Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 เมษายน 2547
ไทยออยล์เล็งเข้าตลาดหุ้นหาทุนหมื่นล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ ธนาคารทหารไทย
โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ไทยออยล์, บมจ.
ปตท., บมจ.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ธนาคารทหารไทย
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
ไทยพาราไซลีน
ไทยลู้บเบส, บมจ.
ปิติ ยิ้มประเสริฐ
Energy




ไทยออยล์เล็งระดมทุนในตลาดหุ้น 1.18 หมื่นล้านบาท โดยจะยื่นไฟลิ่งก่อน 5 ก.ย. หวังรับสิทธิด้านภาษี และจะกระจายหุ้นในช่วงต.ค.-พ.ย.47 หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวจะเลื่อน ไปปีหน้า โดยเงินจากการระดมทุนจะนำไปขยายหน่วยกลั่นอีก 5 หมื่นบาร์เรล โรงไฟฟ้าไอพีพี และเพิ่มกำลังการผลิตของไทยพาราไซลีน ตั้งเป้าปีนี้มีกำไรสุทธิไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท มาจากการดำเนินงานทั้งหมด ผลพวงจากค่า การกลั่นสูง และราคาน้ำมันพุ่ง

นายปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการอำนวยการ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด เปิดเผยความคืบหน้า การนำบริษัทฯเข้าระดมทุนในตลาด หลักทรัพย์ฯว่า บริษัทฯมีแผนจะยื่นแบบกระจายหุ้น (ไฟลิ่ง) เพื่อขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯก่อนวันที่ 5 กันยายน 2547 เพื่อจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยจะกระจายขายหุ้นให้ประชาชน ได้ประมาณเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนนี้ หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวก็จะเลื่อนการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯไปเป็นต้นปีหน้า คาดว่าจะได้เงินระดมทุนประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 11,850 ล้านบาท

สำหรับหุ้นที่จะนำมากระจาย ให้กับนักลงทุนจะเป็นทั้งหุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่และหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม โดยรายละเอียดอยู่ระหว่างการศึกษา ส่วนการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นนั้นกำลังพิจารณา ซึ่งเงินที่ระดมทุนได้บริษัทจะนำไปใช้ลงทุนในส่วนขยายหน่วยกลั่นน้ำมันอีก 5 หมื่นบาร์เรล ใช้เงิน 60 ล้านเหรียญ โรงไฟฟ้าไอพีพีขนาด 700 เมกะวัตต์จำนวน 2 ยูนิต ส่วนขยายกำลังการผลิตของไทยพาราไซลีนอีก 1 แสนตัน ใช้เงินประมาณ 50 ล้านเหรียญ และซื้อเรือขนส่งปิโตรเคมีเพิ่มเติม จากปัจจุบันที่มีอยู่ 7 ลำ มีระวางความจุ 3 หมื่นเดตเวตตัน

แผนการลงทุนในโรงไฟฟ้าไอพีพีดังกล่าว บริษัทฯมีที่ดินพร้อมรองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้า รวมทั้งมีท่อก๊าซ น้ำ และสายส่งพร้อมแล้ว คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี ก็จะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งแต่ละโรงจะใช้เงินลงทุนเพียง 360-400 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น เพียงแต่ต้องเจรจาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก่อน เชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา เพราะโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะมีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำมาก กล่าวคือต่ำกว่า 1.70 บาทต่อยูนิต

นายปิติกล่าวถึงผลการดำเนินงานในปี 2547 ว่า บริษัทฯตั้งเป้ากำไรสุทธิในปีนี้ไม่ต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรจากการดำเนินงาน โดยไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน สูงขึ้นจาก ปีก่อนที่มีกำไร 6,700 ล้านบาท แบ่งเป็นกำไรจาก การดำเนินงานจริง 3,000 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 3,700 ล้านบาท เนื่องจากไทยออยล์มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 230,000 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 105% ของกำลังการผลิตรวม และค่าการกลั่นตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 3-5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สืบเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันในจีน รัสเซีย และอินเดียเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การผลิตไม่เพียงพอ ทำให้แนวโน้มราคาน้ำมัน ในตลาดโลกไม่มีทีท่าจะปรับตัวลง

ส่วนแผนงานการร่วมดำเนินการผลิตกับบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด และบริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ขณะนี้ปตท. ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ถือหุ้นญี่ปุ่น คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ โดยเฉพาะไทยพาราไซลีน อาจจะใช้วิธีแลกหุ้น (สว็อปหุ้น) ระหว่างหุ้นไทยพาราไซลีน กับหุ้นไทยออยล์ แทนการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งในหลักการแล้วทางผู้ถือหุ้นญี่ปุ่นเห็นชอบด้วย ทำให้ญี่ปุ่นเข้ามาถือหุ้นไทยออยล์ไม่เกิน 3%

"การเจรจากับบริษัทในเครือฯเราอยากให้ จบภายในเดือนกันยายนนี้ แต่ถ้าไม่จบ ก็ไม่เป็น อุปสรรคในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยโครงสร้างการถือหุ้นไทยออยล์หลังเข้าตลาดนั้น ปตท.จะถือหุ้นเพียง 38-39%จากเดิม 49.9%Ž" นายปิติกล่าว

เซ็นสัญญาเงินกู้ใหม่

วานนี้ (19 เม.ย.) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด ได้ลงนามสัญญาเงินกู้ใหม่ (Refinancing Laon Facilities Agreements) ทำให้บริษัทปลดภาระผูกพันและหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ได้ทั้งหมดทำให้บริษัทสามารถขยายการลงทุนในโครงการต่างๆได้ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากเจ้าหนี้เงินกู้ต่างประเทศที่ยอมรับแผนรีไฟแนนซ์ ถึง 97% รวมทั้งเจ้าหนี้ธนาคารไทย 6 ราย คือ ธนาคารกรุงเทพ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้ร่วมปล่อยสินเชื่อใหม่ในลักษณะ Corporate Finance ให้บริษัทนำไปรีไฟแนนซ์ เงินกู้สกุลเงินบาทจำนวน 14,000 ล้านบาท

โดยเจ้าหนี้ธนาคารไทยแปลงเงินกู้บาทครึ่งหนึ่งเป็นดอลลาร์สอดคล้องกับโครงสร้างรายได้ของบริษัท ส่วนเงินกู้บาทที่เหลือจะมีอัตราดอกเบี้ยถูกลง จากเดิมอิง MLR เป็นอิงอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทำให้ลดดอกเบี้ยจ่ายรวม 50 ล้านเหรียญ รวมทั้งซื้อลดหนี้จำนวน 200 ล้านเหรียญในราคา 96% และอายุเงินกู้ลดลง 4 ปี จากเงื่อนไขครบกำหนดชำระคืนงวดสุดท้ายเป็นปี 2553 สอดคล้องความสามารถในการชำระหนี้

นายปิติ กล่าวว่า ภายหลังจากไทยออยล์ลงนามสัญญาเงินกู้ใหม่นี้ ทำให้ภาระหนี้ลดลงจากเดิม 1,040 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือเพียง 830 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราหนี้สินต่อทุนจากเดิม 1.3 เท่า ลดลงเหลือ 1 เท่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us