Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มีนาคม 2547
"อินทรา"รุ่นที่3รื้อค้าปลีกปิดพาต้า-แพลทินัมเสียบ             
 


   
search resources

เดอะมอลล์กรุ๊ป
บาโซมา
โรงแรมอินทรา รีเจนท์
กลุ่มแพลทินัม
เอส.ซี.วอร์เตอร์เกต
สุมาลี คงคาทอง




พาต้า ถอดใจปิดสาขาอินทรา ย่านประตูน้ำ หลังรับผลกระทบค้าปลีกราชดำริแข่งเดือด บิ๊กซีสอยยอดขายวูบ เจเนอเรชันที่ 3 อินทรา รีเจนท์ ปรับโฉมพื้นที่ค้าปลีก-โรงแรมครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปี ทุ่มงบกว่า 300 ล้านบาท ดึงแพลทินัม เข้าเสียบแทน เช่าพื้นที่ชั้น 1 เปิดศูนย์ค้าส่ง 500 ร้านค้า ด้วยงบ 500 ล้านบาท ชูคอนเซ็ปต์ "โมเดิร์น ค้าส่ง" ชนตึกใบหยก

นางสาวสุมาลี คงคาทอง รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท บาโซมา จำกัด เจ้าของโรงแรมอินทรา รีเจนท์ และ อินทรา อาเขต เปิดเผยว่า หลังจากบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ราชดำริ เปิดให้บริการปลายปีก่อน ส่งผลกระทบต่อห้างสรรพสินค้าพาต้า อินทรา ที่อยู่ติดกับโรงแรมอินทรา รีเจนท์อย่างมาก ดังนั้นเมื่อพาต้าหมดสัญญาเช่าพื้นที่ปีที่ผ่านมา กอปรกับบริษัทต้องการปรับคอนเซ็ปต์พื้นที่ค้าปลีกใหม่ ให้เป็นศูนย์ค้าส่งที่มีภาพลักษณ์ทันสมัย ทั้งพาต้าและบริษัทจึงไม่ต่อสัญญากันอีก โดยพาต้า ต้องการให้ความสำคัญกับสาขาปิ่นเกล้าที่เหลืออยู่เพียงแห่ง เดียว

การปรับโฉมพื้นที่ค้าปลีกของโรงแรมอินทรา รีเจนท์ ครั้งนี้ เพราะเห็นว่าหากยังคงเปิดให้บริการห้างสรรพสินค้าต่อไป คงไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการในย่านดังกล่าวได้ ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กซี เซน อิเซตัน เซ็นทรัล ชิดลม ประกอบกับพื้นที่ประตูน้ำ ที่เป็นทำเลทอง และมีภาพลักษณ์เป็นศูนย์กลางค้าส่ง บริษัทจึงต้องการปรับพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นศูนย์ค้าส่งด้วย เพื่อรับนโยบายภาครัฐดันกรุงเทพฯสู่ศูนย์ กลางแฟชั่นเอเชีย โดยบริษัทจะใช้งบ 100 ล้านบาท ปรับโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอาคารและตกแต่งใหม่

เดิมทีพื้นที่ค้าปลีกของอินทรา อาเขต จะมี 2 ชั้น ชั้นละ10,000 ตร.ม. พื้นที่ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้าพาต้า เช่าระยะยาว 30 ปี และถือเป็นสาขาแรกของห้างสรรพสินค้าพาต้า ก่อนที่จะมีการขยายสาขาปิ่นเกล้า และรามคำแหง สำหรับการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุด พื้นที่ชั้น 1 ได้ทำสัญญาให้กลุ่มแพลทินัม ซึ่งเป็นผู้บริหารพื้นที่ค้าปลีก ทั้งที่ เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (มาบุญครอง) และประตูน้ำ คอมเพล็กซ์ เป็นผู้เช่าพื้นที่ชั้นที่ 1 ทั้งหมด โดยมีสัญญาระยะยาว 15 ปีแต่จะต่อทุก 3 ปี

