Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
ทางออกของเอดีเวนเจอร์             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.
อารักษ์ ชลธานนท์
Mobile Phone




หลังจากไม่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจเว็บท่า จนต้องหมดเงินไปเกือบ400 ล้านบาท มาในวันนี้ชินคอร์ป กำลังพลิกสถานการณ์ให้กลับขึ้นมาเป็นบวก

การดึงเอามิตซูบิชิมาร่วมลงทุนใน เอดี เวนเจอร์ นับเป็นการสะท้อนภาพของความพยายามปรับเปลี่ยนธุรกิจอินเทอร์เน็ต ให้อยู่ บนพื้นฐานธุรกิจที่แท้จริง

เหตุผลในการดึงพันธมิตรข้ามชาติรายนี้เข้ามาลงทุน อารักษ์ ชลธานนท์ ประธานกรรมการ กลุ่มธุรกิจ e-business บอกว่า ไม่ใช่เรื่องของเงินทุน แต่เป็นฐานลูกค้า และโอกาสของการทำธุรกิจใหม่ๆ ที่จะมาเสริมให้กับธุรกิจ e-business รวมทั้งธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลุ่มชินคอร์ป

บริษัทมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เซ็นสัญญาเข้ามาลงทุนในบริษัทเอดีเวนเจอร์ ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 9% คิดเป็นจำนวนเงิน ลงทุน 120 ล้านบาท

ถึงแม้ว่า ผู้บริหารของชินคอร์ป และมิตซูบิชิ ยังคงต้องเจรจาเพื่อแนวทางของการ หาสูตรสำเร็จของการทำเงินอย่างเป็นทาง การอีกครั้งก็ตาม และแม้ว่ามิตซูบิชิจะไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีด้าน e-business หรือมีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มาแล้วอย่างโชกโชนก็ตาม แต่การที่มิตซูบิชิ มีธุรกิจอยู่ในมือเป็น จำนวนมาก และประกาศตัวที่จะเคลื่อนย้ายธุรกิจทั้งหมดเข้าสู่ธุรกิจ e-business มิตซูบิชิจึงเป็นพันธมิตรที่น่าสนใจยิ่งสำหรับกลุ่มชิน

เวลานี้มิตซูบิชิ ก็ได้มีการจัดตั้งแผนก new business ขึ้นมา เพื่อศึกษาธุรกิจ e-business โดยเฉพาะ

ที่มากไปกว่านั้น มิตซูบิชิ ได้เริ่มต้นธุรกิจเป็นผู้ผลิตเนื้อหา (content) ให้กับบริการโทรศัพท์ไร้สาย i-mode ของบริษัท NTT docomo และนี่คือ ประโยชน์ที่กลุ่มชินคอร์ป มองเห็นจากการได้มิตซูบิชิมาร่วมในเอดีเวน เจอร์

อย่างที่รู้กันดีว่า จุดที่สร้างความสำเร็จ อย่างหนึ่งให้กับบริการ i-mode ก็คือ การมีเนื้อหา (content) ที่หลากหลาย และเป็นจุดอ่อนที่ทำให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เทคโนโลยี wap ในไทยยังไม่ประสบความสำเร็จ

ความคาดหวังของบริษัทแอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส หรือเอไอเอส ก็คือ การที่จะได้ content จากมิตซูบิชิมาช่วยเสริมให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ต

เอไอเอสกำลังขยับไปสู่การนำระบบ GPRS มาใช้ ซึ่งจะทำให้ความเร็วในการส่งข้อมูลดีขึ้น รวมถึงการที่จะสามารถเปลี่ยนวิธีการคิดค่าบริการจากแอร์ไทม์ไปเป็นการคิดตามจำนวนข้อมูล (bit)

ถึงแม้ว่า content จากมิตซูบิชิ ไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างสำเร็จรูป ยังคงต้อง มีการดัดแปลงภาษาให้เข้ากับลูกค้าเมืองไทย ก็ตาม

