Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 มีนาคม 2547
ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ชีวิต 25 ปี กับสวนสยาม             
 


   
search resources

ช.อมรพันธุ์กรุ๊ป
อมรพันธุ์นคร-สวนสยาม, บจก.
ช.อมรพันธุ์วัฒนา
ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ
สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ
จิรวรรณ เหลืองอมรเลิศ
วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ
Real Estate




ความพยายาม 25 ปีบนเส้นทางธุรกิจที่เดินทางไปพร้อมกับจินตนาการของชายชื่อ ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ในตำนานการสร้าง "สวนสยาม" สวนน้ำ แหล่งท่องเที่ยว ทะเลเทียมแห่งแรก ของกรุงเทพฯ

"ชีวิตนี้อยากเห็นสวนสยามประสบความสำเร็จ" เป็นคำกล่าวของ ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจสวนสนุกในนามสวนสยาม บ่งบอกถึงความพยายามอีกครั้งกับการปลุกปั้นธุรกิจสวนน้ำสวนสนุกแห่งนี้ให้เป็นตำนานสวนสนุกของเมืองไทย ไชยวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า ในระยะเวลา 3 ปีจากนี้ ถ้านับจากปัจจุบัน ที่อายุ 69 ปีก็จะได้ 72 ปี น่าจะเป็นเกณฑ์ดีที่จะเกษียณ และวางมือจากธุรกิจอย่างจริงจัง

แต่ในช่วงนี้ นับจากปี 2547 จะเป็นปีแห่งการตระเตรียมธุรกิจให้พร้อม โดยมองว่ายุคแห่งการแข่งขัน การอยู่รอดในฐานะธุรกิจครอบครัว ทำกำไร และบริหารธุรกิจอยู่เฉพาะในกลุ่ม "เหลืองอมรเลิศ" เพียงกลุ่มเดียวดูจะไม่เพียงพอ การผันไปสู่ธุรกิจมหาชน ให้ประชาชนและนักลงทุนเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของกับครอบครัวนี้น่าจะเกิดประโยชน์ได้มากกว่า

ความคิดได้เริ่มต้น ณ จุดนี้ ก่อนสานต่อไปสู่การปรับวางโครงสร้างธุรกิจให้พร้อม ครั้งนี้ "ไชยวัฒน์" มาพร้อมด้วยกำลังใจ และแรงสนับสนุนจากเพื่อนร่วมธุรกิจ ในยุค ช.อมรภัณฑ์เฟื่องฟู มีนายสันติ โอฬาร พัฒนาโครงการหมู่บ้านรานี, นายสรศักดิ์ ตั้งประกิจ กลุ่มเลิศอุบล, นายมงคล จิรกิจอนุสรณ์, นางนงเยาว์ โตวชรกุล (น้องสาว) ที่มุ่งมั่นในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกับพี่ชาย ล่าสุดพัฒนาโครงการบ้านสิริยาที่อยู่ระหว่างขายและพัฒนา ด้วยหวังในประสบการณ์ทางธุรกิจ และฝีไม้ลายมือของกลุ่มเพื่อนสนิทมาเป็นกำลังสำคัญผลักดันธุรกิจของกลุ่ม ที่จะผันไปเป็น ช.อมรภัณฑ์กรุ๊ป โฮลดิ้ง คอมปะนี บริหารการลงทุนและพัฒนาธุรกิจด้านสวนสนุก สปาและรีสอร์ต รวมถึงพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต

โดยผลักคืน 3 แกนนำ ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวในอนาคตให้เริ่มเข้ามามีบทบาทในงานและธุรกิจครอบครัวมากขึ้น เริ่มจาก สิทธิศักดิ์ เหลืองอมรเลิศ ลูกชายคนโต ที่ให้มาช่วยงานเป็นเวลาหลายปี เริ่มจากคนขายตั๋ว ทำความสะอาดเครื่องเล่นต่างๆ ก่อนจะมาพัฒนา 3 โครงการอสังหาริมทรัพย์ ในนาม ช.อมรภัณฑ์วัฒนา

