แฟชั่นมาแรงในหมู่วัยรุ่นออสเตรเลียขณะนี้ คือการดื่มน้ำผลไม้
ปกติแล้ว ฟาสต์ฟู้ดเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเหล่าวัยรุ่น เนื่องจากความทันสมัย
ความรวดเร็วในการเตรียม และรูปร่างหน้าตาที่ดึงดูดใจ
แต่ขณะนี้ ฟาสต์ฟู้ดที่วัยรุ่นให้ความสนใจและแวะไปดื่มกินอยู่เสมอกลับเป็นร้านน้ำผลไม้
และเราก็สามารถหาบาร์น้ำผลไม้ได้อย่างง่ายดายในทุกๆ ที่
แหล่งศูนย์รวมวัยรุ่น รวมถึงแหล่งชอปปิ้งต่างๆ ล้วนมีบาร์น้ำผลไม้เป็นส่วนประกอบหนึ่งเสมอ
ผมไปลองมาแล้วครับ
หนึ่งในบาร์น้ำผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง คือ Boost Juice
Boost Juice เริ่มต้นจากความคิดของคุณแม่ลูกสามคนหนึ่ง ที่ได้สังเกตเห็นความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ของบาร์น้ำผลไม้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อสี่ปีก่อน เธอจึงอยากจะลองตลาดออสเตรเลียบ้าง
สาขาแรกของ Boost Juice เริ่มต้นที่ Adelaide ซึ่งอยู่ในฟู้ดคอร์ตของห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กลุ่มคนรายได้ต่ำ
และที่นี่ เธอต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะลองทฤษฎีของเธอสำเร็จ
เนื่องจากบาร์น้ำผลไม้ต่างจากบาร์อาหารเครื่องดื่ม อื่นๆ เธอจะต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าถึงความสำคัญของส่วนประกอบของน้ำผลไม้หลายๆ
อย่าง และส่วนประกอบ หลายๆ อย่างก็ไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ลูกค้า
บาร์น้ำผลไม้ไม่ได้ใช้แค่ผักผลไม้ทั่วๆ ไป อย่างส้ม มะนาว หรือมะพร้าว
แต่จะต้องมีผักและผลไม้ที่ให้คุณค่าทางร่างกายอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น Wheatgrass,
โสม, สไปรูลินา (Spirulina) เป็นต้น
Boost Juice ใช้เวลาพักใหญ่ก่อนที่จะติดตลาด และปัจจุบัน Boost Juice มีสาขาอยู่ถึง
86 สาขาทั่วออสเตรเลีย โดย 15 สาขาอยู่ที่ควีนส์แลนด์ และจ้างพนักงานมากถึง
1,400 คน
สมมติฐานง่ายๆ ของ Boost Juice อยู่ที่ปัญหาโรคอ้วนในหมู่เด็กวัยรุ่นระบาดไปทั่วๆ
พร้อมๆ กับสาขาของฟาสต์ฟู้ด เพื่อที่จะเจาะเข้าไปในตลาดวัยรุ่น บาร์น้ำผลไม้ก็จะต้องทำเป็นรูปลักษณ์ของฟาสต์ฟู้ด
แต่เป็นฟาสต์ฟู้ดที่เน้นคุณค่าทางโภชนาการ ให้บริการฉับไว และ ที่สำคัญ ไม่ทำให้อ้วน
หลังจากนั้นไม่นานนัก เราก็เห็นบาร์น้ำผลไม้ปรากฏอยู่ทั่วๆ ไปตามแหล่งชอปปิ้งและศูนย์รวมวัยรุ่น
ร้านหน้าตาหลากหลายมากมายยี่ห้อปรากฏอยู่ทั่วไป ผมไปลองมาสองสามร้านครับ
ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณถ้วยละ 4-6 เหรียญ หรือ 120-180 บาทไทย (คิดที่อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ
30 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์) ซึ่งราคานี้สามารถซื้อแฮมเบอร์เกอร์ของแมคโดนัลด์ที่นี่ได้หนึ่งชุดธรรมดา
ซื้อแซนด์วิชขนาดกลางที่ร้าน Subway ได้ ซื้ออาหารกลางวันขนาดกำลังอิ่มของคนทั่วๆ
ไปได้หนึ่งมื้อ แต่ถ้าเอาไปซื้อน้ำส้มเกรดเอขนาดสองลิตรยังเหลือเงินทอนอีกเล็กน้อย
น้ำผลไม้ที่ขายที่บาร์น้ำผลไม้นี้ มีทั้งรูปแบบน้ำผลไม้ ทั่วๆ ไป และน้ำผลไม้ปั่น
แต่ดูเหมือนว่า น้ำผลไม้ปั่นจะได้รับความนิยมมากกว่า
รูปแบบการให้บริการก็จะเน้นคนขายที่เป็นวัยรุ่น กระฉับกระเฉง พูดจาคล่อง