จุดมุ่งหมายของทั้งสองไม่ใช่แค่การใช้ประโยชน์ภายใน แต่พวกเขายังมองไปถึงการหาจุดร่วมของการเป็นผู้ป้อน application เหล่านี้ให้กับลูกค้าที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นๆ

นี่คือขั้นแรกของการร่วมมือ ขั้นต่อไปเราต้องนึกถึงว่า เราจะหาทางทำเงินกันอย่างไร จากสิ่งที่เรามีอยู่"อารักษ์ บอก

สำหรับอารักษ์แล้ว มิตซูบิชิไม่เพียงแต่จะทำให้ธุรกิจ e-business ของชินคอร์ปครบถ้วนยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักประกัน ชั้นดี ที่ทำให้ภาพของเอดีเวนเจอร์ดูดีขึ้นในสายตาของบรรดานักวิเคราะห์

ทางด้านมิตซูบิชิ การเลือกชินคอร์ป มาเป็นพันธมิตร เหตุผลแรกก็คือ การเป็นบริษัทโทรคมนาคมอันดับหนึ่งในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ กำลังขยายตัวทั้งในแง่ของผู้ใช้ และเทคโนโลยี ใหม่ ที่กำลังก้าวไปสู่การสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็น ธุรกิจใหม่ที่มิตซูบิชิกำลังให้ความสำคัญอย่าง มาก

เวลานี้โทรศัพท์มือถือของไทยกำลังก้าวไปสู่ระบบ GPRS และ 3G นี่คือโอกาสที่เรามองเห็น เจ้าหน้าที่ในแผนก new business ของมิตซูบิชิ ประเทศไทย บอกกับ ผู้จัดการ

อย่างไรก็ตาม การร่วมมือในการก้าวเข้าสู่ e-business เป็นเรื่องของอนาคตเราทั้งสองยังคงต้องหาแนว ทางในการเรียนรู้ร่วมกัน และหาทางที่จะร่วมมือกันต่อไป เจ้าหน้าที่คนเดิมบอก

มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทเทรด ดิ้งเฟิร์มขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น ลงทุนธรกิจอยู่ใน 114 ประเทศทั่วโลก สำหรับในไทย มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) มีการลงทุนในธุรกิจเป็นจำนวนมาก อุตสาหกรรมการผลิต การค้าระหว่างประเทศ การส่งออกนำเข้า และอุตสาหกรรมบริการ อาทิ บริษัทตรีเพชรอีซูซุ เซลส์ บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) ไทยเคมีภัณฑ์

แผนก new business ของมิตซูบิชิ เป็น แผนกใหม่ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นในไทย สำหรับในญี่ปุ่นแล้ว แผนก new business จะมีธุรกิจผลิตเนื้อหาป้อนให้กับโทรศัพท์ไร้สาย i-mode ซึ่งเนื้อหานั้นจะเน้นทางด้านบันเทิง เกม ทำนายดวง

นอกจากนี้มิตซูบิชิยังมีธุรกิจให้เช่าซอฟต์แวร์ หรือ application service provider รวมทั้งบริการ IDC

การเข้ามาลงทุนของมิตซูบิชิ เกิดขึ้นภายหลังจากที่เอดีเวนเวอร์ ได้ลงทุนร่วมกับบริษัท NTT ในการทำธุรกิจ Internet Data center (IDC) ร่วมกันได้ไม่กี่เดือน นับเป็นภาพ สะท้อนของความพยายามในการเปลี่ยนแปลง ของกลุ่มชินคอร์ปที่มีต่อธุรกิจอินเทอร์เน็ต และทิศทางใหม่ที่จะไป หลังจากที่ไม่ประสบ ความสำเร็จในธุรกิจเว็บท่า จนต้องหมดเงินไปไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท

การเลือกจับมือกับมิตซูบิชิ ก็กำลังเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ชินคอร์ปกำลังตอกย้ำไปความพยายามที่ต้องการมุ่งไปสู่พื้นฐานของธุรกิจที่เป็นจริง และทำรายได้ ไม่ใช่ยอด hitrate เหมือนที่เคยเป็นมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us