Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2547
ออนเซนเพื่อสุขภาพและความงาม             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 


   
search resources

Kanebo Cosmetics (Thailand)




ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาเพื่อการขุดเจาะนำเอาน้ำแร่จากใต้พื้นดินของโตเกียวขึ้นมาทำออนเซนกลางกรุงได้สำเร็จเมื่อหนึ่งปีก่อนนั้น เป็นการช่วยเพิ่มสีสันใหม่ให้กับชีวิตของคนเมืองหลวงอย่างโตเกียว (อ่านเพิ่มเติม : นิตยสารผู้จัดการ ฉบับกรกฎาคม 2546) แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เมื่อเวลาและสตางค์อำนวย คนญี่ปุ่นแทบจะร้อยทั้งร้อย มักจะเลือกไปพักผ่อนตากอากาศตามออนเซนธรรมชาติในต่างจังหวัดมากกว่า

ตลอดแนวภูเขาไฟที่เรียงรายตั้งแต่เกาะฮอกไกโด ยาวไปถึงใต้สุดในหมู่เกาะโอกินาวา ทำให้มีบ่อน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมักจะมีส่วนผสมของเกลือแร่ชนิดต่างๆ ที่เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "ออนเซน" เท่าที่พบในปัจจุบันมีออนเซนประมาณ 27,000 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น

ออนเซนในแต่ละแห่งก็มีเสน่ห์แตกต่างกันไปในแต่ละแบบตามสถานที่ท่องเที่ยว และ/หรือโรงแรมในต่างจังหวัดที่ติดอันดับความนิยม ล้วนแล้วแต่มีออนเซนรวมอยู่ด้วย อย่างเช่น หลังจากสนุกสนานบนลานสกีก็สามารถลงไปแช่ออนเซนอุ่นๆ ช่วยคลายปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ออนเซนบางแห่งอยู่ท่ามกลางแวดล้อมธรรมชาติ แช่ออนเซนไปพลาง ชมภูเขาไฟฟูจิไปพลาง หรือบางที่ในช่วงก่อนเข้าฤดูใบไม้ร่วงก็มีใบไม้เปลี่ยนสีที่มองเห็นได้จากบ่อออนเซน ในฤดูหนาว การแช่ออนเซนกลางแจ้งในขณะที่มีหิมะโปรยลงมานั้น โดยส่วนตัวแล้วถือว่าเป็นสุดยอดของออนเซนเลยทีเดียว นอกเหนือจากนั้นแล้วคนญี่ปุ่นยังรู้จักใช้ประโยชน์จากออนเซนมาตั้งแต่อดีต ส่วนใหญ่ที่ออนเซนมักจะเขียนบรรยายสรรพคุณในการรักษาอาการต่างๆ เช่น ปวดข้อ หรือไม่ก็สรรพคุณที่ช่วยทำให้ผิวพรรณเนียนสวย กำกับเอาไว้ด้วยเสมอ

ออนเซนกับผิวสวย

เมื่อเร็วๆ นี้ Kanebo บริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอาง ชั้นนำบริษัทหนึ่งของญี่ปุ่น ได้เริ่มงานวิจัยเกี่ยวกับออนเซนที่ร่ำลือในด้านของผิวพรรณและความงาม อันที่จริงแล้วเสียงลือเสียงเล่าอ้างดังกล่าวพบได้จากออนเซนหลายแห่งทั่วญี่ปุ่น ที่ได้รับความนิยมติด top 3 ได้แก่ Kawanaka onsen (จังหวัด Gunma), Ryujin onsen (จังหวัด Wakayama) และ Yunokawa onsen (จังหวัด Shimane) จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ออนเซนทั้ง 3 แห่งมีส่วนผสมของเกลือแร่หลักต่างชนิดกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า ส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อผิวที่เนียนสวยขึ้นจากการแช่ออนเซนนั้นคืออะไร

ทีมวิจัยเก็บซุ่มตัวอย่างน้ำจากออนเซนดังๆ ที่อ้างว่ามีผลต่อผิวพรรณมา 20 แห่งทั่วประเทศเพี่อศึกษาส่วนประกอบสำคัญที่มีผลต่อการกระตุ้นให้สร้าง keratin ในผิวหนังชั้นนอกที่เรียกว่า epidermis (keratin คือโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบหลักของผิวหนัง เส้นผมและเล็บ)

