Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน22 มีนาคม 2547
SETดันตั้งตลาดอนุพันธ์             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
กิตติรัตน์ ณ ระนอง
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
Stock Exchange




"กิตติรัตน์" เผยบอร์ดไฟเขียววงเงิน 1,000 ล้านบาทจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องถือหุ้นเกิน 50% แต่ไม่ปิดกั้นสถาบันอื่นใครสนเชิญ คาดทดสอบระบบซื้อขายปลายปีนี้ เริ่มซื้อขายจริงพ.ค.48 เพียงแต่อาจไม่ทันให้บริการนักลงทุน ทั่วไปตามที่รมว.คลังต้องการ ด้าน "ธีระชัย" เผย รมว.คลัง ให้นโยบายเน้นพัฒนาตลาดทุนให้มากขึ้นจากเดิมที่แก้ปัญหาเร่งด่วนที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบและนักลงทุน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า คณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์ได้มีมติให้ตลาดหลักทรัพย์ฯให้การสนับสนุนทางด้านการเงินเพื่อจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้า หรือ ตลาดอนุพันธ์ (derivatives) โดยได้อนุมัติงบประมาณเพื่อการจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ เป็นเงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งในระยะแรกคาดใช้เงินลงทุนประมาณ 300 ล้านบาทในการจัดตั้ง และมีงบประมาณสำรองไว้อีก 700 ล้านบาทเพื่อเป็นงบประมาณในการบริหาร

ทั้งนี้ ในระยะแรกจะต้องมีการติดตั้งระบบการซื้อขาย การชำระราคาค่าซื้อขายหุ้นแบบสุทธิ (เคลียริ่ง) และค่าใช้จ่ายในการบริหารต่างๆ เช่นการบริหารบุคลากร และการพัฒนาระบบเทคโนโลยี ซึ่งงบประมาณที่ใช้ทั้งหมด ตลาดหลักทรัพย์อาจเป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียว

"ในการจัดตั้งตลาดซื้อขายล่วงหน้านั้นสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ สามารถแจ้งประสงค์ในการร่วมในการจัดตั้งตลาดได้ แต่ตลาดหลักทรัพย์จะต้องเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วนมากกว่า 50% เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดตั้งและการบริหารงาน ขณะเดียวกันตลาดหลักทรัพย์ก็มีความพร้อมที่จะเป็นผู้ถือหุ้นทั้ง 100%" นายกิตติรัตน์ กล่าว

นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า คาดว่าจะสามารถดำเนินการทดสอบระบบซื้อขายได้ประมาณปลายปี 2547 และเริ่มดำเนินการซื้อขายจริงในเดือนพ.ค.48 เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการทดสอบระบบ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต แต่เชื่อว่าจะไม่สามารถเปิดดำเนินการให้แก่นักลงทุนทั่วไปได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งใจให้ทันปีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ในฐานะแกนนำการจัดตั้งตลาดอนุพันธ์ก็ต้องเร่งดำเนินงานให้เร็วที่สุด

ส่วนสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์(โบรกเกอร์) ในปัจจุบันที่ต้องการทำธุรกิจด้านนี้สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกได้ แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการเป็นสมาชิก ซึ่งรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ด้วย และการเข้ามาเป็นสมาชิกโดยตรงของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่โบรกเกอร์อาจจะต้องมีการพิจารณาคุณสมบัติที่เหมาะสมประกอบด้วย

สำหรับสินค้าที่อนุญาตให้มีการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์เบื้องต้นจะเป็นประเภทฟิวเจอร์ หรือ ดัชนีซื้อขายล่วงหน้า อินเด็กซ์ ออปชัน (INDEX OPTION) และการซื้อขายอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้า (INTEREST FUTURES ) เป็นต้น

นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯยังได้พิจารณานำใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ประเภท เดริเวทีฟวอร์แรนต์ (ดี-วอแรนท์) และคัฟเวอวอร์แรนต์ (ซี-วอร์แรนต์) ซึ่งถือเป็นสินค้าประเภทป้องกันความเสี่ยงเข้าไปซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ด้วย เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์ถือเป็นตลาดเพื่อการระดมทุน ขณะที่ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ทั้งสอง ประเภทไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการระดมทุน

ดังนั้นเป็นไปได้ว่าอาจพิจารณานำหลักทรัพย์ดังกล่าวไปซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ แต่ทั้งนี้จะต้องหารือกับคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ก่อน

ด้านคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีมติเมื่อวันที่ 17 มี.ค.47 เห็นชอบในหลักการของเกณฑ์การอนุญาต ประกอบ ธุรกิจเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยเปิดโอกาสให้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ หรือประเภทการค้าหลักทรัพย์ที่ไม่จำกัดเฉพาะตราสารหนี้

