Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
เทเลเมด การเริ่มต้นของบัตรโทรทางไกล             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

เทเลเมด คอร์ปอเรชั่น
สมศักดิ์ พิทักษ์มงคลกุล
Telephone




อดีตผู้บริหารโรงงานผลิตกระดาษ ที่หันมาเอาดีกับธุรกิจบัตรโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ

สมศักดิ์ พิทักษ์มงคลกุล กรรมการผู้จัดการ วัย 60 ปีผู้นี้ ไม่ได้เพียงเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตัวเองเท่านั้น แต่เขาเป็นผ้ประ กอบธุรกิจบัตรโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่ได้รับสัมปทาน จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เป็นรายแรก

แต่กว่าที่บริษัทเทเลเมดจะกลายมาเป็น ผู้เล่นรายใหม่ ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมก็ต้องใช้เวลาหลายปี สมศักดิ์เล่าว่า เขาเจรจากับ กสท.มาตั้งแต่ปี 2539 ถึงแม้ว่าจะได้รับอนุมัติในปีถัดมา แต่ต้องใช้เวลาในการร่างสัญญา ที่มาเสร็จสิ้นเอาใน ปี 2543

สัมปทาน มีอายุ 10 ปี กสท.ถือหุ้น 29% หุ้นที่เหลือ 71% เป็นของบริษัทเทเลเมดคอร์ปอเรชั่นโฮลดิ้ง ซึ่งสมศักดิ์ถือหุ้นร่วมกับเพื่อนๆ นักธุรกิจ และรับหน้าที่บริหารงานเอง มีลูกชาย คนโตมาช่วยดูแลการตลาด โดยมีสุรศักดิ์ นานานุกูล ซึ่งรู้จักเป็นการส่วนตัวมาหลายปีเป็นที่ปรึกษาให้

ถึงแม้จะใหม่ในธุรกิจสื่อสาร แต่สมศักดิ์ไม่ใช่คนหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมกระดาษ เขาคลุกคลีอยู่ในวงการนี้หลายสิบปี เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทบริษัทฟินิคซพัลพ์แอนด์เปเปอร์ ต่อมารัฐบาลในยุคของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้ดึงตัวมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงงานบางกอกนิวส์ ผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ แต่มาเจอวิกฤติน้ำมันโครงการนี้จึงต้องระงับไป

การอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตขนาด ใหญ่ ซึ่งเป็นรากฐานของประเทศในเวลานั้น สมศักดิ์ได้มีโอกาสใกล้ชิดการเมืองมาหลายยุค หลังโครงการผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ยกเลิกไป เขาบินไปหาลู่ทางการลงทุนที่เกาะไหหลำตามคำชวนของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ แต่ยังไม่ทันเริ่มต้นธุรกิจ ก็เกิดเหตุ การณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน สมศักดิ์บินไปใช้ชีวิตทำธุรกิจหนังสือพิมพ์อยู่ที่สหรัฐอเมริกา หลายปี ก่อนจะบินกลับมาขอสัมปทานทำบัตรโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ

เป็นธุรกิจที่มีอนาคต และลงทุนไม่มาก เหมือนกับการลงทุนตู้โทรศัพท์ทางไกล ต่างประเทศ แค่ตู้กับเครื่องโทรศัพท์ก็ต้องใช้ เงินลงทุนมหาศาล สมศักดิ์บอกสาเหตุในการขอสัมปทานนี้จาก กสท. นอกเหนือจากการที่เขาศึกษาธุรกิจนี้มาเป็นอย่างดี

ตัวเลขแอร์ไทม์ของการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศในเมืองไทย ที่มีอยู่ถึง 800 ล้านนาที คือ ข้อมูลงานวิจัยที่เขาได้มาเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน

ถ้าเราได้ส่วนแบ่งตลาด 1% ของแอร์ ไทม์ที่มีอยู่เท่ากับว่าเราจะมีรายได้ 8 ล้านนาที และถ้าสัดส่วนเพิ่มเป็น 10% เราก็จะได้ 80 ล้านนาที สมศักดิ์บอกที่มาของการเลือกทำ ธุรกิจในลักษณะนี้

เทคโนโลยีของธุรกิจนี้ ไม่ได้มีความสลับซับซ้อน เพราะไม่ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานใด สามารถใช้โครงข่ายของ กสท.ที่มีอยู่ เดิม ซึ่งบริษัทต้องจ่ายเป็นค่าแอร์ไทม์ให้กับ กสท. และค่าเช่าวงจรเชื่อมโยงที่ต้องจ่ายให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น กสท. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) บริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น (ทีเอ) รวมทั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 2 ราย เพื่อให้ ลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์พื้นฐาน และโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถใช้บริการของเทเลเมดได้

นอกจากนี้จะต้องมีการลงทุนติดตั้งชุมสาย 1 ตัวที่อาคารโทรคมนาคมของ กสท. ชุมสายนี้จะทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูล และแยกประเภท โดยจะมีระบบบิลลิ่งรวมอยู่ด้วย ที่จะบันทึกการใช้เงินของลูกค้า

รูปแบบของบริการจะมี 2 ประเภท คือ บัตรโทรศัพท์ หรือ prepaid card ลักษณะจะเหมือนกับบริการพินโฟนของ ทศท. บัตรจะมีราคา 300, 500, 800 และ 1,000 บาท

อีกรูปแบบหนึ่งเป็นบริการ post paid คือ ลูกค้าใช้ก่อนจ่ายทีหลัง ลูกค้าจะต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบเครดิตของลูกค้าก่อน ลักษณะเดียว กับการอนุมัติบัตรเครดิต เพื่อป้องกันปัญหาหนี้สูญ

ส่วนอัตราค่าแอร์ไทม์ที่คิดกับลูกค้านั้น สมศักดิ์บอกว่า เป็นเรื่องของลูกเล่นทางการตลาดของบริษัท แต่เงื่อนไขที่ กสท.กำหนดไว้ คือ ห้ามแพงเกิน 10% จากอัตราที่ กสท.เก็บจากลูกค้า

การทำตลาดของบริษัทเทเลเมดจะไม่ลงทุนสร้างเครือข่ายเอง แต่จะใช้วิธีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายตามจังหวัดต่างๆ เพื่อกระจายจุดจำหน่ายบัตร และหาสมาชิก สมศักดิ์มองว่า ข้อดีของธุรกิจนี้ คือ การไม่ใช้บริการใหม่ จึงไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ใหม่ หรือสร้างตลาดใหม่

ความคาดหมายของสมศักดิ์ เขาเชื่อ ว่า บริษัทจะมีรายได้ 100 ล้านบาทในปีแรก และเชื่อว่าจะใช้เวลา 2 ปีในการคืนทุน

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งของผู้มาใหม่ในธุรกิจ สื่อสาร ที่มีอยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us