ยิ้มง่าย ใส่เสื้อยืดคอกลม มีสีสัน เปิดเพลงฮิบฮอบหรือเพลงฮิตในช่วงนั้นๆ
และบริการที่ฉับไว
น้ำผลไม้จะมีให้เลือกหลากหลายแบบ และตั้งชื่อที่ดึงดูดใจ ใบเมนูจะเน้นสีสันสดใส
และมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารแสดงให้ดูโดยไม่ใช้ภาษาวิชาการมากเกินไปนัก
อย่างไรก็ตาม บาร์น้ำผลไม้ไม่ได้เพิ่งมีมาไม่นาน เพราะเจ้าเก่าอย่าง Oasis
ซึ่งเปิดบาร์น้ำผลไม้ที่บริสเบนมาตั้งแต่ปี 1999 ก็ขายน้ำผลไม้ในรูปแบบนี้มานานแล้ว
แต่ไม่ได้โฆษณามากมาย หรือใช้รูปลักษณ์ที่เจาะกลุ่มวัยรุ่นเท่าไรนัก
นอกจากนี้ Oasis ยังมีอยู่แค่สาขาเดียวเท่านั้น แม้จะมีโครงการขยายสาขาในอนาคตก็ตาม
แต่ถ้าขยายสาขาจริง ก็อาจจะต้องเล่นตามเกมของผู้นำตลาดอย่าง Boost Juice
ก็ได้ คือ เปลี่ยนรูปลักษณ์ของตัวเองใหม่
จุดขายของ Oasis คือ การขายน้ำผลไม้ที่สดจริงๆ ข้อได้เปรียบของที่นี่ คือ
มีสาขาเดียว และทำในรูปแบบของธุรกิจครอบครัว ทุกเช้า พ่อจะออกไปซื้อผลไม้สดจากตลาดผลไม้
จากนั้นจะนำมาส่งที่ร้าน และพนักงานในร้านจะคั้นน้ำผลไม้สดๆ ให้ลูกค้าตามสั่ง
ในขณะที่ร้านอย่าง Boost Juice ทำไม่ได้ และต้องเตรียมน้ำผลไม้ไว้ก่อนล่วงหน้าบางอย่าง
เพราะจำนวนลูกค้าที่เยอะ และ ต้องการความฉับไวในการเตรียม
แต่น้ำผลไม้ที่ดีที่สุด คือ ต้องดื่มทันทีหลังจากคั้นแล้ว ซึ่งจะให้คุณค่าทางอาหารสูงสุด
ถึงกระนั้น ผักและผลไม้บางอย่างก็ยังเป็นที่น่าสงสัยและถกเถียงในวงวิชาการว่า
ให้คุณค่าทางอาหารจริง อย่างที่โฆษณาไว้หรือเปล่า อย่าง สไปรูลินา (Spirulina),
Wheatgrass, โสม และ Citrin เป็นต้น
นักวิชาการคนหนึ่งเห็นว่า การดื่มน้ำผลไม้ย่อมให้ คุณค่าทางอาหารสูงกว่า
และดีกว่าการกินอาหารฟาสต์ฟู้ด ทั่วๆ ไปแน่นอน แต่จะต้องบริโภคอย่างเหมาะสม
ไม่มาก เกินไป ยกตัวอย่างเช่น การดื่มน้ำแครอตมากไปก็ทำให้ผิวกลายเป็นสีเหลือง
เพราะแคโรทีนมากเกินไป และมีผลต่อตับด้วย เพราะบริโภควิตามินเอมากไป ถ้าใส่ผลไม้มาก
เกินไป ก็จะให้แคลอรี (Calories) มากเกินไปด้วย สูตรที่ดีที่สุดคือ ใส่ผักและผลไม้อย่างละครึ่ง
และควรดื่มคู่กับโยเกิร์ต ถั่ว หรือแซนด์วิช เพราะน้ำผลไม้ไม่มีโปรตีน
นอกจากนี้ กากของผักและผลไม้ส่วนใหญ่จะสูญเสียไปในขั้นตอนของการเตรียมน้ำผลไม้
นักวิชาการคนเดียวกันนี้เห็นด้วยกับการใส่ขิง เพราะการใส่ขิงจะช่วยระบบย่อยอาหาร
ปริมาณความต้องการน้ำผลไม้ที่สูงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความต้องการผักและผลไม้เพิ่มสูงขึ้นมากเช่นกัน
เมื่อปีกลาย Boost Juice ใช้สตรอเบอร์รี่มากถึง 93 ตัน, ราสพ์เบอร์รี่ 56
ตัน แครอต 60 ตัน และแตงโม 392 ตัน และบางช่วงกล้วยทั้งหมดของเมือง Adelaide
ถูกกว้านซื้อโดย Boost Juice
โรคอ้วนเป็นปัญหาในหมู่วัยรุ่นของประเทศออส-เตรเลียมานาน บาร์น้ำผลไม้อาจจะเป็นคำตอบหนึ่งของพวกเขาเหล่านั้น
พวกเขาต้องการความทันสมัย แต่ก็ต้อง การคุณค่าทางอาหารเช่นกัน ในอนาคต คำตอบใหม่ๆ
อาจ จะออกมาลองตลาดวัยรุ่นเรื่อยๆ เพราะคุณสมบัติหนึ่งของ ตลาดวัยรุ่น คือ
เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ชอบความซ้ำซากจำเจ และที่สำคัญ ต้องแตกต่าง
อ่ า น เ พิ่ ม เ ติ ม
1. Boost Juice (www.boostjuice.com.au)
2. The Big Squeeze, หนังสือพิมพ์ The Courier-Mail
ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2004 เซกชั่น Goodlife หน้า 8-9