อดิศร เสริมชัยวงศ์ เข้ามาทำงานในบลจ.บีโอเอ ไม่กี่เดือนก็ได้รับความไว้วางใจในการเป็นผู้นำ
เขาจึงใช้โอกาสนี้สร้างองค์กรให้เติบใหญ่
ทันที ที่ธนาคารเอเชียเข้าถือหุ้นเต็ม 100% ในบลจ.ไทยเอเชียเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บลจ.บีโอเอ รวมไปถึงการปรับองค์กรใหม่ และผู้บริหาร เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารธุรกิจของธนาคาร และ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมในไทย
นิคิล ศรีนิวาสัน เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอคนแรกของบลจ.
บีโอเอ หลักเกิดการเปลี่ยนแปลง ครั้งนั้น เขากล่าวถึงการปรับองค์กรใหม่ (re-
organised) ว่ามีเป้าหมาย คือ ทำให้ใหญ่ขึ้น และดีขึ้น
อย่างไรก็ดี นิคิลทราบดีว่าเป้าหมายดังกล่าวเป็นเรื่อง ที่ไม่ใช่ง่ายๆ "It's
not an easy job"เป็นคำพูดของเขา ซึ่งเอ่ยออกมาหลายครั้งในการสนทนากับ
"ผู้จัดการ" ช่วง ที่เขาเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ
ภารกิจของนิคิลยังไม่บรรลุเป้าหมายสมบูรณ์เขาตัดสินใจลาออกไปทำธุรกิจส่วนตัว
ดังนั้น ภาระการดำเนินงาน ของบลจ.บีโอเอ จึงตกเป็นของซีอีโอคนใหม่ อดิศร เสริมชัยวงศ์
อดิศรจบปริญญาตรีด้านวิศว-กรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้น เข้าศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ
(เอ็มบีเอ) ที่สถาบันศศินทร์
อดิศรเริ่มทำงานเมื่อปี 2533 ที่บี.กริม เอ็นจิเนียริ่ง ซิสเต็มส์ ในตำแหน่ง
วิศวกรโครงการทำงานได้เพียง 1 ปี ย้าย ไปทำงาน ที่ธนบุรี ออโต้โมทิฟ แอสแซม
บลี แพลน ในตำแหน่งนักวิเคราะห์การเงิน ซึ่งอยู่เพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น
จากนั้น เขาเดินทางไปทำงานให้กับรัฐบาลสิงคโปร์ (Government of Singapore
Investment Corporation) ตำแหน่งผู้จัดการกองทุนอาวุโสดูแลการ ลงทุนในแถบเอเชีย
และทำงาน ที่นั่นถึง 6 ปี
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาอดิศรมาร่วมงานกับบลจ.บีโอเอในฐานะหัวหน้าฝ่ายการลงทุน
และในเดือน กรกฎาคมเขาถูกเลือกให้เป็นหัวหน้า เจ้าหน้าที่บริหารแทนนิคิล
"เป้าหมายการดำเนินงานของเรา ตั้งแต่ผมมารับตำแหน่งนั้น ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเป้า ที่ตั้งไว้
คือ ต้อง การเป็น asset managementที่ดีที่สุด ในอุตสาหกรรมนี้" อดิศรยืนยัน
เป้าหมายหลักในปัจจุบัน คือ การให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า การนำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่ตรงความต้องการที่ให้ประโยชน์ต่อการออมเงิน
"เราจะทำให้กองทุนรวมเป็นทางเลือกนอกจาก การนำเงินไปฝากธนาคารหรือลงทุนในตลาดหุ้นเอง"