การไขปริศนาส่วนประกอบสำคัญของออนเซนแต่ละแห่งไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากมีความหลากหลายของเกลือแร่ที่ละลายปนอยู่อย่างน้อย 18 ชนิด ขึ้นกับสถานที่ที่เป็นต้นกำเนิดของออนเซนแต่ละแห่ง

แต่ในที่สุด ทีมวิจัยของ Kanebo ก็สามารถสรุปได้ว่าสารประกอบในรูปของเกลือ calcium และ siloxy มีส่วนกระตุ้นให้ cell culture จากผิวหนังของมนุษย์สร้าง keratin ได้ดีที่สุด ซึ่งส่งผลให้ผิวหนังเนียนขึ้นได้ จากผลการวิจัยนี้ยังพบว่าน้ำที่นำมาจากออนเซนชื่อดังทั้ง 3 แห่งนั้นมีปริมาณของเกลือแร่สำคัญไม่มากอย่างที่ควรจะเป็น ในทางกลับกันพบว่า Atami onsen (จังหวัด Shizuoka) และ Arima onsen (จังหวัด Hyogo) มีปริมาณของสารประกอบเกลือ calcium และ siloxy ละลายอยู่ในความเข้มข้นสูง

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงก้าวแรกที่ให้ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งยังไม่สมบูรณ์พอที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับผิวหนังของคนได้ในขณะนี้ การวิจัยยังคงดำเนินต่อไปโดยคาดหวังว่า สักวันหนึ่งจะสามารถพัฒนาเป็นเครื่องสำอางที่ช่วยประทินผิวให้กระชับเนียน สวยอย่างได้ผล

ออนเซนกับการรักษาโรค

จากการที่คนญี่ปุ่นรู้จักใช้ประโยชน์จากออนเซนมาตั้งแต่อดีต เป็นต้นว่า แพทย์ญี่ปุ่นพบว่าการดื่มน้ำจากออนเซนที่มีส่วนผสมของเกลือ sulfurate ในปริมาณ ที่พอเหมาะเป็นประจำจะช่วยให้สามารถควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดได้ผลน่าพอใจ ซึ่งสรรพคุณดังกล่าวเป็นเพียงการเสริมประสิทธิภาพการรักษาด้วยยา

ยังพบรายงานว่า ผู้ป่วยที่มีอาการผิวหนังอักเสบ ประเภท atropic eczema มีอาการดีขึ้นเรื่อยๆ จากการอาบน้ำที่นำมาจาก Kusatsu onsen (จังหวัด Gunma) ผลการวิเคราะห์ทางเภสัชเคมีพบว่าส่วนผสมของสารประกอบเกลือ iodine และ magnesium ในออนเซนนั้นมีความเข้มข้นพอเหมาะที่เชื่อว่าสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังได้ และส่งผลให้อาการอักเสบของผิวหนังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ความรู้ที่สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งเกี่ยวกับสรรพคุณต่างๆ นานาของออนเซนในแต่ละแห่ง คงจะเปรียบได้กับภูมิปัญญาของไทยที่รู้จักนำสมุนไพรมารักษาโรค ถ้ามีการพัฒนาวางมาตรฐาน (standardize) ตามหลักวิทยาศาสตร์ ก็น่าจะทำให้ได้ผลการรักษาที่แน่นอนแม่นยำเพียงพอที่จะมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ได้

ออนเซนใน concept ใหม่

เมื่อปีที่แล้ว มีการรวมกลุ่มกันของผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชา เพื่อศึกษาและพัฒนา "ออนเซนเพื่อสุขภาพ" ในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โครงการนี้เริ่มต้นที่ Hakone onsen (จังหวัด Kanagawa) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่อยู่ใกล้โตเกียว มีการให้คำแนะนำกับเจ้าของกิจการโรงแรมและที่พัก เกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการให้อยู่ในมาตรฐานขั้นสูง สร้างเป็น model ของออนเซนเพื่อสุขภาพขึ้น ในขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากผู้มาใช้บริการในขั้นทดลอง และจะนำไปปรับปรุงเพื่อขยายไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วญี่ปุ่น

ต่อไปในอนาคต การเดินทางไปพักผ่อนที่ออนเซนต่างจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นนั้น นอกจากจะได้ชมความงามของธรรมชาติทั้ง 4 ฤดูและการแช่ออนเซนแล้วยังมีบริการที่ได้มาตรฐาน เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมกับโปรแกรมการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมที่เตรียมพร้อมสำหรับการมาผ่อนคลายอย่างแท้จริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us