Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 เมษายน 2547
แบงก์ไตรมาส 1 กำไรพุ่ง 64 % อานิสงส์ไถ่ถอนสลิป - แคปส์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Banking




คาดผลประกอบการของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย 13 แห่งไตรมาสแรกปีนี้ จะขยายตัวร้อยละ 25.71 ขณะที่กำไรพุ่ง 64% ตามปัจจัยการเติบโตของสินเชื่อ การไถ่ถอนสลิปและแคปส์ของธนาคารขนาด ใหญ่

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์ผลประกอบการของระบบธนาคารไทยทั้ง 13 แห่ง ประจำไตรมาสแรกของปี 2547 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน คาดว่า กลุ่มธนาคารไทยจะสามารถบันทึกกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (ก่อนสำรอง) ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 25.71 %มาที่ประมาณ 25,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน กำไรสุทธิของระบบธนาคารน่าจะขยายตัว 64.09 % มาที่ประมาณ 21,000 ล้านบาท ตามปัจจัยหนุนจากการเติบ โตของสินเชื่อ การไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนของ 3 ธนาคารขนาดใหญ่ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการทำสำรองที่ชะลอตัวลง

ทั้งนี้ แม้ว่าความต้องการสินเชื่อในไตรมาสแรกปี 2547 จะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไข้หวัดนก สถานการณ์ความไม่ สงบในภาคใต้ของไทย ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น การออกมาตรการเพื่อควบคุมหนี้ภาคครัวเรือนจากทางการ และมาตรการลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่หมดลงในช่วงสิ้น ปี2546 แต่คาดว่าสินเชื่อของระบบธนาคารไทย คงจะสามารถบันทึกอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกได้ประมาณ 0.7% จากสิ้นไตรมาสก่อน โดยน่าจะเห็นตัวเลขเอ็นพีแอลที่ปรับตัว ลดลง ตามความคืบหน้าในการปรับโครงสร้าง หนี้

นอกจากนี้ ในฝั่งรายจ่ายดอกเบี้ยนั้น การไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (SLIPS/CAPS) ของ 3 ธนาคารขนาดใหญ่ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนมีนาคม 2547 ยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยให้กับระบบธนาคารได้อีกประมาณ 8,900 ล้านบาท ต่อปี แม้ว่าสภาพคล่องจากการไถ่ถอนตราสาร ดังกล่าวบางส่วน จะมีผลทำให้เงินฝากของระบบธนาคารไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการเพิ่มของสินเชื่อก็ตาม

สำหรับอนาคตของผลประกอบการและทิศทางของธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การไถ่ถอนตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนสำหรับอีก 2 ธนาคารที่เหลือ ยังจะเป็น ปัจจัยบวกต่อแนวโน้มการทำกำไรของระบบธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ เมื่อทางการสามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้หวัดนก และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ได้ ความต้องการสินเชื่อโดยเฉพาะจากลูกค้าขนาดใหญ่ น่าจะกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ในครึ่งหลังของปี

ในปี 2547 การเติบโตสินเชื่อขนาดใหญ่น่าจะมีบทบาทมากกว่าสินเชื่อรายย่อย เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากทิศทางการลงทุนในขาขึ้น ขณะที่วัฏจักรการบริโภคของภาคเอกชนเริ่มเข้าสู่จุดอิ่มตัว ประกอบกับเผชิญข้อจำกัดจากมาตรการควบคุมการก่อให้ภาคครัวเรือนของทางการ ซึ่งอาจมีผลให้การเติบ โตของสินเชื่อรายย่อยไม่สดใสเช่นในปีก่อนหน้า แต่ทั้งนี้ ภาวะสภาพคล่องส่วนเกินอาจทำให้ภาวะการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้ายังคงรุนแรง และอาจนำมาสู่การตัดราคาเพื่อช่วงชิงลูกค้ารายใหญ่ ซึ่งจะลดทอนโอกาสการเพิ่มรายได้ดอกเบี้ยจากการขยายฐานสินเชื่อของกลุ่มลูกค้าประเภทดังกล่าวได้

สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงมองว่าปริมาณสภาพคล่องส่วนเกินที่ยังมีระดับสูงถึงประมาณ 650,000 ล้านบาท น่าจะเพียงพอที่จะรองรับความต้อง การใช้เงินจากระบบเศรษฐกิจและความต้อง การสินเชื่อภาคเอกชนได้ตลอดปี 2547 โดยไม่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ อันจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างดอกเบี้ยในภาพรวมได้

ทั้งนี้ ในช่วงระหว่างปี 2547 กระแสข่าว การควบรวมและปรับรูปแบบกิจการของสถาบันการเงิน อาจนำมาสู่การเคลื่อนย้ายเงิน ฝากระหว่างสถาบันการเงินได้ ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก ของปี 2547 นั้น น่าจะช่วยเพิ่มฐานความแข็ง แกร่ง ของเงินทุน เพื่อนำไปสู่การเร่งขยายขอบ เขตธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก หากมีการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us