งานแสดงสินค้า ของขวัญและของใช้ในบ้าน ปี 2544 Bangkok International Gift
& Houseware 2001หรือ (BIG 2001) เป็นงานใหญ่ งานหนึ่งของเมืองไทยท่ามกลางงานแสดงสินค้าที่มีมากมายในแต่ละปี
โดยมีกรมส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์มีบทบาทสำคัญที่จะเป็นสื่อนำผู้ซื้อจากประเทศต่างๆ
ทั่วโลกมาพบผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย
และเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ของผู้ประกอบการเองที่จะได้สะท้อนความคิดสร้างสรรค์
และนวัตกรรมใหม่ในการออกแบบอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการต่างประเทศพอใจและสั่งซื้อสินค้าของตนเองให้มากที่สุด
กรมส่งเสริมการส่งออกจัดงานนี้ติดต่อมาหลายป ีแต่เริ่มแรกนั้นเป็นเพียงงานของใช
้และของขวัญในบ้านที่ใช้พื้นที่เพียงไม่มาก แต่เมื่อกระแสของความตื่นตัวในเรื่องการส่งออกมีเพิ่มขึ้นตามนโยบายรัฐบาลช่วงนั้น
กรมส่งเสริมฯ ก็ได้ขยายขอบเขตของงานให้กว้างขวางขึ้น และมุ่งเน้นให้เป็นงานระดับนานาชาติพร้อมกับตั้งเป้าสวยหรู
เพื่อให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางการค้า และศูนย์กลางการแสดงสินค้าในภูมิภาคนี้
ผู้ประกอบการรายย่อย และบรรดาหน้าใหม่ในวงการทั้งหลายจึงตั้งความหวังกับงานนี้เป็นอย่างมาก
หวังจะใช้โอกาสนี้เบิกทางเข้าสู่ธุรกิจการส่งออกอย่างแท้จริง ดังนั้นในแต่ละปีจึงมีจำนวนบริษัทที่เข้าร่วมงานมากขึ้นคือจาก
493 บริษัทในปี2542 เพิ่มเป็น 737 บริษัทในปีนี้ เช่นดียวกับจำนวนนักธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากจำนวน
8,000 เป็นกว่า 12,000คน
ในปี 2542 งาน BIG1999 ย้ายไปจัดที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ปี 2543
เปลี่ยนไปที่ศูนย์ไบเท็คบางนา และมาปีนี้ได้จัดที่ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติอิมแพ็ค
ในเมืองทองธานี ถนนแจ้งวัฒนะ แทน
ตัวเลขการส่งออกเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านของไทยในปี 2543 ได้ขยายตัวมีมูลค่าถึง
50,034.73 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.13% เมื่อเทียบกับปี 2542 ตลาดใหญ่ในปีที่แล้วได้แก่
1. สหรัฐอเมริกา 45.28% 2. สหภาพยุโรป 24.33% 3. ญี่ปุน 12.07% 4. อาเซียน
3.62 5. ตลาดอื่นๆ 14.70%
ประเภทของสินค้าที่ส่งออกมีมูลค่ามากตามลำดับสัดส่วนการส่งออกได้แก่
1. เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและในครัว 49.67% ได้แก่ถ้วยชามเซรามิก เครื่องใช้อะลูมิเนียม
เครื่องใช้ทำด้วยไม้ 2. เครื่องประดับตกแต่งบ้าน 27.42% ที่สำคัญได้แก่กรอบรูปไม้
ประทีปโคมไฟ และเครื่องใช้ในเเทศกาลคริสต์มาส 3. ของขวัญอื่นๆ มีสัดส่วนการส่งออก
22.91% ได้แก่ของเล่น ปากกา ดินสอ
ในปี 2544 กรมส่งเสริมการส่งออก ตั้งเป้าหมายมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านไว้ที่
1,069 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ10
อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคมที่ผ่านมามูลค่าส่งออกได้ลดลง13.% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี
2543 ซึ่งเป็นเพราะ 1. มีสินค้าค้างสต็อกในช่วงปลายปี 2543 เป็นจำนวนมาก
2. การชะลอตัวเนื่องจากสถานการณ์น้ำมันแพงและค่าเงินสหรัฐที่แข็งตัวขึ้น
ทั้งนี้สินค้าระดับกลางถึงระดับบนยังคงมีการส่งออกที่ดี แต่สินค้าระดับล่างยังไม่สามารถสู้คู่แข่งที่สำคัญเช่น
จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และอินเดียได้ ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบสินค้าไทยในเรื่องด้านราคาสินค้าที่ถูกกว่า
และมีความได้เปรียบไทยในเรื่องวัตถุดิบ เช่น ไม้ ที่มีมากกว่าเมืองไทยด้วย
สำหรับงาน BIG ในปีนี้ เจ้าของสินค้าหลายรายที่เคยทำยอดส่งออกได้ดีมากในปีที่แล้ว
ให้ความเห็นว่า กลุ่มนักธุรกิจต่างชาติมาน้อยลงและ ขายของได้ยากขึ้น สาเหตุหนึ่งอาจจะเป็นเพราะการจัดงานของเมืองไทยปีนี้ไปตรงกับฮ่องกง
และยังต่อด้วยงานแสดงสินค้าที่ประเทศจีน ลูกค้าหลายรายเลยอาจไม่มีโอกาสมาเมืองไทย
กรมส่งเสริมการส่งออกยังยืนยันว่านักธุรกิจเข้ามาไม่ต่ำกว่าปีที่แล้วแน่นอน
แต่ยอดสั่งซื้อนั้นยังไม่สามารถที่จะประเมินได้เพราะส่วนใหญ่ในงานเป็นเพียงขั้นตอนการเจรจา
หรือขอดูสินค้าเท่านั้น ก่อนที่จะนำไปเปรียบเทียบราคา และคุณภาพ กับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ
อีกครั้งหนึ่ง