พ่อค้าเคเบิลใน ประเทศเฮ บอร์ดทศทอนุมัติจัดซื้อ 800 ล้านบาท 74 รายการ แบ่งเค้ก
กันทั่ว 5 บริษัทหน้าเดิม อาศัยกลไกเก่าๆ ผ่านคณะกรรมการทรัพยากรที่มีพล.ต.ท.บุญญฤทธิ์
รัตนะพร เป็นประธาน หลังอกหักลอบบี้หมอเลี้ยบให้ตีกรอบใช้ในโครงการโทรศัพท์ 5 แสนเลขหมายไม่สำเร็จ
แถมถูกตอกกลับราคาต่างประเทศถูกกว่าจะบังคับ ทศท ให้ซื้อเคเบิลในประเทศได้อย่างไร
คนในวงการชี้คู่แข่ง ทศท แอบหัวเราะซื้อเคเบิลแพงกว่าชาวบ้าน 30%
แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวถึงการอนุมัติซื้อสายเคเบิล 74 รายการมูลค่า 790
ล้านบาทของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมาว่าเป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้งในการจัดหาสายเคเบิลของทศท
ในลักษณะฮั้วกันระหว่างผู้เข้าประมูล 5 รายในทำ นองแบ่งเค้กกันล่วงหน้าว่าใครจะได้ในรายการไหน
ก็จะเสนอราคาใน รายการอื่นๆด้วยราคาที่สูง ซึ่งหากย้อนดูการประมูลหลายๆครั้งที่ผ่านมาก็จะพบเหตุการณ์ดังกล่าว
5 บริษัทหน้าเก่าในวงการเคเบิลประกอบด้วย 1.บริษัท จรุงไทยไวร์แอนด์เคเบิล ซึ่งได้
21 รายการวงเงินจะซื้อจะขาย 212 ล้านบาท 2.บริษัท พานทอง วาย เคเบิล ได้ 6 รายการวงเงิน
44 ล้านบาท 3.บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ ไทยแลนด์ ได้ 15 รายการ วงเงิน 186 ล้านบาท
4.บริษัท บางกอกเทเลคอม ได้ 21 รายการวงเงิน 163 ล้านบาทและ 5.บริษัท ฮิตาชิ บางกอกเคเบิล
ได้ 11 รายการ วงเงิน 182 ล้านบาท
การอนุมัติเคเบิลแบบตามน้ำของบอร์ดทศท ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่เพียงแต่เปลี่ยนตัวละครมาเล่นอย่างสมัยบอร์ดคุณหญิงทิพาวดี
เมฆสวรรค์ ก็เป็นทีของพล.อ.สมชัย สมประสงค์ ที่เอาเรื่อง เข้าบอร์ด คราวนี้บอร์ดของดร.
สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ก็เป็นโอกาสของพล.ต.ท.บุญญฤทธิ์ รัตนะพร ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรที่เป็นทางผ่านเรื่องนี้
การอนุมัติเกือบ 800 ล้านบาท ถือได้ว่ามูลค่าไม่ต่างจากโครงการโทรศัพท์ 5 แสนเลขหมายที่กำลังประมูลมากนัก
ในช่วงก่อนประมูลโทรศัพท์ 5 แสนเลขหมาย มีความพยายามของกลุ่มพ่อค้าเคเบิล ในประเทศ
เดินสายลอบบี้เพื่อตีกรอบให้ใช้เคเบิลในประเทศในการประมูลขนาดถึงกับยืมมือที่ปรึกษานายพินิจ
จารุสมบัติ ทำหนังสือเป็นใบเบิกทางในทำนองขอ ให้ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศ
เข้าหาน.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ
สาร(ไอซีที) ในฐานะที่กำกับดูแลทศท เข้าพบดร.สถิตย์ ในฐานะประ ธานบอร์ดทศท และเข้าถึงนายอรัญ