บริษัทจัดตั้งใหม่ที่มีธนาคารพาณิชย์ หรือ บริษัทหลักทรัพย์ที่มีลักษณะข้างต้น รายใดรายหนึ่งถือหุ้น 75% ขึ้นไป สามารถขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (เดริเวทีฟ โบรกเกอร์ : derivative broker) ทั้งในและนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

โดยหากเป็นการให้บริการนอกศูนย์ซื้อขายฯ สามารถให้บริการได้แต่เฉพาะลูกค้าประเภทสถาบันเท่านั้น ทั้งนี้ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องมีความ พร้อมทั้งด้านเงินทุน ระบบงาน และบุคลากร

นอกจากนี้คณะกรรมการ ก.ล.ต. ยังมีมติให้ปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเป็นเดริเวอร์ทีฟโบรกเกอร์ หรือผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (เดริเวอร์ทีฟดีลเลอร์) โดยเพิ่มเติมให้บริษัทจัดตั้งใหม่ที่มีธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์รายใดรายหนึ่งถือหุ้น 75% ขึ้นไปสามารถขอจดทะเบียนเป็นเดริเวอร์ทีฟโบรกเกอร์หรือเดริเวอร์ทีฟ ดีลเลอร์ได้ เพื่อให้บริการแก่เฉพาะลูกค้าประเภทสถาบันและเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นนอกศูนย์ซื้อขายฯ

ส่วนสถาบันการเงินต่างประเทศสามารถขอจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจเดริเวอร์ทีฟ ดีลเลอร์ โดยไม่ต้องจัดตั้งนิติบุคคลใหม่ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าประเภทสถาบันและเป็นธุรกรรมที่เกิดขึ้นนอกศูนย์ซื้อขายฯ ทั้งนี้สถาบันการเงินดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทนี้ได้ในประเทศของตน และมีคุณสมบัติในเรื่องเงินทุน ระบบงาน และบุคลากรด้วย

ด้าน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า หลังจากที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทางสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายในการทำงาน ซึ่งจะต้องเน้นการกำกับดูแลในแง่ของการพัฒนาตลาดทุนให้มากขึ้นจากเดิมที่จะแก้ปัญหาในเรื่องเร่งด่วนก่อนที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือผลกระทบโดยรวมและต่อนักลงทุน

ทั้งนี้รมว.คลังได้ให้นโยบายกับ ก.ล.ต. ว่า ให้กลับไปศึกษาเพิ่มเติมในการพัฒนาโดยเฉพาะให้มีผู้ลงทุนสถาบันในประเทศมากขึ้นเพื่อให้มีการลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น เนื่องจากจะช่วยลดสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนโดยตรง และทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างนักลงทุนรายย่อยกับนักลงทุนต่างประเทศ

รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นตลาดบอนด์ ตลาดตราสารหนี้และกองทุนรวมซึ่งทางสำนักงานก.ล.ต.รับไปพิจารณาเพื่อแนวทางในทางปฏิบัติดังกล่าว โดยตลาดตราสารหนี้จะเพิ่มบทบาทของศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย และพัฒนาเครื่องมือสร้างสภาพคล่องให้แก่ตลาดตราสารหนี้

ส่วนกองทุนรวมจะเน้นการปรับปรุงหนังสือ ชี้ชวนและรายงานการเปิดเผยข้อมูลให้เข้าใจง่าย การบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวม และการให้ความรู้ผู้ลงทุน ขณะที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำนักงานก.ล.ต.จะเร่งจัดตั้งศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าให้เสร็จและเปิดซื้อ ขายได้ภายในปี 2548

"ถึงแม้การทำงานของสำนักงานก.ล.ต. มีกฎหมายกำกับบทบาทและหน้าที่ทั้งการกำกับดูแลและการพัฒนาตลาดทุนอยู่แล้วแต่ท่านรมว.คลังก็ให้กลับไปหาวิธีในการพัฒนาตลาดทุนให้มากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดทุนในอนาคต และท่านยังให้กรมสรรพากรไปศึกษาการจูงใจให้ประชาชนมาลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งเป็นกองทุนปิดระยะยาวและบริหารโดยมืออาชีพ เพื่อพัฒนาตลาดหุ้นไทยไปอีกระดับหนึ่ง ด้วย" นายธีระชัยกล่าว

อนึ่ง ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยสัดส่วนมากกว่า 50% เป็นการซื้อขายจากนักลงทุนรายย่อย ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศมีปริมาณซื้อขายราว 20% ส่วนสถาบันมีสัดส่วนซื้อขายที่ประมาณ 13% เท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us