แบงก์ชาติ ยืนอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 14 วันไว้ที่ระดับเดิม 1.25% เหตุเศรษฐกิจไทยไตรมาส
4 พุ่งต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปีนี้ พร้อมปรับตัวเลขการประเมินผลกระทบจากการแพร่
ระบาดไข้หวัดนกฉุดจีดีพีลงจาก 0.2% เป็น 0.4% ด้านเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี
ดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง
นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ
14 วัน (อาร์/พี) ไว้ที่ระดับ 1.25% ต่อปีเช่นเดิม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของไตรมาสที่
4 ได้ขยาย ตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับภาวะของเศรษฐกิจเดือนมกราคมยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญเพราะยังเป็นสถาน การณ์ที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจ
และรักษาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานให้ได้ตามเป้าหมาย
ขณะเดียวกัน การที่คงอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี จะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง
และรักษาอัตราเงิน เฟ้อพื้นฐานให้ได้ตามเป้าหมาย
สำหรับการระบาดที่เกิดโรคไข้หวัดนกระบาดในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา และสถาน การณ์ความไม่สงบในเขตพื้นที่ภาคใต้ที่ส่งผลให้
ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและประชาชนลดลงนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ ซึ่ง ธปท. ได้ทำการประเมินผลกระทบ จากสิ่งดังกล่าวแล้วพบว่า การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(จีดีพี) ลดลง -0.2 ถึง - 0.4% ซึ่งมากกว่าที่ได้ประมาณการไว้จากเดิม -0.2% เพราะก่อนหน้านี้
ธปท.ได้รวมแต่ผลกระทบจากการส่งออก แต่ ครั้งนี้ได้รวมผลกระทบที่เกิดจากความไม่เชื่อมั่น
ภายในการไม่บริโภคไก่ และการฟื้นตัวของธุรกิจ ฟาร์มไก่อีก 3-6 เดือน
นางอัจนา กล่าวต่อว่า เสถียรภาพด้านต่างประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัด
และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่สูง รวมทั้งฐานะหนี้ต่างประเทศที่ปรับลด
ลงก็เป็นปัจจัยที่ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณใดๆ
ที่แสดงให้เป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจ
ส่วนดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในประเทศนั้น อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน
กุมภาพันธ์ปรับตัวไปอยู่ที่ 2.2% เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบ เทียบกับเดือนก่อนหน้านี้
1% ซึ่งเป็นผลจากการ เพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและพลัง งาน ซึ่งทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานที่ติดลบ
-0.1% ในเดือนมกราคมกลับมาเป็นบวก โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนกุมภาพันธ์
เนื่องจากราคาค่า เช่าเริ่มชะลอการปรับตัวลง และค่าโดยสารรถประจำทางที่เพิ่มขึ้น
ทำให้คณะกรรมการฯ มีความ เห็นว่าช่วงต่อไปนี้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะไม่กลับ ไปอยู่ต่ำกว่าเป้าหมายของ
ธปท.ที่ 0-3.5%
สำหรับธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ หนี้ภาค ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการซื้อขายในตลาดหุ้น
ที่มีความร้อนแรงยังถือว่าไม่มีปัญหาหรือก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางการเงิน เนื่องจากการเร่งตัว
ของยอดขายภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ในเดือนมกราคมได้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
ส่วนประเด็นที่หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงในเรื่องเงินทุนไหลออกจากการขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างประเทศเป็นจำนวนมากนั้น
นางอัจนา กล่าวว่า ขณะนี้ ธปท. มีตัวเลขการไหลเข้าออกของเงินทุนในเดือน มกราคม
และ ยังไม่พบว่ามีเงินทุนไหลออกจนผิดปกติ และการที่นักลงทุนต่างประเทศเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ของไทยนั้น ถือว่าเป็นการปรับฐาน การลงทุนในตลาดหุ้นที่เป็นเรื่องปกติ