"เจริญโภค-ภัณฑ์อาหาร" ขายทิ้งบริษัทย่อย "ซีพี-ยูเอสเอ"
แล้ว คิดเป็นมูลค่า 1.6 พันล้าน หลังแบกรับ ขาดทุนมานาน ยืนยันไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
เนื่อง จากได้มีการปรับลดมูลค่าบัญชีให้เท่ากับมูลค่าทรัพย์สินที่ขาย ทำให้ไม่มีการบันทึกผลขาดทุนหรือกำไรจากการขาย
แต่จะส่งผลให้บริษัทมีเสถียรภาพดีขึ้น และไม่ต้องกังวลความผันผวนตลาดไก่เนื้อในสหรัฐฯ
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร
จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ (ยูเอสเอ) อิงค์(ซีพี-ยูเอสเอ)
ซึ่งเป็นบริษัท ย่อยที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)(ซีพีเอฟ) ที่ถือหุ้นอยู่
99.95% ได้ขายสิน ทรัพย์ที่ใช้ในการดำเนินงานเกือบ ทั้งหมดให้แก่ Equity Group
Eufaula Division, LLC ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจไก่เนื้อในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่
12 มีนาคมที่ผ่านมา ในราคา 41,182,598 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,620 ล้านบาท
การขายธุรกิจและสิน ทรัพย์ในครั้งนี้ เป็นการขายหน่วยธุรกิจที่ไม่ทำกำไรของซีพีเอฟ
โดยสินทรัพย์ที่ขายได้แก่ ที่ดิน ส่วนปรับ ปรุงที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ซีพี-ยูเอสเอ
เป็นเจ้าของ และที่อยู่ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน เครื่องจักร อุปกรณ์ในโรงงาน อุปกรณ์ตกแต่งและสิ่งติดตรึง
ยานพาหนะ สินค้าคงเหลือ วัสดุสิ้นเปลือง ใบอนุญาตในการดำเนิน งานและสัญญากับผู้ประกอบการในการดำเนินงาน
สัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงาน และสัญญาที่ทำกับเกษตรกรของซีพี-ยูเอสเอ
สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดมูลค่าของสินทรัพย์ที่ขายนั้น ดำเนินการโดยการที่ซีพี-ยูเอสเอ
ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งที่ผ่านมาได้ติดต่อไปยังผู้ที่มีความสนใจจะซื้อหลายราย
โดยได้พิจารณาคัดเลือกผู้ซื้อจากผู้สนใจที่เสนอเงื่อนไขและราคาที่ดีที่สุด
นายอดิเรก กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯมีนโยบาย มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ในการขายการลงทุนในซีพี-ยูเอสเอ
เนื่องจากบริษัทฯประสบปัญหาการขาดทุนมาโดยตลอดนับตั้งแต่ซีพีเอฟได้เข้าซื้อกิจการมาเมื่อ4-5ปีก่อน
ซึ่งเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์ซีพี-ยูเอสเอ จะนำไปใช้ชำระคืนหนี้สินที่มีอยู่
สืบเนื่องจากซีพี-ยูเอสเอมีแผนจะขายสิน ทรัพย์ถาวรออกไป และมูลค่าที่จะขายนั้นต่ำกว่าบัญชีสินทรัพย์เป็นเงิน
23 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 938 ล้านบาท ดังนั้นทางซีพี-ยูเอสเอจึงลดราคาตามบัญชีให้เท่ากับมูลค่าทรัพย์สินในราคาที่คาดว่าจะได้รับและแสดงเป็นรายการสินทรัพย์รอการขาย
ในงบไตรมาส 4/2546
นายอดิเรก กล่าวยืนยันว่า การขายซีพี-ยูเอสเอครั้งนี้ มูลค่าของทรัพย์สินที่ขายจึงมีมูลค่าใกล้เคียง
กับมูลค่าของทรัพย์สินตามงบการเงินสิ้นสุดปี 2546 การขายครั้งนี้จึงไม่มีส่วนต่างของราคาขายกับมูลค่าทรัพย์สิน
ซึ่งจะไม่มีการบันทึกผลขาดทุนหรือกำไรจากการขาย จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในปีนี้
"การขายธุรกิจซีพี-ยูเอสเอ ในครั้งนี้ ทำให้ซีพีเอฟ มีความคล่องตัวในการบริหารการจัดการมากขึ้น
เพราะไม่ต้องกังวลกับความผันผวนของอุตสาห-กรรมไก่เนื้อในสหรัฐฯ ที่ทำให้บริษัทฯไม่สามารถทำกำไรได้มาตลอด
4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลดีต่อการ ดำเนินงานโดยรวมของบริษัทฯให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น"
ซีพี-ยูเอสเอ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 มีทรัพย์สินรวม 2,144 ล้านบาท หนี้สินรวม
2,502 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 358 ล้านบาท โดยมีราย ได้จากการขาย 4,537
ล้านบาท ต้นทุนการขาย 4,338 ล้านบาท ขาดทุนด้อยค่าสินทรัพย์ 938 ล้านบาทและ ดอกเบี้ยจ่าย
ส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ 1,158 ล้านบาท
หุ้น CPF ร่วง 10 สตางค์
ความเคลื่อนไหวของหุ้นวานนี้ (15 มี.ค.) CPF เปิดตลาด 3.92 บาท ได้มีแรงเทขายออกมาจนปิดตลาดต่ำสุดของวันที่ระดับ
3.80 บาท ก่อนจะมีแรง ซื้อเข้ามาดันราคาขึ้นไปปิดตลาดที่ 3.82 บาท ลดลง 10 สตางค์
เปลี่ยนแปลง 2.55% มูลค่าการซื้อขายรวม 16.94 ล้านบาท
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน กล่าวว่า การตัดสินใจขายธุรกิจซีพี-ยูเอสเอครั้งนี้น่า
จะเป็นปัจจัยบวก เนื่องจากซีพีเอฟต้องแบกรับภาระ การขาดทุนของบริษัทดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายปี
แต่หากพิจารณาในแง่การผลิตแล้ว ทางบล.เกียรตินาคิน ยังแนะนำให้ขายหุ้น CPF ออกไป
รอจนกว่าผลการดำเนินงานไตรมาส 1 และไตรมาส 2 จะออกมา
สาเหตุที่ราคาหุ้น CPF วานนี้ปิดตลาดลดลง 2.55% แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกเข้ามา แต่เนื่องจากตลาดหุ้นไทยปิดตลาดที่
678.42 จุด ลดลง 16.66 จุด และนักลงทุนบางคนเน้นการลงทุนระยะยาวในหุ้น CPF จึงมีการเทขายออกมาจนกว่าจะรับรู้ผลประกอบ
การไตรมาส 1/2547