ในเรื่องของการลงทุน บลจ.บีโอเอพยายาม ที่จะนำสิ่งที่ได้เปรียบคู่แข่งขัน
นั่นคือ ทีมงาน ที่มีประสบการณ์เข้ามาดูแลการลงทุน และจะใช้เจ้าหน้าที่ จากเอบีเอ็น
แอมโร แอสเซท แมเนจ เมนท์ แห่งเนเธอร์แลนด์ มาช่วยให้คำแนะนำการดำเนินงาน
"นี่คือ เป้าหมายแรก ที่เราจะดำเนินการ คือ ทำอย่างไร ที่จะให้บริการ
แก่ลูกค้าดีที่สุดทั้งสองด้าน" อดิศรบอก หลังจากนั้น เขาจึงจะหันไปมองเรื่องการเจริญเติบโต
"ว่าทำอย่างไร ที่บริษัทจะใหญ่ขึ้นมา มีกำไร ที่ใหญ่ขึ้นมา ตรงนี้จะเป็นเป้าหมายระยะยาว"
ปัจจัย ที่จะทำให้บริษัทเติบใหญ่จะต้องมีขนาดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารใหญ่ขึ้น
เพราะในขณะนี้บลจ. บีโอเอมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 9,500 ล้านบาทถือได้ว่าเป็นกองทุนรวมขนาดเล็ก
"แต่ความเล็กก็เอื้อประโยชน์ให้เราเติบโตได้รวดเร็ว เมื่อตอนต้นปีเราบริหารสินทรัพย์อยู่ประมาณ
4,000 ล้าน บาท" อดิศรกล่าว
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักลงทุนกำลัง หวั่นวิตกต่อสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลต่อ
การตัดสินใจในการเข้ามาลงทุน ส่วนใหญ่ มีความสุขกับการฝากเงินไว้กับธนาคาร
แม้ว่าผลตอบแทนจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการลงทุนผ่านกองทุนรวม
ดังนั้น สิ่งที่บรรดากองทุนรวมมองข้ามไม่ได้ คือ กระตุ้นนักลงทุนให้เชื่อมั่นต่อการลงทุน
ซึ่งแนวทาง ที่กอง ทุนรวมตั้งใจดำเนินการคือ ตั้งใจให้ความ รู้ ความเข้าใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในเรื่องการออมเงินกับทางเลือก ที่มีอยู่
รวมไปถึงความเสี่ยง ที่แตกต่างกันออกไป
"เราไม่อยากขายของให้นักลงทุน โดยที่เขาไม่มีความเข้าใจ ไม่อยากเดินไปหาเขาแล้วเอา
return ไปให้ดู โดยที่ไม่บอกถึงความเสี่ยง ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนนั้น ๆ"
อดิศรบอก
ในอดีต ที่ผ่านมาปัญหามักจะเป็นดัง ที่อดิศรบอกไว้ แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไป
ถ้าไม่ทำความเข้าใจให้ชัดเจนแล้วจะเสียโอกาสในเชิงธุรกิจ เนื่องจากตลาดกองทุนรวมยังจะขยายตัวไปได้อีกมาก
สังเกตได้จากเม็ดเงิน ที่เข้ามาลงทุนผ่านกองทุนรวมมีประมาณ 1 แสน ล้านบาทเมื่อเทียบกับเงินฝากในระบบ ที่มีสูงถึงประมาณ
5 ล้านล้านบาท หากดูประเทศ ที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกาสัดส่วนตลาดกองทุนรวมมีขนาดใหญ่เกือบเท่ากับขนาดของเงินฝาก
อีกประเด็นหนึ่ง ที่มองว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับกองทุนรวมในอนาคต คือ การเข้าไปให้ความรู้แก่นักลงทุนเรื่อง
การกระจายความเสี่ยงด้านการลงทุน "ควรจะดูทางเลือกอื่น ที่ให้ผลตอบแทน
