Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
เลขหมายร้อน ๆ             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
search resources

Call Center




เลขหมายโทรศัพท์พิเศษ 4 หลัก กลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง เช่นเดียวกับการบูมของ call center

"สวัสดีค่ะพิซซ่าฮัท และเคเอฟซียินดีต้อนรับค่ะ "เสียงใสๆ ของพนักงาน รับโทรศัพท์ของพนักงาน call center ซึ่ง เป็นช่องทางขายหลักของธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ด ประเภทพิซซ่าฮัท ที่กำลังห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดในเวลานี้

ปัจจุบันเลขหมาย 4 หลัก ได้กลายเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบธุรกิจจำนวนมากที่ต้องการนำมาใช้ติดต่อศูนย์ call center โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ deli- very อย่างธุรกิจพิซซ่า วิทยุติดตามตัวหรือ แม้แต่ศูนย์บริการของโทรศัพท์เคลื่อนที่

เลขหมาย 4 หลักจัดเป็นเลขหมาย พิเศษที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) มีไว้ให้หน่วยงานราชการทั่วไปขอนำไปให้บริการสาธารณประโยชน์รวม ทั้งเอกชนที่จะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับ ให้บริการแก่คนจำนวนมากๆ

เดิมที ทศท.เคยอนุมัติเลขหมายพิเศษ 3 หลักให้กับหน่วยงานราชการ และเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริการวิทยุติดตามตัว ต่อมาในภายหลังเมื่อความต้อง การมีมากขึ้น แต่เลขหมายมีจำกัด ทศท.จึงต้องระงับการอนุมัติเลขหมายนี้ไปและเปลี่ยน มาให้บริการเลขหมาย 4 หลักแทน

เลขหมายโทรศัพท์ 3 หลักและ 4 หลัก นั้นมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจ วิทยุติดตามตัวนับเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ใช้เลขหมายโทรศัพท์ 3 หลัก เพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่าย เช่น เลขหมาย 151 และ 152 ของโฟนลิ้งค์ หรือเลขหมาย 161 และ 162 ของฮัทชิสัน หรือเลขหมาย 1500 และ 1501 ของบริการอีซี่คอล

แพ็คลิ้งค์ นับเป็นผู้ให้บริการวิทยุติด ตามตัวที่ต้องผ่านการต่อสู้มายาวนานกว่าจะได้เลขหมาย 4 หลัก คือ 1143 และ 1144 จากองค์การโทรศัพท์ฯ ไว้ให้บริการแก่ลูกค้า ทำเอาผู้บริหารในเวลานั้น คือ ดร.วรศักดิ์ วรภมร ถึงกับต้องล้มป่วยลงด้วยความเครียด อันเนื่องมาจากแรงบีบคั้นในฐานะผู้บริหารที่ไม่สามารถขอเลขหมายได้

การไม่ได้รับอนุมัติเลขหมาย 3 หลัก ได้กลายเป็นจุดอ่อนที่สำคัญให้กับแพ็คลิ้งค์ ที่ต้องตกเป็นรองคู่แข่งอย่างโฟนลิ้งค์ ที่แม้จะมาทำตลาดทีหลังแพ็คลิ้งค์หลายปี แต่อาศัยการตลาดในเชิงรุก และข้อได้เปรียบจากการมีเลขหมาย 3 หลักเติบโตแซงหน้าแพ็คลิ้งค์ไปได้สบายๆ

ว่ากันว่า มูลเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่แพ็คลิ้งค์ต้องเผชิญกับอุปสรรคมาตลอดนั้น มาจากความไม่ลงรอยกันของผู้บริหารของบริษัทแปซิฟิกเทเลซิส อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ของแพ็คลิ้งค์ และดร.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยเข้าร่วมธุรกิจแพ็คลิ้งค์ในช่วงเริ่มต้น แต่มาเกิดแตกคอกันขึ้น เมื่อเริ่มทำธุรกิจเป็นของตัวเอง สัมปทานวิทยุติดตามตัวจาก ทศท. เป็นหนึ่ง ในธุรกิจเริ่มแรกๆ ของกลุ่มชินคอร์ปที่ประสบ ความสำเร็จ

