Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2547
Art Market             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

หอศิลป์เจ้าฟ้า
Crafts and Design




หอศิลป์เจ้าฟ้าที่เคยเงียบเหงา ดูคึกคักขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อกลายเป็น "ตลาดนัดศิลปะ" ให้ผู้คนได้เข้ามาร่วมชื่นชมผลงานของบรรดาศิลปินหน้าใหม่ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ของเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

เป็นกิจกรรมดีๆ ที่สร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้นกับหนุ่ม-สาวหน้าใส ทั้งรุ่นน้องรุ่นพี่ร่วมวงการศิลปินจำนวนมาก เพราะมีโอกาสนำเอาผลงานเก่าเก็บและผลงานใหม่ๆ มาวางขาย หลังจากไม่รู้จะวางขายที่ไหนมานาน

เป็นโอกาสดีๆ ของผู้คนจำนวนมากที่จะได้ซื้อหาและนำศิลปะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยไม่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไกลเกินเอื้อม

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผลงานศิลปะที่มีชื่อเสียงล้วนเป็นผลงานของศิลปินดังที่รู้จักกันดีในสังคม ความมีชื่อเสียงของศิลปินได้ส่งผลโดยตรงต่อราคาชิ้นงานที่แพงขึ้น แน่นอนว่าการครอบครองจึงต้องอยู่ในวงจำกัดด้วย

ในขณะเดียวกันศิลปินรุ่นใหม่ที่ขาดเวทีสำหรับนำเสนอผลงาน ต้องไปเช่าสถานที่ของเอกชนในราคาสูง จำเป็นต้องขายผลงานแพงตามไปด้วย ผลพวงก็คือ ขายงานได้ยาก มีปัญหาต่อเนื่องในการทำอาชีพนี้มาโดยตลอด

การที่กระทรวงวัฒนธรรมให้สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจัดหาพื้นที่สำหรับแสดง และจัดจำหน่ายผลงานศิลปะ โดยเน้นไปที่การคัดเลือกศิลปินรุ่นใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี โดยได้กำหนดแผนงานไว้ว่า จะจัดให้มีตลาดนัด ศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยระยะแรกตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม 2547 จะใช้พื้นที่บริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า สำหรับจำหน่ายผลงานและกิจกรรม สาธิตเทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

พอย่างเข้าหน้าฝนคงต้องหาสถานที่แห่งใหม่ รวมทั้งมีแผนจะจัดเป็นนิทรรศการศิลปะ (Art Fair) ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ปีละ 2 ครั้ง อีกด้วย

ตลาดนัดศิลปะที่เกิดขึ้นได้คัดเลือกผลงานศิลปะหลากหลาย สาขาของศิลปินที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบผู้อื่นและเป็นต้นฉบับ ราคาที่ตั้งไว้จะเป็นหลักร้อย และหลักพัน เป็นส่วนใหญ่ มีจำนวนบูธทั้งหมดประมาณ 200 บูธ

ศิลปินที่เข้าร่วมงานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากขายได้ ทางสำนักงานจะหัก 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาผลงานที่แจ้งเอาไว้ เพื่อเป็นต้นทุนในการหาที่จัดแสดงในครั้งต่อไป

จำนวนรูปทั้งหมดที่ขายได้ในเวลา 2 สัปดาห์ ราว 1,800 ภาพ เป็นเงินประมาณ 1.9 ล้านบาท

นับเป็นก้าวแรกที่นอกจากจะส่งเสริมให้ศิลปินทั้งหลายเกิดกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานแล้ว ยังมีส่วนกระตุ้นให้คนทั่วไปได้มีความรักความเข้าใจในงานศิลปะมากขึ้นด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us