือ เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การทำธุรกิจลีสซิ่ง หน่วยลงทุน
และธุรกิจนายหน้าขายประกันภัยและประกันชีวิตผ่านธนาคาร ตลอดจนเน้นบริหารความเสี่ยงโดยการขยายธุรกิจควบคู่ไปกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ
และเติบโตในระดับที่มั่นคง"
อนุมัติบัตรกรุงศรีฯเพิ่มทุน 700 ล้าน
ล่าสุด ธนาคารได้ขออนุมัติเพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างธนาคารกับบริษัท จีอี แคป-ปิตอล จำกัด จำนวน 700 ล้านบาท
แบ่งเป็นเงินลงทุนของธนาคาร 350 ล้านบาท และพันธมิตรอีก 350 ล้านบาท ส่งผลให้ทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจาก
400 ล้านบาทเป็น 1,100 ล้านบาท เพื่อรองรับแผนการดำเนินงานในอนาคตซึ่งบริษัทมีนโยบายขยายธุรกิจสินเชื่อบุคคล