หากถามบรรยง พงษ์พานิช ว่า ในการวัดว่ากรณีการผลของการ Underwrite หุ้น
จะมีปัจจัยอะไรที่บ่งชี้ได้ว่าการ Underwrite ครั้งนั้นถือว่าประสบผลสำเร็จ
เขาจะตอบเพียงสั้นๆ ว่า "ขายได้หมด ขายได้ในราคาที่เหมาะสม และการกระจายขายหุ้นถูก และตรงกับพฤติกรรมของผู้จองซื้อ"
ปัจจัยในเรื่องนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตายตัว บางคนก็มองว่าการ Underwrite
หุ้น จะดูผลสำเร็จได้ต้องวัดจากราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในวันแรกที่หุ้นเข้าตลาดฯ
หากราคาต่ำกว่าจอง ก็ถือว่าไม่สำเร็จ แต่หากราคายืนได้เหนือกว่าจอง ก็ถือว่าสำเร็จ
และยิ่งราคาพุ่งขึ้นสูงกว่าราคาจองมากกว่า 20% ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ซึ่งการมองเช่นนี้เป็นการมองแบบฉาบฉวยอย่างนักเก็งกำไร
แง่คิดหนึ่งที่น่าสนใจคือการวัดผลสำเร็จของการ Underwrite หากวัดกันที่ราคา
ราคาที่ซื้อขายวันแรก ไม่ควรจะต่ำกว่าราคาจอง และในช่วง 2 เดือนแรกที่มีการซื้อขายราคาไม่ควรเพิ่มสูงกว่าราคาจองเกิน
20%
เพราะหากราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างหวือหวา หรือเกินกว่า 20% แสดงให้เห็นว่า
Underwriter รายนั้นบกพร่องและทำงาน ผิดพลาดที่กำหนดราคาจองต่ำเกินไป จนบริษัทผู้ออกหุ้น ซึ่งควรจะได้รับส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเสียหาย ได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่
!!!