Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2547
ไวน์ไทย จากดินแดนแห่งมรสุม             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

ชีวิตในรุ่นองุ่นของ คิม ว้าซไฟท์

   
www resources

โฮมเพจ สยามไวเนอรี่ เทรดดิ้ง พลัส - Siamwinery

   
search resources

เครื่องดื่มกระทิงแดง, บจก.
สยาม ไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส, บจก.
คิม ว๊าซไฟท์, มร.
เฉลิม อยู่วิทยา
Wine




"The perfect complement to Thai cuisine" เป็นเพียงกลยุทธ์ทางด้านการตลาดที่ชัดเจนก้าวแรกของ Monsoon Valley Wine โดยมีเป้าหมายต่อไปคือ ร้านอาหารสไตล์เอเชียทั่วโลก การกลับมาเมืองไทยอย่างถาวร เพื่อสร้างความฝันในวงการอุตสหกรรมไวน์ไทยให้เป็นจริงของ เฉลิม อยู่วิทยา ประธานกลุ่มกระทิงแดง จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย

เฉลิม อยู่วิทยา ประธานกรรมการบริษัทกระทิงแดง กล่าวในวันเลี้ยงอาหารไทยฝีมือ "หมึกแดง" ม.ล.ศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ กับไวน์ไทย แบรนด์ Monsoon Valley ว่า

ชีวิตนี้เขามีความฝันอยู่ 3 อย่าง คือ 1. การนำสินค้าไทยไปบุกตลาดต่างประเทศ ซึ่ง "Red Bull" ได้ทำสำเร็จมาแล้ว

2. ฝันว่าวันหนึ่ง โลโกของ Red BuII ต้องไปผงาดติดอยู่บนรถแข่งของ ฟอร์มูล่า วัน ซึ่งเขายืนยันว่าภายในปีหน้า ความฝันนี้จะต้องเป็นจริง

และความฝันที่ 3 ก็คือต้องการให้เมืองไทยมีอุตสาหกรรมไวน์เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

12 ปีที่ผ่านมา เวลาส่วนใหญ่ของเฉลิมอยู่ในประเทศอังกฤษ เพื่อทำตลาด Red Bull อย่างเต็มตัว วันนี้เขาเดินทางกลับมาอยู่เมืองไทยอย่างถาวร เพื่อเริ่มวางระบบและถักทอความฝันอย่างที่ 3 ของเขาให้เป็นจริง

เฉลิมมองเห็นโอกาสความเป็นไปได้ของไวน์ไทย เมื่อ 20 ปีที่แล้ว จากเด็กไทยคนหนึ่งที่ไปเติบโตและใช้ชีวิตท่ามกลางวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของเมืองอังกฤษ ทำให้เขาคุ้นเคยกับเรื่องของไวน์มานาน

เมื่อปี 2525 โรงงานผลิตไวน์ของเฉลิมเกิดที่ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ภายใต้ชื่อบริษัทสยามไวเนอรี่ โดยร่วมมือกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อทดลองปลูกองุ่น และวิจัยสายพันธุ์ตั้งแต่ตอนนั้น ต่อมาในปี 2538 ซื้อที่ดินแห่งใหม่อีกประมาณ 300 ไร่ในจังหวัดสมุทรสาครเป็นโรงงานผลิตในปัจจุบัน

"ตอนแรกผมคิดว่าจะทำไวน์เลย แต่ไม่มั่นใจตลาดเพราะคนไทยส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับไวน์ ก็เลยคิดว่าจะทำเหล้าองุ่น ดีกรีต่ำ รสชาติกลมกล่อม เพื่อให้คนไทยได้ชินกับเหล้าหมักที่ทำจากผลไม้ก่อน สปาย ไวน์ คูลเลอร์ ก็เลยเกิดขึ้น"

