NSM งวดปี46กำไรพุ่งกว่า 2 หมื่นล้านบาท ผลจากกำไรการตัดจำหน่ายบัญชีหนี้สินในบัญชีสำหรับเจ้าหนี้กลุ่มที่
1 ถึง 3 สูงถึง 22,475.78 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เพราะบริษัทเริ่มกลับมาผลิตหลังหยุดผลิตมานาน
โดยเริ่มทดลองผลิตเฟสที่ 1 เพื่อทดสอบเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตเหล็ก และเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ
นายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง กรรมการ บริษัท มหาราช แพลนเนอร์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท
นครไทยสตริปมิล จำกัด (มหาชน) (NSM) เปิดเผยว่า ถึงงบการเงินของบริษัทฯ สิ้นสุด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 46 ว่า บริษัทมีผลกำไรสุทธิ 23,228 ล้านบาท ขณะที่งวดเดียวกันของปี45
บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 996 ล้านบาท ตามลำดับ ส่ง ผลให้จากที่ขาดทุนต่อหุ้นอยู่
1.39 บาทเป็นมีกำไรต่อหุ้น 11.31 บาท หรือเพิ่มขึ้น 2,432%
เนื่องจาก บริษัทมีรายได้หลังจากหยุดการผลิต ตั้งแต่ปี 41 รายได้จากการขายสำหรับปี
46 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม แสดงถึงการขายวัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองซึ่งมีการเสื่อมสภาพและหมดอายุโดยดำเนินการภายใต้การอนุมัติจากศาลล้มละลาย
ขณะที่ ต้นทุนขายแสดงถึงต้นทุนราคาตามบัญชีของวัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลืองและค่าเผื่อสำหรับสินค้าคงเหลือบางรายการ
ในปี 46 NSM มีการสำรองค่าเผื่อเป็นจำนวนเงิน 29 ล้านบาทจากการตรวจสอบสภาพของสินค้าคงเหลือภายหลังวันที่มีผลใช้บังคับตามแผนฟื้นฟูได้รับการอนุมัติ
ส่วนกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้แสดงถึงกำไรจากการตัดจำหน่ายหนี้สินในบัญชีตามแผนฟื้นฟู
กิจการที่ได้รับการอนุมัติ สำหรับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึง 13 และค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาทางกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องมาจากหนี้ดังกล่าว
ทำให้มีกำไรจากการตัดจำหน่ายบัญชีหนี้สินในบัญชีสำหรับเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 ถึง 3
คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 22,475.78 ล้านบาท
นอกจากนี้ NSM มีรายได้อื่นจำนวน 65.53 ล้านบาท แสดงถึงกำไรจากการขายหุ้นของบริษัท
มิลเลนเนียม สตีล จำกัด(มหาชน) จำนวน 50.68 ล้าน หุ้น โดยบริษัทบันทึกในเงินลงทุนระยะยาวอื่น
หุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นที่ได้รับจากการแปลงหนี้เป็นทุนของลูกหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทที่เกี่ยว
ข้องกันตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทนั้น โดยกำหนดให้แปลงหนี้เป็นทุนหุ้นสามัญและต้องแลกเปลี่ยนเป็นหุ้นของบริษัท
มิลเลนเนียม สตีล จำกัด (มหาชน) (บริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการ) เป็น จำนวน
101,367,153 หุ้น ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 หุ้น อีกทั้ง กำไรจากการกลับบัญชีขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์
โดยหลังจากวันที่มีผลใช้บังคับแล้ว เมื่อ วันที่ 30 พฤศจิกายน 46 บริษัทได้ว่าจ้างผู้ประเมินราคาอิสระให้ทำการประเมินราคาสินทรัพย์ถาวรใหม่
ซึ่งปรากฏว่าราคาประเมินใหม่มีมูลค่าสูงกว่าราคาตาม บัญชี บริษัทได้บันทึกกลับรายการขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ถาวรเป็นจำนวน
882.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินราคาสิน ทรัพย์ถาวรที่จัดทำโดยผู้ประเมินราคาอิสระ
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 45
สำหรับ ต้นทุนจากการหยุดดำเนินงานได้รวมค่าใช้จ่ายปกติที่เกี่ยวกับโรงงาน ในระหว่างวันที่
1 มกราคม ถึง 31 ตุลาคม 46 อันประกอบไปด้วยค่าดูแลรักษาทั่วไปของโรงงาน เงินเดือน
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากวันที่มีผลใช้บังคับในวันที่ 31 ตุลาคม 46
บริษัทมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการกลับมาผลิตอีกครั้งในระหว่างเดือน พฤศจิกายน
46 ถึงธันวาคม 46 โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 46 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้รวมค่าเสื่อมราคาจำนวน
389 ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของบริษัทนั้น เป็นตัวเลขที่แสดงค่าใช้จ่ายทั่วไปในการดำเนินธุรกิจในระหว่างการหยุดการดำเนินการช่วงที่กล่าวมา
และได้เริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้งปลายปี 46 จึงทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากงวดปี
45 ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นที่เป็นผลจากการ บริษัทได้บันทึกผลขาดทุน จากการตัดจำหน่ายบัญชีต้นทุนที่เกี่ยวกับการออกตราสารหนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี
41 เป็นค่าใช้จ่ายจำนวนเงิน 748.30 ล้านบาท โดยแสดงรวมในค่าใช้จ่ายอื่น
ทั้งนี้ บริษัทได้รับเงินทุนจากการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชน เป็นจำนวนเพียงพอตามแผนฟื้นฟูกิจการ
และได้เสร็จสิ้นการดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุน โดยมีผลบังคับใช้ตามแผนฟื้นฟูกิจการและสัญญาหลักในการปรับโครงสร้างหนี้
ณ วันที่ 31 ตุลาคม 46 บริษัทสามารถเริ่มเดินเครื่องผลิตเหล็กรีดร้อนได้สำเร็จ
และเริ่มทดลองการผลิตในเฟสที่ 1 เพื่อทดสอบเครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิต เหล็ก
ในวันที่ 13 ธันวาคม 46 ในปัจจุบัน บริษัทอยู่ ระหว่างการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