Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
กิตตินันท์ สำรวจรวมผล "ผมเป็นแค่ตัวกลาง"             
โดย ฐิติเมธ โภคชัย
 


   
search resources

กิตตินันท์ สำรวจรวมพล




เชื่อหรือไม่ว่านักวิเคราะห์ คือ แก้ววิเศษที่บอก
สัญญาณใดๆ ออกมาได้ ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะมองแก้วตัวเองในมุมไหน เพราะประสบการณ์และพื้นฐานแตกต่างกัน
แต่พวกเขาไม่ได้บอกว่าถูกหรือผิด

กิตตินันท์ สำรวจรวมผล Head of Research แห่งซาโลมอน สมิธ บาร์นี ประจำประเทศไทย นักวิเคราะห์วัยหนุ่มผู้ซึ่งเชี่ยวชาญการวิเคราะห์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และซีเมนต์ เขาเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการโปรโมตจากสถาบันการเงินข้ามชาติสัญชาติอเมริกันแห่งนี้

บทบาทหน้าที่ของกิตตินันท์ คือ การ organizer เกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักทรัพย์ ต้องรับผิดชอบงานทุกอย่างเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เขาชี้ "ผมไม่อยากบอกว่าเป็นผู้จัดการ แต่เป็น co-ordinator มากกว่า"

แม้ว่าเขาทำหน้าที่วิเคราะห์หลักทรัพย์ แต่ความจริงแล้วซาโลมอน สมิธ บาร์นีกลับไม่เรียกตัวเองว่าเป็นโบรกเกอร์ แต่มองว่าเป็นวาณิชธนกิจ (investment bank :IB) ทำหน้าที่ต่างจากโบรกเกอร์ตรงที่มีการเกี่ยวข้องกับตลาดแรก ขณะที่โบรกเกอร์ทำงานกับตลาดรอง

"นักวิเคราะห์ของเราแต่ละคนจะมีความรู้ด้านตลาดรองและตลาดแรกด้วย " บทบาทของกิตตินันท์ไม่ใช่แค่เพียงการวิเคราะห์หลักทรัพย์อย่างเดียว แต่ต้องแสวงหาโอกาสว่าบริษัทไหนต้องการออกหุ้นหรือเพิ่มทุนอีกด้วย

อย่างไรก็ดี สภาพเศรษฐกิจไทยปัจจุบันอาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการหาโอกาสให้แก่กิตตินันท์มากนัก โดยเฉพาะการทำงานในตลาดแรก อีกทั้งเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังตกต่ำ ส่งผลให้สถาบันการเงินท้องถิ่นลดบทบาทนักวิเคราะห์ลง ขณะที่สถาบันการเงินข้ามชาติกลับให้ความสำคัญแก่นักวิเคราะห์

เรามองตรงนี้ว่าเป็น global trend ซึ่งก่อนวิกฤติเศรษฐกิจสังเกตได้ว่าโบรกเกอร์ข้ามชาติ ที่เข้ามาทำงานในไทยส่วนใหญ่เป็นสัญชาติยุโรป แต่หลังวิกฤติกลับกลายเป็นสัญชาติอเมริกัน กิตตินันท์บอก

นี่คือแนวโน้มที่เขามองเห็นอย่างเด่นชัด เนื่องจากโบรกเกอร์อเมริกันมองตนเองว่าเป็นวาณิชธนกิจ รายได้จะชดเชยกันได้ เขาชี้ ทั้งๆ ที่ช่วงเศรษฐกิจขาลงธุรกิจโบรกเกอร์ซบเซา แต่มีธุรกิจอื่นเข้ามาทดแทน เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มทุนหรือควบรวมกิจการ

หมายความว่าโลกธุรกิจในปัจจุบันเป็นของตลาดแรกโดยเฉพาะธุรกิจควบรวมกิจการ (M&A) มากกว่าการซื้อขายหุ้น นี่คือความคิดของ Global Investment Bank

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าการทำงานของกิตตินันท์จะมีความกดดันพอสมควรท่ามกลางเศรษฐกิจที่ง่อนแง่น เนื่องจากบทบาทของเขา คือ การวินิจฉัยโรค แน่นอนเมื่อตลาดหุ้นไม่ดีเราก็ไม่ดีตามไปด้วย เป็นความเครียดเวลาสิ่งที่จะเดินไปข้างหน้าแล้วเชื่องช้า

ว่ากันว่าบทบาทของนักวิเคราะห์ย่อมมีความสำคัญต่อประเทศโดยรวม แต่กิตตินันท์ยังมองอาชีพตัวเองไม่มีความสำคัญระดับดังกล่าว บอกเพียงว่าตัวเองเป็นตัวกลางในการกระจายข้อมูลข่าวสาร เป็นสื่อทำให้นักลงทุนเกิดความเข้าใจประเทศไทยให้ดีขึ้น

สาเหตุเกิดจากนักลงทุนต่างประเทศไม่ให้ความสนใจไทยเหมือนในอดีต หน้าที่ของพวกเราก็ต้องสร้างความเข้าใจว่าบรรยากาศการลงทุนในไทยเป็นอย่างไร

อีกมุมหนึ่งของกิตตินันท์ คือ การสร้างความเข้าใจให้กับบรรดาบริษัทท้องถิ่นด้วยว่าจริงๆ แล้ว capital market ที่นี่ต่างประเทศเขามองอย่างไร บางครั้งเราอยากจะบอกกับบริษัทไทยทุกแห่งว่าทำไมเราควรมีบรรษัทภิบาล หรือต้องดูแลผู้ถือหุ้นให้ดีกว่าในปัจจุบัน