ที่สูงกว่านอกจากการฝากเงินในธนาคาร"
สังเกตว่า นักลงทุนยังไม่ค่อยให้ความสนใจดูแลการวางแผนทางการเงิน การวางแผน เพื่ออนาคต
"ประชาชน คนไทยยังไม่มีตรงนี้เท่าไร ยังขาดความตื่นตัวเรื่องนี้ค่อนข้างมาก"
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของการลงทุนด้วยว่าเหมาะสมกับนักลงทุนหรือไม่
"เราจะไม่เข้าไปบอกเขาว่าจะทำอะไรกับชีวิต เพียงแต่แจงให้รู้ว่ายังมีทางเลือกอื่นๆ
ที่เหมาะสมกับนักลงทุน อยากกระตุ้นให้เขาหันมาดูว่าทางเลือกแบบใด ความเสี่ยงระดับไหน ที่เหมาะสมต่อรายได้
สภาพครอบครัว และเป้าหมายในชีวิตของแต่ละคน"
สำหรับตัวกองทุนรวมเองก็จำเป็นต้องหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาเสนอให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งตั้งแต่ต้นปีมานี้บลจ.บีโอเอ ออกกองทุนไปแล้ว 4 กองทุน คือ กองทุน เปิดเอบีเอ็น
แอมโร มิเลนเนียม โกรว์ธ เน้นลงทุนในตราสารทุนเป็นหลัก กองทุน เปิดเอบีเอ็น
แอมโร มิเลนเนียม แอดวานเทจ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ กองทุน เปิดสถาบันเอบีเอ็น
เทรเซอรี อินคัม กองทุนตราสารหนี้สำหรับลูกค้านิติบุคคล และกองทุนเปิดเอบีเอ็น
แอมโร ทรัพย์มั่นคง ตราสารหนี้ เน้นลงทุนตรา สารหนี้มีความเสี่ยงต่ำ
"เราได้เงินมาแล้ว 2,500 ล้านบาท และยังไม่มีแผนออกกองทุนใหม่เพิ่ม
เพราะไม่มีความจำเป็น และตลาดยังไม่หลากหลายอะไรมาก แต่จะพยายามนำกองทุน ที่ออกไปแล้วขายให้กับนักลงทุนมากขึ้น"
อดิศรกล่าว
มีคำถามว่าสภาพแบบนี้เหมาะสม ที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นหรือไม่ เนื่องจากมีปัจจัยทางการเมือง
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่ชัดเจน รวมไปถึงเศรษฐกิจในต่างประเทศ ราคาน้ำมัน ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง
"ถึงแม้ว่าจะเป็นจุดที่น่าลงทุน แต่การแกว่งตัว ความผันผวนในช่วงสั้นๆ
ยังมีอยู่สูง เราจะไม่แนะนำการลงทุนกับนักลงทุน ที่ไม่ชอบความเสี่ยง แต่ก็มีบางกลุ่ม ที่มีความรู้ในเรื่องตลาดการเงินดี ที่กล้าเข้ามายอมรับความเสี่ยงตรงนี้
กล้ามองในระยะยาวมากขึ้น" อดิศรอธิบาย
นักลงทุนกลุ่มหลังจะมองคล้ายๆ อดิศรเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่ว่าภายใน
12 เดือนข้างหน้าการฟื้นตัวน่าจะชัดเจนมากขึ้น การชะลอตัวขณะนี้เป็นการชะลอตัวในช่วงสั้นๆ
"ในปี 2544 และ 2545 น่าจะฟื้น ตัวอีกครั้งหลังจากนั้น ก็จะการฟื้นตัวแบบยั่งยืน และมั่นคง
นี่คือ ภาพ ที่เรา มองไว้ในอนาคต"
หุ้นกลุ่ม ที่อดิศรสนใจเข้าไปลงทุน คือ กลุ่มพลังงาน เนื่องจาก "ราคาถูกเมื่อ
เทียบกับธุรกิจของเขาเอง" ไม่ว่าจะเป็นกระแสเงินสด หรือราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี
