Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 เมษายน 2547
ญี่ปุ่นฮุบนิสสันในไทยพรประภาขาย7.6พันล้าน             
 


   
search resources

สยามกลการ, บจก.
นิสสัน มอเตอร์
สยามนิสสัน ออโต้โมบิล, บจก.
พรเทพ พรประภา
โคซากุ โฮโซกาวา
คาร์ลอส กอส์น
Automotive




ปิดฉากตำนานรถยนต์ "นิสสัน" ในมือกลุ่มสยามกลการของตระกูล "พรประภา" เมื่อนิสสันมอเตอร์ภายใต้การนำของ "คาร์ลอส กอส์น" ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จ หลังทำพิธีเซ็นสัญญาซื้อหุ้นกว่า 7.6 พันล้านบาท กลายเป็นผู้หุ้นใหญ่ 75% หวังอาศัยศักยภาพตลาดไทย สานฝันแผนธุรกิจ 3 ปี NISSAN 180 เพิ่มยอดขายให้ได้ 1 ล้านคัน ในปี 2548 เผยเตรียมประกาศแผนธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า และพร้อมลงทุนเพิ่มนับหมื่นล้านบาท หากเห็นว่าลงทุนแล้วทำกำไรได้มากกว่า

ตำนานรถยนต์นิสสันในไทย ภายใต้กำมือ บริษัท สยามกลการ จำกัด ของตระกูล "พรประภา" ซึ่งมีมายาวนานกว่า 50 ปี หรือมากกว่าครึ่งศตวรรษ ในที่สุดก็มาถึงวันยุติบทบาทผู้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จลงอย่างเป็นทางการ หลังจากนิสสันมอเตอร์ได้ทำพิธีเซ็นสัญญาซื้อหุ้นใหญ่จากสยามกลการไปเมื่อวานนี้ (5 เม.ย.)

โดยนิสสันมอเตอร์จ่ายเงินทั้งสิ้น 7.64 พันล้านบาท (ประมาณ 190 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในการเพิ่มสัดส่วนหุ้นอีก 50% จากเดิมที่มีอยู่เพียง 25% ในบริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด ผู้ผลิตปิกอัพ และผู้จัดจำหน่ายรถยนต์นิสสัน และบริษัท สยามกลการและนิสสัน จำกัด ผู้ประกอบรถยนต์นั่ง รวมแล้วกลายเป็นถือหุ้นใหญ่ 75% ขณะที่สยามกลการจะเหลือสัดส่วนหุ้นเพียง 25%

นายคาร์ลอส กอส์น ประธานและซีอีโอ บริษัท นิสสันมอเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดรถยนต์ไทยมีศักยภาพที่ดีมาก ดังจะเห็นได้จากปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตถึงกว่า 33% แต่นิสสันในไทยกลับไม่ได้รับประโยชน์จากสภาวะดังกล่าว ทั้งที่ในอดีตนิสสันมีส่วนแบ่งมากถึง 20% แต่ปัจจุบันเหลือเพียงแค่ 8.2% ซึ่งตรงนี้นิสสันมอเตอร์ยอมรับไม่ได้

"ดังนั้นจึงเห็นว่านิสสันในไทย จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพ และเพื่อช่วยรักษาการเติบโตที่มีผลกำไรภายใต้แผนธุรกิจ 3 ปี NISSAN 180 ทั่วโลก ทำให้นิสสันมอเตอร์เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในไทย ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพและสำคัญมากในภูมิภาคนี้ และจะเป็นแรงผลักดันสำคัญ ทำให้นิสสันบรรลุยอดขายเพิ่มขึ้น 1 ล้านคัน ตามแผนธุรกิจที่วางไว้"

ทั้งนี้แผนธุรกิจ 3 ปี หรือ NISSAN 180 ซึ่งเริ่มดำเนินมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 ที่ผ่านมา มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ 1. จะต้องเพิ่มยอดขายให้ได้ 1 ล้านคัน ในเดือนกันยายน 2548 2. มีผลกำไรต่อปีไม่ต่ำกว่า 8% และ 3. จะต้องสามารถลดหนี้สินทั้งหมดเหลือ 0%