ปัญหาของนักวิเคราะห์ คือ อยากเห็นการพัฒนาตลาดหุ้นเพราะพวกเขามองว่าการดำเนินธุรกิจที่ยังยึดติดกับวัฒนธรรมเก่าๆ หรือผู้บริหารท้องถิ่นบางคนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนอย่างแท้จริง

อีกทั้งตัวตลาดหุ้นเองก็ต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กับนักลงทุน ซึ่งความจำเป็นเร่งด่วน คือ การเพิ่มขึ้นของนักลงทุนสถาบันซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการข้อมูลสูงขึ้นด้วย รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ของทางการที่ควรตอบสนองได้ชัดเจน และตลาดหุ้นต้องมีผลิตภัณฑ์ที่ดีด้วย

ช่วงหลังๆ พวกเราทำงานลำบากขึ้น เนื่องจากตลาดหุ้นไทยมีขนาดเล็กลงจากวิกฤติเศรษฐกิจ

ความลำบากดังกล่าว กิตตินันท์บอกว่าก่อนวิกฤติก็มีความลำบากเช่นเดียวกัน แต่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกัน ก่อนวิกฤติทุกคนมองโลกในแง่ดีแต่ลำบากในการแข่งขัน

หลังเกิดวิกฤติ แม้การแข่งขันจะลดลง แต่นักวิเคราะห์กลับลำบากตรงที่บางคนไม่เคยมีประสบการณ์ในบางสถานการณ์มาก่อน เช่น ก่อนวิกฤติงบบัญชีบางบริษัทอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดขององค์กร แต่หลังเกิดเหตุการณ์พวกเขาต้องมานั่งพิจารณาว่าตัวเองมีเงินสดเพียงต่อการบริหารหนี้หรือไม่

"ความจริงสถานการณ์ก่อนและหลังวิกฤติไม่ต่างกันเลย เพราะก่อนวิกฤติไม่มีใครมานั่งดูงบบัญชีเท่าไร " กิตตินันท์กล่าว

เหตุการณ์ดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับนักวิเคราะห์ในสถาบันการเงินท้องถิ่น เนื่องจากสถาบันการเงินข้ามชาติมักจะได้เปรียบในแง่เครือข่าย เห็นได้ชัดในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านวาณิชธนกิจที่ตลาดต่างประเทศมีความชำนาญและการพัฒนารวดเร็ว

"การวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์จะออกมาโดยมีมุมมองซึ่งบ้านเราอาจจะไม่เคยเจอมาก่อนเลย ไม่ได้หมายถึงเขาเก่งแต่เขาเห็นอะไรมากกว่า" กิตตินันท์ชี้ "งานวิเคราะห์ค่อนข้างจะเป็นงาน on the job training ต่อให้อ่านหนังสือมากมายหรือมีคนวางกรอบให้ทำ ท้ายที่สุดก็ต้องอาศัยประสบการณ์"

กิตตินันท์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยบอสตัน ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และหลังจากจบการศึกษาในปี 1986 แล้วกลับประเทศไทยเพื่อรับราชการทหารอากาศ ในฐานะนักวิเคราะห์ระบบฝ่ายคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลภูมิพล

ทำงานราชการได้ 3 ปีก็ลาออกเพื่อไปเรียนรู้ระบบงานภาคเอกชนในบริษัท GreenSpot (ประเทศไทย) ในปี 1991 ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริหารระบบข้อมูล

เมื่อเข้าไปทำเขาได้ค้นพบว่าเจ้าขององค์กรมีความเข้าใจ หรือมีต้องการให้ระบบเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการทำงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ไปทำอย่างอื่นซึ่งดีกว่ามานั่งรอว่าเมื่อไรเขาจะเข้าใจ

เมื่อความคิดของเขาไม่เป็นที่เข้าใจขององค์กรจึงลาออกไปศึกษาเอ็มบีเอที่สถาบันศศินทร์ ในปี 1993 ณ จุดนี้เขามองว่าเป็นการวางแผนการทำงานในอนาคต และอีกหนึ่งปีให้หลังเขาจบการศึกษาและเริ่มงานที่บลจ.กสิกรไทย ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และซีเมนต์ "จริงๆ แล้วไม่มีอะไร อยากเป็นโบรกเกอร์มากกว่า"

ทำงานที่บลจ.กสิกรไทยได้ปีเดียวก็ลาออกไปทำงานให้กับ บล. BZW-KT ในฐานะนักวิเคราะห์หลักทรัพย์อาวุโส ซึ่งสิ่งที่เรียนรู้ คือ การเป็นโบรกเกอร์ การสร้างการปฏิบัติงานที่ดี และความสัมพันธ์ระหว่างนักวิเคราะห์ มาร์เก็ตติ้งและลูกค้า

ปี 1997 กิตตินันท์เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ซาโลมอน สมิธ บาร์นี และก็ใช้เวลาเพียง 5 ปีในการสร้างประสบการณ์จนได้รับโปรโมตให้ดำรงตำแหน่งสำคัญในปัจจุบัน

หลายคนคิดว่านักวิเคราะห์ต้องนั่งอยู่หน้าจอแล้วดูตัวเลขแนวโน้ม ซึ่งไม่ผิดที่จะคิดเช่นนั้น แต่งานส่วนใหญ่ คือ ความสามารถในการเข้าใจว่าธุรกิจนี้จริงๆ แล้วจะขยายต่อไปและต้องทำอะไรบ้าง "เป็นงานที่เราจะต้องใช้ความสามารถทุกรูปแบบ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us