เหมราชฯเตรียมขยายพื้นที่อุตฯ 2 แห่งรองรับอานิสงส์ต่างชาติขยายฐานการลงทุน เผยไตรมาสแรกขายพื้นที่แล้ว
175 ไร่ พร้อมพัฒนาพื้นที่เช่า SME อีกกว่า 60% ส่วนธุรกิจภาคอสังหาฯที่เพิ่งส่งชิมลางตลาดมียอดจองแล้ว
กว่า 55 ยูนิต หวังรายได้ส่วนนี้แตะ 25% ของเป้าปี 47 ที่ตั้งไว้ 3,000 ล้านบาท
ส่วนปีหน้ารายได้ Residential ขยับเป็น 40-45% ของรายได้รวม 5,000 ล้านบาท
ปรับราคาที่ดินนิคมฯอีก 5%
มร.เดวิด ริชาร์ด นาโดน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน)
เปิดเผยว่า ในปี 2547 บริษัทตั้งเป้ารายได้จากการดำเนิน งานธุรกิจหลักประมาณ 3,000
ล้านบาท โตขึ้นจาก ปี 46 ที่ผ่านมาที่มีรายได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายได้จากการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม
55% รวมถึงระบบสาธารณูปโภคภายในนิคมอุตสาหกรรม โรงงานสำเร็จรูปทั้งในรูปของการให้เช่า-ขาย
และระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ 20%รวมถึงในส่วนของการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์อีก 25%
ทั้งนี้ รายได้จากการดำเนินการในไตรมาสแรก บริษัทได้ขายพื้นที่พัฒนาแล้วจำนวน
175 ไร่ ซึ่งลูกค้าของบริษัทส่วนใหญ่เป็นบริษัทปิโตรเคมี และบริษัทญี่ปุ่นที่ย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรม
รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์มายังประเทศไทย รวมแล้วมีลูกค้าใหม่ 7 ราย และอยู่ระหว่างการเซ็นสัญญาอีก
16 ราย
นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนงานการพัฒนาขยายพื้นที่ขายในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีก
2 แห่ง คือ ในนิคมอุตสาหกรรมชลบุรี(บ่อวิน) เฟส 2 จำนวน 270 ไร่ ซึ่งยังคงเหลือพื้นที่สำหรับการ
พัฒนาอีกประมาณ 400 ไร่ รวมพื้นที่โครงการทั้ง สิ้น 5,000 ไร่, นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด
(ระยอง)เฟส 5 ขยายจำนวน 900 ไร่ ซึ่งยังมีเหลือพื้นที่สำหรับการพัฒนามากกว่า 2,000
ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 8,250 ไร่และนิคมอุตสาหกรรม ตะวันออก (มาบตาพุด)ที่ยังไม่มีแผนการขยายพื้นที่ขายแต่เหลือพื้นที่สำหรับการพัฒนาประมาณ
450 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมด 2,500 ไร่ ทั้งนี้คาดว่าในอนาคตราคาที่ดินอาจมีการปรับราคาขึ้นอีก
5%
สำหรับพื้นที่ให้เช่าในส่วนโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) มีการพัฒนาพื้นที่ส่วนนี้เพิ่มขึ้นกว่า
60% จากเดิมที่มีอยู่ 400-500 ไร่ ส่วนการพัฒนาพื้นที่เพื่อขายมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ
20% คาดว่าผลกระ-ทบจากภาวะปัจจัยต่างๆ ทำให้ราคาก่อสร้างเพิ่ม ขึ้นอีก 2-2.5% ทั้งนี้
การออกแบบจะเน้นประโยชน์ในพื้นที่ใช้สอยมากที่สุดและสามารถใช้งาน ได้ในระยะยาวเพื่อชดเชยส่วนของต้นทุนที่มีเพิ่มขึ้นมา
ขณะนี้ในนิคมฯทั้ง 3 แห่งมีโรงงานทั้งสิ้นรวม 214 โรง แบ่งเป็นอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
จำนวน 85 ราย, อุตสาหกรรมปิโตรเคมี จำนวน 34 ราย, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 17