สำหรับรูปแบบการปรับพื้นที่ค้าปลีกที่แพลทินัม เสนอมา ใช้งบ 500 ล้านบาท เพื่อปรับพื้นที่เป็นร้านค้าส่งจำนวน 400-500 ร้านค้า โดยมีคอนเซ็ปต์เหมือนตึกใบหยกที่อยู่ใกล้เคียงกัน แต่ทำเลของตึกอินทราจะดีกว่า เพราะอยู่ด้านหน้าติดถนนใหญ่ คาดว่าจะมีร้านค้าส่งจำนวนมากสนใจเข้ามาเช่าพื้นที่ ทั้งนี้พื้นที่ด้านหน้าติดถนนบางส่วนได้ให้ร้านเคเอฟซี และธนาคารยูโอบี เช่าพื้นที่เปิดบริการด้วย ส่วนพื้นที่ของแพลทินัมคาดว่าจะปรับปรุงเสร็จ และเปิดให้บริการในเดือนก.ย.นี้

ส่วนพื้นที่ค้าปลีกชั้น 2 จำนวน 10,000 ตร.ม. แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่ด้านหลังให้บริษัท เอส.ซี. วอร์เตอร์เกต จำกัด ของอดีตผู้บริหารเดอะมอลล์ กรุ๊ป เป็นผู้เช่าพื้นที่ประมาณ 3,000 ตร.ม. ต่อสัญญาทุก 3 ปี ซึ่งเป็นรูปแบบของร้านค้าส่งเช่นกัน ใช้ชื่อว่า "แฟชั่น สตรีท" มีร้านค้าย่อยประมาณ 200 ร้านค้า ส่วนพื้นที่ด้านหน้าอีก 7,000 ตร.ม. บริษัทเป็นผู้ดำเนินการเอง ขณะนี้มีผู้เช่าพื้นที่เดิมประมาณ 100 ร้านค้า แต่หลังจากปรับโฉมพื้นที่ใหม่แล้วจะมีร้านค้าเข้ามาอีกบางส่วน

"การปรับพื้นที่อินทรา อาเขต ในปีนี้เป็นการปรับใหญ่ในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ให้บริการ หลังจากทุกอย่างดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้สัดส่วนรายได้ของพื้นที่ค้าปลีกเพิ่มขึ้นเป็น 70% จากค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของบริษัทจะมาจากธุรกิจโรงแรม และค้าปลีกเท่ากัน"

นางสาวสุมาลี กล่าวว่า นอกจากการปรับพื้นที่ อินทรา อาเขตแล้ว ตั้งแต่ปี 43-46 บริษัทได้ปรับโฉมโรงแรมอินทรา รีเจนท์ใหม่ ทั้งอาคาร ตั้งแต่ล็อบบี้ ห้องพัก ห้องจัดเลี้ยง ห้องอาหาร สปา ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ทุกอย่างเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยใช้งบ 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นการปรับโฉมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 33 ปี ตั้งแต่เปิดบริการครั้งแรกในปี 14 ภายใต้การบริหารงานของเจเนอเรชันที่ 3 ของโรงแรมอินทรา รีเจนท์

การปรับโฉมโรงแรมใหม่ครั้งนี้ได้เพิ่มห้องพัก จากเดิมที่มีจำนวน 438 ห้อง เป็น 455 ห้อง จำนวนห้องพักที่เพิ่มขึ้น17 ห้อง ได้ปรับเป็นห้องสูท คืนละ 7,000-10,000 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อ ส่วนห้องปกติราคา 1,500-2,000 บาทต่อคืน กลุ่มลูกค้าที่เข้ามาพักในโรงแรมส่วนใหญ่เป็นชาวออสเตรเลีย ยุโรป และญี่ปุ่น โดยมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางซ้ำ ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี 20-30% ทำให้การเข้าพักของโรงแรมอยู่ในอัตรา 80-90%

โรงแรม อินทรา รีเจนท์ เดิมทีมีกลุ่มผู้ก่อตั้ง คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และ นายปิติ พูนแสง-สถิต และ การรวมตัวของผู้ประกอบการ 3 ประเทศ คือ ไทย ฮ่องกง และมาเลเซีย โดยการบริหารปีแรก ใช้เชนโรงแรมระดับ 5 คือ รีเจนท์ แต่หลังจากเปิดกิจการ 5 ปี กลุ่มผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศได้ถอนตัวไป ถือเป็นจุดเปลี่ยนของโรงแรม และการเปิดตัว โรงแรมรีเจนท์ ย่านสี่แยกราชประสงค์ ที่ใช้เชนโรงแรมเดียวกับอินทรา ทำให้บริษัทตัดสินใจเลิกใช้เชนการบริหารรีเจนท์ แต่ยังคงใช้ชื่อโรงแรมอินทรา รีเจนท์อยู่ โดยเจ้าของเชนก็อนุญาตให้ใช้ชื่อนี้ต่อไปได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us