Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
Gift & Toy Design Award 2001             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 





หลากหลายจินตนาการของดีไซเนอร์ จากการเข้าร่วมประกวดออกแบบของขวัญของชำร่วย(Gift Design Award 2001) และการออกแบบของเล่น (Big Toys Design Award 2001) ในงาน BIG 2001

กรมส่งเสริมการส่งออกได้ตั้งโจทย์สำหรับการประกวดออกแบบของขวัญในปีนี้ไว้ว่า เป็นของใช้บนโต๊ะอาหาร ส่วนโจทย์ของการออกแบบของเล่นก็คือ เป็นของเล่นเพื่อการศึกษาทำด้วยไม้และพลาสติก สำหรับเด็ก ตั้งแต่ 8 เดือน-8 ปีผลการออกแบบของขวัญของชำร่วย รางวัลที่ 1 ได้แก่ อนุรักษ์ สุชาติ ผลงาน "Hemoglobin Set" เป็นเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ที่อนุรักษ์ได้แนวคิดมา จากลักษณะของเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีลักษณะเป็นOrganic Form ที่น่าสนใจ และได้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นมารางวัลที่ 2 ได้แก่ อานนท์ ไพจิตร ผลงาน "Kook-Kuu" ด้วยเหตุที่ไข่เป็น อาหารเช้าที่ทุกคนรู้จัก จึงได้มีแนวความคิดที่จะออกแบบที่เสิร์ฟไข่ที่ดูน่ารับประทานตั้งโต๊ะในตอนเช้า แรง บันดาลใจของเขาก็คือ รูปทรงของตัวไก่นั่นเอง

ผลการออกแบบของเล่น รางวัลที่ 1 ได้แก่ ณิศรา ลิมปตวัฒน์ ผลงาน "Tube Ball" เป็นของเล่นเด็กเล็ก อายุประมาณ 7-8 ปี เน้นทักษะของการใช้มือและตา การสังเกต การจัดระบบเวลา และการฝึกฝนภาษาอังกฤษ ณิศราได้แรงบันดาลใจมาจากแคปซูลและการเปิดเกลียวของฝาขวดน้ำ จึงเป็นของเล่น ลักษณะบิด เพื่อให้ของเล่นไหลลงรู

รางวัลที่ 2 ได้แก่ กฤษณ์ พฤฒิพิมพ์ ผลงาน "D.J. Loopy" เป็นของเล่นสำหรับเด็กที่พิการทางสายตา อายุประมาณ 5-8 ปี เพื่อฝึกทักษะทางประสาทสัมผัส แนวความคิดมา จากลักษณะของการเกิดคลื่นเสียง

รางวัลที่ 3 ได้แก่ ศุภพงษ์ สอน สังข์ ผลงาน "Think Plant"เป็นชุดที่เสียบ cocktail มีลักษณะคล้ายต้นไม้หรือกิ่งเล็กๆ ที่ทำมาจากพลาสติก ใช้เป็นส้อมขนาดจิ๋ว ที่สามารถใช้ได้ทั้ง 2 ด้าน

รางวัลที่ 3 ได้แก่ วีรศักดิ์ เที่ยงแท้ ผลงาน "Cap-sule"เป็นการสร้างรูปแบบของเล่นที่รวม 2 แนว ทางไว้ด้วยกัน คือ การพัฒนาทางด้านร่างกายและการใช้ชีวิตสร้างสรรค์ ของเล่นชิ้นนี้ดึงดูดเด็ก ด้วยรูปทรงที่ง่ายต่อการเคลื่อนไหว

ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ 1,2,3 จะได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท 20,000 บาท และ 10,000 บาท ตามลำดับ แม้จะเป็นเงินไม่มากนัก แต่ก็เป็นกำลังใจ สำคัญของคลื่นลูกใหม่กลุ่มนี้ในการที่จะคิดงานสร้างสรรค์ต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us