"โดยเฉพาะช่วงตลาดผันผวน หุ้นกลุ่มนี้จะเป็นตัว ที่ balance ให้พอร์ต
ไม่ผันผวนมาก"
นอกจากนี้เขายังชอบหุ้นกลุ่มสื่อสาร "เรามองเห็นศักยภาพชัดเจนอยู่แล้วว่ามี
demand แม้ว่าทุกคนจะบ่นว่า เศรษฐกิจแย่ แต่ยอดขายมือถือพุ่งสูงมาก"
ส่วนนักลงทุน ที่กลัวความเสี่ยง อดิศรแนะนำว่าช่วงนี้ "ไม่ค่อยเหมาะสม
มากนัก ที่จะเข้าไปผลักดันให้เข้าไปลงทุน เวลา ที่เหมาะสมควรจะเป็นช่วง ที่มีนโยบายทางเศรษฐกิจ ที่ชัดเจนจากรัฐบาลใหม่"
ด้านกองทุนตราสารหนี้ เพื่อ กระตุ้นตลาดให้กว้างขึ้น บลจ.บีโอเอพุ่งเป้าไปยังนักลงทุน ที่เกษียณอายุไปแล้ว
โดยจะเน้นการลงทุนตราสารหนี้ ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ที่มีอายุไม่ยาวนัก
หรือหุ้นกู้เอกชน ที่มีอายุสั้นๆ
สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แม้ว่าบลจ.บีโอเอจะไม่ค่อยเน้นเท่าไร แต่ปัจจุบันก็มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร
แล้วกว่า 500 ล้านบาท
"เรามองเห็นศักยภาพกองทุนนี้จะต้องโตขึ้นอีกมาก เพราะเป็นวิธีการออมวิธีหนึ่ง
เข้าใจว่ารัฐบาลจะเข้ามากำหนดสัดส่วนการออมตรงนี้มากขึ้นในเร็วๆ นี้ อาจจะถึงขั้นบังคับเหมือนต่างประเทศ"
อดิศรกล่าว
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกองทุน สำรองเลี้ยงชีพจะเติบโตได้ขึ้นอยู่กับระดับราคา ที่นักลงทุนยอมรับได้
"ถ้าลูกค้ายอมรับระดับราคา ที่คุ้มทุน และเป็นจุดที่ทำให้เราเสนอบริการที่มีคุณภาพ
ได้จึงจะเริ่มบุกตลาดจริงจัง"
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงการลงทุน ที่จะต้องเปิดกว้างมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบัน ที่กำหนดไว้ 60% จะต้องลงทุนในตราสาร ที่ไม่มีความเสี่ยง
"ถ้าเอากฎนี้ออกไปแล้วเปิดเสรีมากขึ้นก็จะเห็นชัดเจนว่าผู้จัดการกองทุนไหนมีความสามารถในการบริหารการลงทุน
ถ้ามองย้อนหลังไปจะเห็นว่าช่วงเกิดวิกฤติจะเห็นถึงความสูญเสียเงินลงทุนจากผู้บริหาร ที่ไม่มีคุณภาพ"
อดิศรบอก
ส่วนกองทุนส่วนบุคคล อดิศรบอกว่าการลงทุนจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า
คงดูเป็นกรณีไป "เราไม่ได้บุกเต็มที่ถ้าเทียบกับส่วนอื่นแต่พร้อม ที่จะทำ"
อีกทั้งยังพร้อม ที่จะนำเงินลงทุน ไปลงทุนต่างประเทศถ้าหากทางการอนุญาต "ถ้าเขาเปิดเมื่อไรเราพร้อมทันที
เพราะสามารถใช้เครือข่ายเอบีเอ็น แอม โรทั่วโลกได้ เราได้เปรียบคู่แข่งตรงนี้"
การดำเนินการต่างๆ ของบลจ. ภายใต้การบริหารของอดิศร มีจุดมุ่งหมาย ที่จะเน้นการเสนอกองทุน ที่สนองความต้องการของลูกค้าได้ดีที่สุด และให้
บริการที่ดีที่สุด "เราเชื่อว่าถ้าทำได้จะสามารถเติบโตเป็นบริษัทอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมกองทุนรวมได้ในไม่ช้า"