วงการก่อสร้างหวั่น ต้นทุนน้ำมัน-เหล็ก ปัจจัยกระทบอัตราการเติบโตภาคธุรกิจก่อสร้าง
นายกฯ อุตสาหกรรมก่อ สร้างชี้ วิกฤตเหล็กยังไม่คลายปัญหาลง พร้อมผลพวงของต้นทุน
ค่าขนส่งจากราคาน้ำมันเพิ่ม นักวิชาการ-ผู้ประกอบการ ชี้มีผลต่อต้นทุนก่อสร้างอย่างน้อย
10%
นายภูมิสัน โรจน์เลิศจรรยา นายกอุตสาหกรรมก่อสร้างแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ต้นทุนด้าน
ค่าขนส่งอันเนื่องจากการต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวมีผลบ้างในปัจจุบัน ขณะนี้ถือว่าอยู่ในจุดที่สามารถรับได้
ส่วนหนึ่งมาจากรัฐบาลตรึงราคาน้ำมันเอาไว้ แต่หาก ขยับสูงขึ้นกว่านี้จะมีผลกระทบต่อต้นทุนขนส่งไม่มากก็น้อย
"วงการก่อสร้างเริ่มเห็นต้นทุน ของภาคธุรกิจก่อสร้างขยับใน 2 ตัวด้วยกัน
ประกอบด้วย น้ำมัน และการจำกัดน้ำหนักบรรทุก ซึ่งทั้ง 2 ส่วนมีผลต่อต้นทุนการขนส่งต่อตันปรับตัวสูงขึ้น
แต่ประเด็นของการจำกัดน้ำหนักบรรทุกเป็นสิ่งที่ตกลงกันได้แล้ว และไม่เป็นปัญหา
จึงมีประเด็นเรื่องน้ำมันเท่านั้นที่มีผล"
อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการขนส่ง มีตัวแปรอยู่ที่วัสดุที่ระวางด้วยว่า
ตัวอย่างเช่น การบรรทุกดินซึ่งมีมูลค่าไม่สูงนัก จะมีต้นทุนค่าขนส่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับวัสดุกลุ่มเหล็กที่มีมูลค่าสูงเฉลี่ยจะมีต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้น
30-40% เพราะสินค้ามีมูลค่าน้อย ขณะเดียวกัน หากเป็น เหล็กจะมีต้นทุนขนส่งต่ำกว่า
เฉลี่ยประมาณ 1% ของน้ำหนักที่ระวาง เช่น เหล็กเส้นตันละ 20,000 บาทจะมีต้นทุนขนส่ง
ประมาณ 200 บาท เป็นต้น โดยรวมแล้วต้นทุนขนส่งที่ปรับขึ้นจะมีตั้งแต่ 1-100%
นายภูมิสัน กล่าวว่า น้ำหนักบรรทุกเป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วในวงการว่าลงตัว และยอมรับได้
แต่ถ้าหากมีเรื่องต้นทุนน้ำมันเข้ามา น่าจะส่งผลปัญหาต่อธุรกิจก่อสร้างได้ แต่อย่างไรก็ดี
คงจะไม่เทียบเท่ากับปัญหาเหล็กที่ถึงขณะนี้ยังไม่คลี่คลาย ปัจจุบันยังมีต้นทุนที่
22 บาทต่อกิโลกรัม แม้ว่าภาครัฐจะหาทางออกด้วยการให้ผู้ค้าเหล็กรายงานราคาขายเหล็กไปยังกระทรวงฯ
ทุกสัปดาห์ก็ตาม
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ เตรียมจะประกาศราคากลางสำหรับเหล็กเส้น
เพื่อเป็นมาตรฐานราคาสำหรับใช้อ้าง อิงของผู้บริโภค หากราคาจำหน่ายของผู้ประกอบ
การที่ออกมาในแต่ละเดือนสูงกว่าราคากลางที่กำหนดไว้ ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้
ด้านผศ.อัศวิช พิชญโยธิน อาจารย์ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาเคหการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา-ลัย
กล่าวว่า ธุรกิจก่อสร้างน่าเป็นห่วงมากในเรื่อง ต้นทุนดำเนินการ โดยเฉพาะเหล็ก
และน้ำมัน ซึ่ง มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการก่อสร้าง
"อนาคตมองว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างจะไม่สดใสนักเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพราะปัญหา
ต้นทุนค่าก่อสร้าง และขนส่ง เฉพาะปีที่ผ่านมาเหล็กปรับตัวไปถึง 460 เหรียญสหรัฐต่อตัน
โดยในเดือนกุมภาพันธ์ขึ้นไปที่ 20.5 บาทต่อกิโลกรัม ตามมาด้วยต้นทุนน้ำมันดิบอยู่ที่บาร์เรลละ
38 เหรียญ ซึ่งแม้จะไม่เห็นผลทันทีกับตลาด แต่คาดว่าจะเห็นผลที่ชัดเจนในอีก 1 เดือนข้างหน้า"
นายเกชา ธีระโกเมน วิศวกร และประธาน จัดงานสัปดาห์วิศวกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า
ตั้งแต่ปลายปี 2546 เป็นต้นมา ราคาเหล็ก ได้แก่ เหล็กเส้น ท่อเหล็ก มีการปรับราคาสูงขึ้นมาเกือบ
เท่าตัว ส่งผลต่อลงทุนพัฒนาและก่อสร้างโครง การในระยะต่อไป จากสถานการณ์ดังกล่าว
คาดการณ์ว่าในช่วง 6 เดือนหลังของปี 47 ต้นทุนค่าก่อสร้างจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างน้อย
10%
นายวิบูลย์ จันทรดิลก กรรมการผู้จัดการ บริษัท สหสุธา จำกัด กล่าวว่าราคาที่อยู่อาศัยจะ
ปรับตัวขึ้นมาประมาณ 10% เนื่องจากราคาวัสดุปรับตัว และอยู่ในภาวะขาดแคลน รวมถึงการปรับตัวราคาน้ำมันหากปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง
อาจมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อ และราคาวัสดุปรับตัวขึ้นตาม ส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนการก่อสร้าง