Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 เมษายน 2547
ตลท.แขวนป้ายSPหุ้น STHAI สั่งแจงเข้าซื้อ"ไทยฮั้วยางพารา"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ไอเอฟซีที แอดไวเซอรี่
ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง, บมจ.
ไทยฮั้วยางพารา
Chemicals and Plastics




ตลาดหลักทรัพย์ แขวน SP หุ้น STHAI หลังเข้าซื้อกิจการ "ไทยฮั้วยางพารา" เพราะเป็นการใช้เงินจากการเพิ่มทุนที่ผิดวัตถุประสงค์ จึงให้บริษัทแจงรายละเอียดการใช้ เชื่อการเข้าซื้อในกิจการที่ดำเนินธุรกิจเดียวกัน จะทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการดำเนินงาน

รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า การ ที่บริษัท ซันไทยอุตสาหกรรมถุงมือยาง จำกัด (มหาชน) (STHAI) ได้นำส่งงบการเงินประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ฉบับที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีมายังตลาดหลักทรัพย์ และได้แจ้งมติคณะกรรมการเกี่ยวกับการจะเข้าซื้อโรงงานผลิตน้ำยางข้น จากบริษัทไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) (ไทยฮั้วฯ) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ STHAI รายละเอียดปรากฏตามข่าวในระบบ SET SMART วันที่ 15 มีนาคม 7 และ 8 เมษายน 2547

ตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณาแล้วพบว่ามีข้อสังเกตที่สำคัญดังนี้ 1. บริษัทได้จ่ายเงินจำนวน 45 ล้านบาท เป็นเงินล่วงหน้าแก่ไทยฮั้วฯ เพื่อเป็นค่าซื้อวัตถุดิบโดยไม่ได้เปิดเผยรายการ หรือปฏิบัติตามข้อกำหนด ตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการทำรายการ ที่เกี่ยวโยงกัน

2. บริษัทมีการลงทุนระยะสั้นใน หลักทรัพย์เพื่อค้ามูลค่าคงเหลือ 16 ล้านบาท ซึ่งตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างรอให้บริษัทชี้แจงว่า เงินลงทุน ดังกล่าวเป็นเงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิมเมื่อวันที่ 25-29 สิงหาคม 2546 หรือไม่ หากบริษัทใช้เงินจากการเพิ่มทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว จะไม่สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนที่ได้เปิดเผยไว้เมื่อ 25 มิถุนายน 2546

3. บริษัทได้มีการเจรจาจะซื้อโรงงานผลิตน้ำยางข้นจาก ไทยฮั้วฯ มูลค่ารวม 195 ล้านบาท อันอาจก่อให้ เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง STHAI กับ ไทยฮั้วฯ และบริษัทยังไม่สามารถชี้แจงได้อย่างชัดเจนว่าจะแก้ไขความขัดแย้งทางผล ประโยชน์ดังกล่าวอย่างไร ซึ่งอาจทำให้บริษัทไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนได้

เนื่องจากกรณีที่กล่าวข้างต้นอาจ มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ หุ้น และต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของ STHAI อย่างมีนัยสำคัญ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 (7) แห่งข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนเป็นการชั่วคราวลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2538

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงขึ้นเครื่องหมาย SP (Su-spension) เพื่อสั่งห้ามการซื้อขาย หลักทรัพย์ของ STHAI ในตลาด หลักทรัพย์ใหม่เป็นการชั่วคราวโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2547 เป็น ต้นไป จนกว่าบริษัทจะชี้แจงข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน และมีมาตรการที่จะแก้ไขความขัดแย้งทางประโยชน์ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด

ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา STHAI ได้เสนอต่อบอร์ดของ บริษัทและได้รับความเห็นชอบ ขณะที่ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ คือ บริษัท ไอเอฟซีที แอดไวเซอรี จำกัด ให้ความเห็นว่าการซื้อหุ้น ใน ไทยฮั้วยางพารา จะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจของ STHAI เพราะเมื่อซื้อกิจการแล้วบริษัทก็สามารถดำเนินการได้ทันที ทำให้การผลิตมีความต่อเนื่องและการโอนพนักงานและแรงงานก็ทำได้อย่างสะดวกว่าต้อง การทำงานต่อไปหรือลาออก ซึ่งขึ้นอยู่ กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคล

นอกจากนี้ STHAI จะมีฐานลูกค้าเพิ่มจากการโอนลูกค้าของโรงงานมา ซึ่งคาดว่าจะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพราะ แม้ไทยฮั้วยางพารา จะมีโรงงานผลิต น้ำยางข้นอีก 2 โรงที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดกระบี่ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่โรงงานที่จังหวัดอุดรธานีมีกำลังการผลิตน้อยมากเทียบได้ไม่ถึงร้อยละ 5 ของกำลังการผลิตของโรงงานผลิตน้ำยางข้นสาขาบางกล่ำ อีก ทั้งขาดแคลนแหล่งวัตถุดิบ และยังผลิตไม่ได้มาตรฐานของตลาด ไม่สามารถส่งออกได้เหมือนเช่นโรงงาน ผลิตน้ำยางข้นสาขาบางกล่ำ ซึ่งได้รับ ISO 9001 ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อให้ได้รับ ISO 14000

โดยโรงงานผลิตน้ำยางข้นของไทยฮั้วยางพาราในจังหวัดกระบี่ซึ่งอยู่ ระหว่างการก่อสร้างจะมีขนาดกำลังการผลิตในระดับที่ใกล้เคียงกับโรงงาน ผลิตน้ำยางข้นสาขาบางกล่ำ และจะสร้างเสร็จภายในประมาณเดือนพฤศจิกายน 2547 แต่ˆไทยฮั้วยางพารา จะต้องจัดหาบุคลากรใหม่มาดำเนินการผลิต และต้องใช้เวลามาก กว่า 2 ปีกว่าจะผลิตได้ตามมาตรฐานตลาด ซึ่ง จะทำให้ STHAI มีเวลาในการที่จะรักษาฐานลูกค้าได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us