แต่มาในช่วงหลังเมื่อทั้งองค์การโทรศัพท์ฯ และการสื่อสารฯ อนุมัติสัมปทาน บริการวิทยุติดตามตัวแก่เอกชนรายอื่นๆ ทศท.จึงจำเป็นต้องอนุมัติเลขหมายพิเศษให้กับผู้ให้บริการเหล่านี้มากขึ้น แต่ยังมีข้อแตก ต่างระหว่างสัมปทานวิทยุติดตามตัวของทศท. ที่จะได้อนุมัติเลขหมาย 3 หลัก ในขณะที่ฝั่งกสท.จะให้อนุมัติเลขหมาย 4 หลัก

เลขหมายพิเศษ 4 หลัก กลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง เมื่อหลายธุรกิจหันมาให้ความสำคัญกับบริการ call center ที่กำลังเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ในการให้บริการ และเป็น ช่องทางการขาย ความต้องการใช้เลขหมาย 4 หลัก เพื่อให้สามารถจดจำได้ง่าย จึงกลาย เป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน

เอกชนบางรายที่คลุกคลีอยู่ในธุรกิจนี้ บอกว่า หากเป็นเลขหมายสวยๆ ถึงกับต้อง มีการประมูลผลที่ตามมาทำให้การลงทุนแพงขึ้น

เอกชนหรือหน่วยงานราชการ ที่จะต้องมีเลขหมาย 4 หลักไว้ใช้งาน จะต้องยื่นหนังสือขออนุญาตอย่างเป็นทางการไปที่ ทศท. ซึ่ง ทศท.มีการคณะกรรมการพิจารณา อนุมัติเลขหมายพิเศษ 4 หลักนี้เฉพาะ

ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้เอง ทศท. จึงได้กำหนดเงื่อนไขในการอนุมัติเลขหมาย 4 หลักใหม่ อย่างแรก ผู้ขอจะต้องเป็น ธุรกิจขนาดใหญ่ และต้องนำไปให้บริการแก่คนจำนวนมาก จะต้องใช้โทรศัพท์ 1 ล้านบาทต่อเดือนขึ้นไป และต้องมีสาขามากกว่า 2 แห่ง และเมื่อขออนุมัติแล้ว จะต้องมีการขอติดตั้งวงจรอย่างน้อย 30 วงจรขึ้นไป

ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเลขหมายจะ ประกอบไปด้วยค่าติดตั้ง 3,350 บาทต่อ 1 วงจร ค่าประกัน 3,000 บาทต่อ 1 วงจร และ ค่าเช่าวงจร E1 1,750 บาทต่อวงจรต่อ 1 เดือน

กรณีของธุรกิจขายพิซซ่า ก็ถือว่าเป็น บริการที่ให้กับคนจำนวนมาก และมีสาขาเป็นจำนวนมากอย่างนี้เราก็อนุมัติให้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการอนุมัติเลขหมาย 4 หลัก บอกกับ ผู้จัดการ

หากเป็นเอกชนที่มีธุรกิจขนาดใหญ่ การลงทุนในเรื่องคู่สาย E1 จึงไม่เป็นปัญหา แต่หากเป็นธุรกิจเล็กๆ ก็อาจจะเลือกที่จะใช้ เลขหมาย 7 หลัก ดังเช่นกรณีของศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ให้เหตุผลของการเลือกใช้เลขหมาย 255-4433 แทนที่จะเป็นเลขหมาย 4 หลักเหมือนกับ call center ที่อื่น ประหยัดเงิน และดูแลเองได้ง่ายกว่า

ในขณะที่บางธุรกิจอาจต้องเลือกใช้เลขหมาย 4 หลัก เพื่อประโยชน์ทางการค้า และการแข่งขัน ต่อการสร้างความจดจำให้กับลูกค้า และนี่เองที่ทำให้เลขหมาย 4 หลัก กลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us