โดยผลจากการดำเนินงานมา 2 ปี นิสสันประสบความสำเร็จแล้ว 2 ประการ คือ ขณะนี้มีผลกำไรมากถึง 11.3% จากเป้าหมายที่วางไว้ 8% พร้อมกับสามารถลดหนี้จากที่มีอยู่จำนวนมาก ลงมาเหลือเพียง 0% ดังนั้นจึงมีเพียงต้องทำยอดขายรถให้ได้ 1 ล้านคันเท่านั้นที่จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้นิสสันบรรลุตามแผนที่วางไว้ได้

นายคาร์ลอสกล่าว่า นอกจากซื้อหุ้นกว่า 7 พันล้านบาทแล้ว ยังไม่มีการสรุปว่าจะมีการลงทุนเพิ่มเติมอีกเท่าไหร่ ส่วนที่มีข่าวทางหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นรายงานว่า นิสสันจะลงทุนในไทยถึง 1 หมื่นล้านเยนนั้น ไม่ทราบว่านำข้อมูลมาจากไหน แต่นิสสันมีความพร้อมที่จะลงทุนได้เสมอ และอาจจะมากกว่านั้นก็ได้ หากการวิเคราะห์แผนธุรกิจแล้ว เห็นว่าการลงทุนจะทำให้นิสสันได้ประโยชน์กลับคืนมามากกว่า

สำหรับศักยภาพของไทย แน่นอนสามารถเป็นฐานการผลิตรถนิสสันภูมิภาคนี้ได้อยู่แล้ว และยังมีโอกาสที่จะเป็นฐานการผลิตของโลกด้วย แต่นั้นก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ซัพพลายเชนจ์ และการทำให้มีผลประกอบการที่ดี หากสามารถทำได้อย่างนี้ ไทยก็จะก้าวเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างเต็มตัว

นอกจากนี้สิ่งที่จะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตโลกได้ นิสสันจะต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย แต่นิสสันไม่ได้หวังที่จะได้สิทธิประโยชน์ หรือเงื่อนไขที่เหนือกว่ายี่ห้ออื่น เพียงแต่ขอให้ได้รับสิทธิเทียบเท่ากับคู่แข่งที่ได้รับไปก่อนหน้านี้ เพื่อที่เวลาแข่งขันในตลาดโลกจะสามารถสู้เขาได้ ไม่ใช่สู้เขาไม่ได้เพราะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้อยกว่าในฐานการผลิตเดียวกัน

นายคาร์ลอสกล่าวว่า สำหรับบทบาทของ นายพรเทพ พรประภา ในบริษัททั้งสองแห่ง ต่อไปนี้คงจะไม่มีความเกี่ยวพันโดยตรง เพราะต้องดูแลสยามกลการเป็นหลัก แต่จะสามารถส่งคนเข้าไปเป็นกรรมการในนิสสันไทยได้ 2 คน แต่อำนาจการบริหารทั้งหมดจะเป็นของนิสสันมอเตอร์

"ส่วนแผนปฏิบัติการธุรกิจของนิสสันในไทย ขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งนาย โคซากุ โฮโซกาวา เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด และประธาน บริษัท สยามกลการและนิสสัน จำกัด สำหรับวางแผนธุรกิจนิสสันในไทย ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการวางแผนปฏิบัติการ และจะประกาศในเดือนกรกฎาคมศกนี้"

อย่างไรก็ตาม นิสสันในไทยที่ผ่านมามีจุดอ่อนแทบจะทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการบริหาร ผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอต่อตลาด ซัพพลายเออร์ หรือแม้แต่ตัวแทนจำหน่าย ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์ที่เปราะบางกับตลาด แต่สิ่งสำคัญที่นิสสันจำเป็นจะต้องเร่งแก้ไขเร่งด่วน คือ เรื่องของผลิตภัณฑ์ ที่เป็นจุดอ่อนมากที่สุด ดังนั้นต่อไปนี้นิสสันมอเตอร์มีนโยบายชัดเจน ในการเปิดทุกผลิตภัณฑ์ที่จะสนองตอบความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us