ท่ามกลางสายลมเย็นจากแม่น้ำเจ้าพระยา และเครื่องดนตรีที่ขับกล่อม เฉลิมเริ่มต้นเล่าเรื่องของบริษัทด้วยท่าทีสบายๆ ดูเหมือนว่าอาหารไทยรสชาติดีฝีมือ หมึกแดงกับ Monsoon Valley Red ปี 2544 ทำให้เขารู้สึกผ่อนคลาย และพร้อมจะพูดคุย แต่ไม่ก่อนที่จะออกตัวว่า เขาชอบอยู่เงียบๆ ไม่ชอบให้สัมภาษณ์ และไม่ค่อยออกงานสังคมเท่าไรนัก

ดูเหมือนว่าตระกูล "อยู่วิทยา" จะมีวิธีคิดเรื่องเก็บตัวนี้คล้ายๆ กันหมด

ในช่วงสปายกำลังทำตลาดในเมืองไทยและขยายไปประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เฉลิมกำลังลุยตลาดของกระทิงแดงในต่างประเทศ เมื่อ "ชาตอง" (Chatemp) ไวน์ตัวแรกที่ผลิตออกมาเมื่อปลายปี 2541 เพื่อทดลองขายในตลาดเมืองไทยเกิดขึ้น จึงไม่ค่อยคุ้นหูคนไทยนัก

ในปี พ.ศ.2546 "Monsoon Valley Wine" ไวน์ ตัวใหม่ได้เปิดตัวและวางแผนบุกตลาดอย่างจริงจัง พร้อมกับการกลับมาเมืองไทยอย่างเต็มตัวของเฉลิม อยู่วิทยา

"ผมมั่นใจว่าคนไทยทำไวน์ได้ดี และมั่นใจว่าไวน์ ไทยไปกับอาหารไทยได้แน่นอน เพียงแต่ต้องเปลี่ยนชื่อให้มันสอดคล้องกับแหล่งที่มาคำว่า มอนซูน (Monsoon) หรือมรสุมนั้นฝรั่งฟังปั๊บ ก็รู้เลยว่าเป็นไวน์มาจากแถบทวีปเอเชีย"

มอนซูน แวลลีย์ ทำมาจากองุ่นพันธุ์ที่ดีที่สุดจาก "หุบเขาแห่งมรสุม" และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยวิธีปลูกในท้องร่องสวน "Floating vineyards" ซึ่งไม่เหมือนที่ไหนในโลก ภาพสาวชาวไร่นุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนยาว สวมงอบพายเรือเข้าไปฉีดยา ฉีดน้ำ คือความเป็นมาและเรื่องเล่าอันแตกต่างที่น่าภูมิใจ

การทำไวน์ในโลกเก่าที่มีประวัติความเป็นมานาน นับหลายร้อยปี กำลังถูกท้าทายด้วยกรรมวิธีแบบใหม่ ที่มีอายุเพียงไม่กี่สิบปี

กรรมวิธีการปลูกองุ่นในท้องร่องสวน ถูกบันทึกไว้ใน FarEastern Economic Review ฉบับวันที่ 19 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2004

โลโกหลังคาเรือนไทยแบบเดิม ถูกเปลี่ยนใหม่เป็น ภาพวาดไร่องุ่นท่ามกลางหมอกควัน ฝีมือศิลปินหญิงชรา ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง พร้อมกับโฟกัสตลาดชัดเจน ภายใต้แนวคิด "The perfect complement to Thai cuisine"

อาหารไทยที่โด่งดังไปทั่วโลก ต้องรับประทานพร้อมกับไวน์ไทยรสชาติดี อาหารไทยอาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำตลาดไวน์ตัวนี้ แต่เป้าหมายสุดท้ายของมอนซูน แวลลี่ย์ ไวน์ อยู่ที่เอเชียน ฟู้ด ซึ่งรวมไปถึง อาหารอินเดีย และอาหารเอเชียจากประเทศอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศสมุนไพรและวิธีปรุงที่คล้ายคลึงกัน