เริ่มจากทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 50 ล้านบาท พัฒนา 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการบ้านสวนอมรพันธุ์ บ้านเดี่ยว 75 ยูนิต บนพื้นที่ 20 ไร่ ระดับราคา 5-8 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 500-600 ล้านบาท

โครงการที่ 2 พัฒนาในชื่อ อมรภัณฑ์ เอื้ออาทรวัฒนา สอดรับกับนโยบายการพัฒนาที่อยู่อาศัยของภาครัฐ ตั้งอยู่ในย่านหนองจอก บน พื้นที่ 33 ไร่ จำนวน 30 ยูนิต บ้านเดี่ยวระดับราคาขายไม่เกิน 1 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท และอีกโครงการที่หาดแม่รำพึง จังหวัด ระยอง ขนาด 30 ไร่ พัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวระดับราคา 10-20 ล้านบาทขึ้นไป สำหรับกลุ่มผู้ซื้อชาวต่างชาติ มีมูลค่าโครงการ 1,500 ล้านบาท

จากนั้นได้เริ่มวางธุรกิจสวนสยามให้กับลูกชายคนที่ 2 วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ เป็นคนดูแลและบริหารงานต่อ ส่วนลูกสาวคนเล็ก จิรวรรณ เหลืองอมรเลิศ จะเข้าไปพัฒนาธุรกิจด้านสปา และรีสอร์ตในพื้นที่โครงการหาดแม่รำพึง โครงการลงทุนในปี 2547 ต่อเนื่องถึงปี 2548

ไชยวัฒน์ กล่าวว่า เบื้องต้นจะพยายามสร้างรายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อง่ายขายคล่องกว่าในยุคที่เศรษฐกิจเติบโตและคนมีความต้องการซื้อบ้าน จะเอาเงินส่วนหนึ่งจัดสรรมาพัฒนาให้สวนสยาม พัฒนาขึ้นมาเทียบเท่ากับระดับสากล

"เป็นการตกลงกันกับลูก ๆ ว่า เมื่อทำไประยะหนึ่ง จะเอาเงินบาง ส่วนมาพัฒนาสวนสยามให้ดีกว่าปัจจุบัน ทั้งปรับพื้นที่ให้ดูใหม่ ส่วนห้องอาหาร ห้องน้ำ และอีกหลายจุด รวมถึงการนำเครื่องเล่นใหม่ๆ เข้ามาเสริม"

โดยมองว่า จังหวะ เวลา และโอกาส เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น การสนับสนุน ด้านนโยบายการท่องเที่ยวของภาครัฐ เส้นทางคมนาคมที่ปรับใหม่ ทำให้สวนสยามไม่ไกลอย่างอดีต สามารถเดินทางเชื่อมต่อได้กับสนามบินหนองงูเห่า และอีกหลายจุด

เมื่อพัฒนาสวนสยามได้เต็มรูปแบบ จะทำให้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ในปี 2550 จากปัจจุบันที่เริ่มมีกำไร 5-6 ล้านบาท จากยอดรายได้รวมประมาณ 200 ล้านบาทในปี 2546

หากเป็นไปตามคาด ในปี 2550 จะพัฒนาให้บริษัท อมรภัณฑ์นคร-สวนสยาม ซึ่งเป็นบริษัทบริหารจัดการ สวนสยาม เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ตามด้วย บริษัท ช.อมรภัณฑ์วัฒนา จำกัด บริษัทที่ทำธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยจะตั้งบริษัทแม่ทำหน้าที่ลงทุนกับทุกบริษัทที่ขยายงานไป

ในช่วงเวลา 3 ปีจากนี้ ไชยวัฒน์ หวังว่าจะได้วางมือทางธุรกิจอย่าง จริงจัง และให้บรรดาลูก ๆ ได้สานต่อธุรกิจที่วางไว้ จากนั้นจะเริ่มหันไปใช้เวลากับการพักผ่อน จากที่เจ้าตัวมักจะย้ำว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาทั้งหมดทุ่มเทไปกับการทำงานทั้งสิ้น ตั้งแต่วัยหนุ่มถึงอายุ 69 ปีในปัจจุบัน ที่ตั้งใจจะได้เห็นสวนสยาม สวนน้ำ สวนสนุกแห่งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างที่หวัง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us