เพิ่มพิบูลย์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ทศท แต่ก็ไม่เป็นผล
น.พ.สุรพงษ์ เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่าได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดเกี่ยวกับเรื่องการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้างว่าจะต้องมีประสิทธิภาพและโปร่งใส
หากมีข้อครหาขั้นตอนไหนจะต้องมีคนรับผิดชอบ
"การจัดซื้อจัดจ้าง ผมไม่เคย เข้าไปยุ่งเกี่ยว เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องซื้อของดีที่สุด
แต่ถ้าหากมีข้อครหาต้องมีคนรับผิดชอบ ถ้าเกิดขึ้นในระดับบอร์ด ผมก็เปลี่ยนบอร์ด
ถ้าเกิดในระดับปฏิบัติ การก็ต้องเป็นหน้าที่ฝ่ายบริหารและบอร์ดต้องเข้าไปจัดการ"
เขาย้ำว่าที่ผ่านมาเคยมีอุตสาหกรรมในประเทศเข้าพบเพื่อขอ ให้สนับสนุนในการจัดซื้อผลิต-ภัณฑ์ในประเทศ
แต่พบว่าราคาแพงกว่าต่างประเทศหลายเท่าก็ไม่สามารถให้จัดซื้อได้
"อุตสาหกรรมเคเบิลในประเทศมาพบผมเพื่อขอให้ทศทซื้อ แต่ราคาแพงกว่าต่างประเทศอีก
ผมจะบังคับให้ทศทซื้อได้อย่างไร"
แหล่งข่าวกล่าวว่าในขณะที่นโยบายฝ่ายการเมืองชัดเจน แต่นโยบายระดับบอร์ดทศทกลับหวั่นไหวไปตามกระแสน้ำที่ไหลแรง
แทบจะเรียกได้ว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วสำหรับองค์กรที่เกือบ จะทุกครั้งของการประมูลมักต่อท้ายด้วยข้อสงสัยถึงความโปร่งใส
เพราะปัจจุบันเคเบิลในประเทศแพงกว่าต่างประเทศถึง 30% แต่ก็ดูเหมือนผู้มีอำนาจก็ไม่ได้สนใจ
การอ้างราคากลางหรือต่ำกว่างบประมาณ ก็กลายเป็นเรื่องชวนหัว สำหรับบริษัทเอกชนในวง
การโทรคมนาคมที่จัดซื้อเคเบิลเหมือนๆกับทศท ไม่ว่าจะเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม ทีเอ
ทีทีแอนด์ที หรือดีแทค เพราะบริษัทเอกชนเหล่านั้นรู้ว่าราคากลางของทศท เป็นราคาดึกดำบรรพ์ที่ไม่ทันสมัยกับภาวะเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเรื่องดอกเบี้ยหรือราคาเคเบิลต่างประเทศ
รวมทั้งงบประมาณภาครัฐเป็นเรื่องปกติไปแล้วที่ตั้งสูงจนเวอร์ ข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งคือสมควรที่จะเอาราคาเคเบิลที่บริษัทคู่แข่งในวงการโทรคมนาคมจัดซื้อมาเปรียบเทียบกับที่ทศทซื้อ
ก็จะเห็นต้นทุนที่แตกต่าง
"การอ้างราคากลางหรือราคาสุดท้ายที่เคยซื้อหรือต่ำกว่างบประ-มาณ เป็นเหตุผลยอดนิยมทุกสมัย
ทุกครั้งของการประมูลเคเบิลไม่เคยมีการแข่งขันราคาอย่างจริงจัง แต่เป็นทำนองแบ่งเค้ก
ล่วงหน้า ที่ผ่านมาในกสท เคยมีบริษัทนอก ก๊วนมาแข่งราคาดุเดือด จนทำให้วุ่น วายมาพักหนึ่งแล้ว
แต่สำหรับทศท อย่างหวังจะเห็นเหตุ การณ์เช่นนั้นเพราะมีการประสานกันเรียบร้อย ทุกคนลอยตัวตามน้ำหมด"