คิม ว้าชไฟท์ ได้เข้ามาช่วยเฉลิมทำเรื่องตลาดทั้งในและต่างประเทศ เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนการโรงแรมในประเทศสหรัฐอเมริกา เคยเป็นผู้จัดการด้านอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในนิวยอร์ก มีความรู้ด้านบริหารจัดการ และยังมีความคิดในเรื่องการทำตลาดต่างประเทศ

"เจอกันครั้งแรกก็คุยเข้าใจกันเร็วมาก มองไปในเรื่องเดียวกัน และผมก็มองว่างานมันท้าทายดี และมีความเป็นไปได้อย่างมาก"

คิม คือ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจคนแรกของบริษัทนี้ ก่อนหน้านี้ เฉลิมมีเลอรอง เมช โตแปง ชาวผรั่งเศส ผู้ชำนาญในการผลิตและบ่มไวน์ และมีอาชีพเป็นผู้แนะนำไวน์ในบอร์โด และเป็นผู้ชำนาญในการผลิตไวน์ในปารีสและโบโจเลย์ เข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์สปายให้กับบริษัท ตั้งแต่ปี 2539 ช่วยดูเรื่องของไวน์ตัวอื่นๆ ด้วย รวมทั้งดูตลาดต่างประเทศส่วนหนึ่งให้ด้วย

วัฒนธรรมการดื่มไวน์กับอาหารเป็นเรื่องที่ชาวยุโรปเข้าใจได้ง่าย และทำตลาดได้เร็วกว่าในเมืองไทย มอนซูน แวลลีย์ ไวน์ จึงได้บุกร้านอาหารไทยในต่างประเทศเป็นหลัก เช่นในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีประมาณ 1,000 ร้าน รวมทั้งร้านอาหารไทยในประเทศเดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ และเยอรมนี ส่วนตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา จะไปพร้อมกับการทำตลาดของเบียร์สิงห์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว

บลูเอเลเฟ่นท์ ร้านอาหารไทยชื่อดังในต่างประเทศ มีมอนซูน แวลลีย์ ไวน์ ขายทั้ง 11 สาขา ยกเว้นสาขาในตะวันออกกลาง ส่วนร้านภัทรา สาขาที่กรุงเจนีวา เพิ่งเซ็นสัญญาสั่งซื้อล็อตแรกไปเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เช่นกัน

พร้อมๆ กันนั้นก็ได้วางแผนแทรกซึมเข้าไปในโรงแรมระดับ 5 ดาวและร้านอาหารไทยชื่อดังในเมืองไทย

การลงลึกในรายละเอียดว่าอาหารประเภทไหน เหมาะสมหรือเข้ากันได้ดีกับไวน์ตัวไหน จึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องอธิบายให้ผู้บริโภคเข้าใจ เฉลิม อยู่วิทยา ได้ดึงเอาหม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ หรือ "หมึกแดง" เข้ามาช่วยในเรื่องนี้

Monsoon Valley White 2544 สีทองอมเขียวจางๆ ผลิตจากองุ่นขาว พันธุ์มะละกา

บลอง เหมาะกับแกง เช่น แกงเขียวหวาน แกงมัสมั่น และอาหารทะเล

Monsoon Valley Red 2544 สีแดงทับทิม ผลิต จากองุ่นแดงพันธุ์ดี ป๊อกดำ ชิราช แลมุตกาสสีดำ เหมาะกับยำ ลาบ และอาหารรสจัด

Monsoon Valley Shiraz Special Reserve 2544 องุ่นพันธุ์ชีราช 100 เปอร์เซ็นต์ จากไร่องุ่นเชิงเขา อำเภอปากช่อง เหมาะสำหรับอาหารประเภทเนื้อและแกะ

การแนะนำ มอนซูน แวลลี่ย์ ไวน์ ไปพร้อมกับอาหารไทย ต่อสื่อมวลชน และเชฟชื่อดังทั้งในประเทศ และต่างประเทศ คือกิจกรรมที่จะมีอย่างต่อเนื่อง