ราย, สินค้าอุปโภคและบริโภค 25 ราย, อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง 14 ราย , อุตสาหกรรมเหล็ก
และชิ้นส่วนโลหะ 16 ราย , อุตสาหกรรมขนส่ง 6 รายและอื่นๆ 17 ราย
ส่วนภาพรวมตลาดนิคมฯในไตรมาสที่สอง มร.นาโดนกล่าวถึงภาพรวมว่าตลาดจะโตขึ้นอีก
เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในขณะนี้มีความแข็งแกร่งขึ้น คาดว่าบริษัทจะมีรายได้จากการพัฒนาพื้นที่โตขึ้น
20% และรายได้จากสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นอีก 20% ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้
คอนโดมิเนียมสร้างรายได้
ปัจจุบันบมจ.เหมราชพัฒนาที่ดินได้ขยายการดำเนินธุรกิจไปสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เนื่องจากมองเห็นโอกาสการขยายรายได้ให้กับบริษัทในขณะที่ตลาดอสังหาฯมีอัตราการโตเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการพัฒนานิคมฯ
อีกทั้งเป็น การเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นและเป็นการกระจาย ความเสี่ยงด้วยอีกทางหนึ่ง
ส่วนโครงการที่ส่งประเดิมตลาดเป็นโครง การแรกคือ เดอะพาร์ค ชิดลม ลักษณะเป็นโครงการคอนโดฯหรูตั้งอยู่ย่านถนนชิดลม
ถนนสายธุรกิจหลัก โดยจับกลุ่มลูกค้าระดับบนเป็นหลัก ทั้งนี้ตัวโครงการพัฒนาขึ้นบนพื้นที่ทั้งหมด
5.5 ไร่ จำนวน 2 อาคาร มูลค่าโครงการรวม 5,000 ล้านบาท ราคาขายประมาณ 94,000-100,000
บาทต่อตารางเมตร ซึ่งขณะนี้มียอดจองแล้ว 25% หรือ 55 ยูนิต จากการเปิดตัวประมาณ
1 เดือนกว่า แบ่งเป็นลูกค้าชาวไทย 60%และชาวต่าง ชาติ 40% ซึ่งลูกค้าชาวไทยจะซื้อไว้เพื่ออาศัยเองประมาณ
2 ใน 3 นอกจากนั้นเป็นการลงทุนให้เช่า โครงการนี้คาดว่าจะสามารถปิดการขายประมาณไตรมาสที่สองของปี
2549
โครงการ เดอะพาร์ค ชิดลม มีการวางแผน ดำเนินการก่อสร้างเมื่อต้นปี 2546 โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกรุงไทย
จำนวน 1,800 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโครง การโดยบริษัท ซิโน-ไทย แอนด์ คอนสตรัคชั่น
จำกัด (มหาชน) คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลาง ปี 2549
สำหรับปี 2547 บริษัทตั้งเป้ารายได้ในส่วน ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ 25% จากยอดรวมทั้งหมดของบริษัทปีนี้
3,000 ล้านบาท ส่วนปี 2548 นั้น รายได้ในส่วน Residential น่าจะอยู่ที่ 40-45%
ของรายได้รวมของบริษัทที่คาดว่าจะมีทั้งหมด 5,000 ล้านบาท
"การพัฒนาโครงการบ้านเดี่ยว ยังไม่มีแผน ดำเนินการเนื่องจากการพัฒนาบ้านเดี่ยวจะต้องใช้ที่ดินเป็นจำนวนมากและปัจจุบันในตลาดอสังหาฯมีคู่แข่งอยู่ในตลาดสูง
ซึ่งล้วนแต่เป็นรายใหญ่ที่มีประสบการณ์มานาน บริษัทจึงหันไปเน้นการทำคอนโดฯพักอาศัยจับกลุ่ม
Hi-end มากกว่าเนื่องจากมีคู่แข่งน้อย ส่วนการทำ Ser-vice Apartment นั้นอาจจะมีความเป็นไปได้สูง
ทั้งนี้คงต้องศึกษาความเป็นไปได้ก่อน แต่คงต้อง วางแผนหลังจากโครงการเดอะ พาร์ค
ชิดลมแล้ว เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว" มร.นาโดนกล่าว