"ตอนนี้บริษัทไวน์ดังของโลกบางรายเริ่มโฟกัสว่า ไวน์ของเขาเหมาะกับอาหารของเอเชียเหมือนกัน เพราะเขารู้ดีว่าเทรนด์อาหารเอเชียกำลังมาแรง ทั้งที่ก็คือไวน์ตัวเดิมนั่นล่ะ ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่เลย" คิม อธิบายภาพการแข่งขันที่เกิดขึ้น

ปัญหาอย่างหนึ่งของไวน์ไทยคือเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีแพงมาก ทำให้เสียเปรียบในการทำตลาดแข่งกับไวน์นำเข้าตัวอื่นๆ

เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ที่ผ่านมา มอนซูน แวลลีย์ ไวน์ ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ พร้อมกันใน 3 ทวีปคือ กรุงเทพฯ มหานครนิวยอร์ก และกรุงลอนดอน และในปลายปีเดียวกันนั้น มอนซูน แวลลีย์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นไวน์ที่ใช้เสิร์ฟให้กับผู้นำระดับประเทศในการประชุมเอเปกที่ประเทศไทย

ในปี 2542 สยามไวเนอรี่ เทรดดิ้งพลัส ส่งออกไวน์ทั้งหมด 10,190 ขวด เมื่อปีที่แล้วส่งออกประมาณ 80,004 ขวด แต่ปีนี้ตั้งเป้าไว้ถึง 3 แสนขวด

นักท่องเที่ยวเป็นลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่บริษัทตั้งเป้าหมายไว้ "มาเมืองไทย ทานอาหารไทย และซื้อไวน์ไทย" คือสิ่งที่ต้องโปรโมตกันต่อไป

ด้านการผลิตทีมงานเก่าแก่ส่วนหนึ่งของบริษัทที่ทำงานมานานกับสปาย กำลังเรียนรู้เรื่องสายพันธุ์องุ่น การบ่ม และการหมักอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบด้วยคอมพิวเตอร์ ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า สายพันธุ์ใหม่ๆ ขององุ่นและวิธีการที่เปลี่ยนไป อาจสร้างแบรนด์ใหม่ให้เกิดขึ้นได้อีกอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันบริษัทรับซื้อไวน์จากเกษตรกรประมาณ ปีละ 3 ล้านกิโลกรัม เพื่อนำมาใช้ทั้งในส่วนของไวน์ และสปาย

เฉลิมได้ซื้อที่ดินเพื่อทดลองปลูกองุ่นพันธุ์ต่างๆ ไว้หลายแปลง เพื่อเตรียมรองรับการเติบโตของตลาดไวน์ เช่น อำเภอทับกวาง อำเภอปากช่อง ปัจจุบันบริษัทยังซื้อองุ่นจาก ชาวบ้านเป็นหลัก โดยสนับสนุนการให้สายพันธุ์ไปปลูก และมีการประกันราคาซื้อ ด้วยวิธีนี้ทำให้ต้นทุนการผลิตถูกกว่าการลงทุนปลูกองุ่นเอง เขาบอกว่าชาวบ้าน คือผู้รู้จักธรรมชาติขององุ่นแต่ละสายพันธุ์ดีที่สุด และยังเฝ้าดูแลรักษาเป็นอย่างดี และบริษัทสามารถคัดเลือกซื้อจากเจ้าที่มีองุ่นที่ดีที่สุดเท่านั้น

ดูเหมือนว่าเฉลิม อยู่วิทยา ใจเย็นพอที่จะนั่งจิบไวน์วางกลยุทธ์การตลาดไปอย่างช้าๆ และมั่นคง พร้อม กับการสร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มเจ้าของไวน์ จากบริษัทอื่นๆ เพื่อร่วมมือกันผลิตไวน์ไทยที่มีคุณภาพ และเตรียมเดินหน้าต่อรองเรื่องภาษีกับรัฐบาลเพื่ออาชีพอันมั่นคงต่อเนื่องของเกษตรกรไทย

เมื่อถึงเวลานั้น ความฝันอย่างที่ 3 ของเขาคงเกิดขึ้นได้จริง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us