Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
ความเป็นมาของ Gucci             
 

   
related stories

อาณาจักร Gucci จากธุรกิจครอบครัวสู่มืออาชีพ

   
www resources

Gucci Homepage

   
search resources

Gucci
กุชชิโอ กุชชี
Leathers




กุชชิโอ กุชชี (Guccio Gucci) เป็นผู้ก่อตั้งกิจการ Gucci เมื่อปี 1921 โดยเริ่มต้นจากการผลิตและจำหน่ายสินค้าจำพวกเครื่องหนัง จนกลายมาเป็นอาณาจักรสินค้าหรูภายใต้ชื่อ Gucci ที่รู้จักกันแพร่หลาย

กุชชีเริ่มทำงานในโรงแรมซาวอยที่กรุงลอนดอน เขาหลงใหลความสวยงามของกระเป๋าเดินทางที่พบเห็นอยู่ทุกวัน จนในที่สุดตัดสินใจกลับไปยังบ้านเกิดที่ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เปิดร้านค้าและผลิตเครื่องหนังของตนเอง เมื่อกิจการตกถึงมือรุ่นลูกคือ อัลโด กุชชี (Aldo Gucci) สินค้าภายใต้ชื่อ Gucci ก็มีจำหน่ายไปทั่วโลก อัลโดเป็นผู้ตัดสินใจเปิดร้านกุชชีแห่งที่สองในกรุงโรมในช่วงทศวรรษ 1950 ซึ่งเป็นยุคที่โรมถูกเรียกขานว่าเป็น ฮอลลีวูดแห่งแม่น้ำไทเบอร์ เพราะมีภาพยนตร์จำนวนมากที่ไปถ่ายทำที่นั่น ชื่อของ Gucci ยังเทียบได้กับโซเฟีย ลอเรนซ์ของอิตาลี หรือเบตตี้ เดวิสของอเมริกา ทีเดียว หลังจากที่ประสบความสำเร็จในโรมแล้วอัลโดก็ตัดสินใจเปิดร้านสาขาแห่งใหม่ในนิวยอร์ก แม้จะถูกพ่อคัดค้านในระยะแรกก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เมื่อกิจการตกทอดถึงรุ่นที่สาม เปาโล กุชชี (Paolo Gucci) ซึ่งเป็นบุตรชายของอัลโดก็มีแนวทางธุรกิจของตนเอง เขาต้องการขยายไลน์สินค้าราคาไม่แพงนักเพื่อจับลูกค้ากลุ่มหนุ่มสาว และมีแผนเปิดเชนร้านใหม่อีกแห่งหนึ่ง แต่แผนดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างเต็มที่จนทำให้เกิดความตึงเครียดในครอบครัวกุชชี เปาโลพยายามดิ้นรนจนสามารถสร้างไลน์สินค้า PG ตามชื่อของเขาได้สำเร็จ แต่เมื่ออัลโดรู้ข่าว เขาถึงกับไล่เปาโลออกจากบริษัทและสั่งห้ามซัปพลายเออร์ของกุชชีทุกรายทำธุรกิจร่วมกับเปาโล ความขัดแย้งในครอบครัวลุกลามถึงขึ้นที่เปาโลเข้าแจ้งต่อสำนักงานสรรพากรว่าพ่อของเขาเลี่ยงภาษี อัลโดจึงถูกศาลสั่งจำคุกทั้ง ๆ ที่มีอายุถึง 81 ปีแล้ว (ในปี 1994 เปาโลก็ถูกสั่งจำคุกเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจากไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูภรรยาที่หย่าร้างกันไป)

ต่อมา ลูกพี่ลูกน้องของเปาโลคือมาอุริซิโอ (Maurizio) ได้รับช่วงมรดกกิจการครึ่งหนึ่ง เขารู้สึกอึดอัดใจกับเรื่องราวแปลกประหลาดในครอบครัว จึงตัดสินใจที่จะยึดครองกิจการไว้ในมือเสียเองทั้งหมด โดยให้บริษัทอินเวสต์คอร์ป (Investcorp) ดำเนินการซื้อหุ้นกิจการส่วนที่เหลือจากญาติพี่น้องของเขา เปาโลเป็นคนแรกที่ยอมขายหุ้นในมือ และในที่สุดมาอุริซิโอก็ได้ฟื้นฟูภาพพจน์กิจการที่ย่ำแย่ให้คืนมา โดยมีผู้ช่วยคนสำคัญคือ โดเมนิโก เดอ โซเล (Domenico De Sole) ทนายความของเขา เป็นผู้รับผิดชอบดูแลกิจการ Gucci America และดอน เมลโล (Dawn Mello) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Bergdorf Goodman ถูกดึงตัวมารับผิดชอบตำแหน่ง creative director นอกจากนั้นยังได้ว่าจ้างทอม ฟอร์ด (Tom Ford) เป็น junior designer ด้วย

อย่างไรก็ตามกิจการภายใต้การบริหารของมาอุริซิโอในช่วงแรกดำเนินไปอย่างไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างดี ในช่วงที่ Gucci ประสบการขาดทุน มาอุริซิโอได้ทุ่มเงินถึง 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงสำนักงานใหญ่ที่ฟลอเรนซ์ และในระหว่างปี 1991-1993 กิจการมียอดขาดทุนรวมถึงราว 102 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในที่สุดอินเวสต์คอร์ปได้กดดันให้มาอุริซิโอขายหุ้นกิจการแล้วดึงเดอโซเลให้กลับมาบริหารงานที่ฟลอเรนซ์ เป็นช่วงเวลาที่ตื่นเต้นที่สุดในชีวิตผมทีเดียว เดอโซเลเล่าถึงวันแรกๆ ของการรับตำแหน่งงานดังกล่าว ทอมกับผมทำทุกอย่าง เพราะไม่มีใครเหลือแล้ว ส่วนมาอุริซิโอนั้นถูกภรรยาฆาตกรรมในปี 1995

ช่วงปี 1994 ภาวะทางการเงินของ Gucci ย่ำแย่อย่างหนัก เดอโซเลต้องเดินสายเจรจากับซัปพลายเออร์ให้เชื่อว่าเขาสามารถผลักดันกิจการให้ฟื้นคืนกำไรได้ ตอนนั้นที่สำนักงานใหญ่เหมือนมีแต่คนง่อยเปลี้ย วัน ๆ มีแต่คนเขียนบันทึกกล่าวโทษกันและกันจนไม่เป็นอันทำงาน เดอโซเลเล่าว่ารายงานของบริษัทที่ปรึกษาคูเปอร์ แอนด์ ไลแบรนด์ ที่เสนอแก่อินเวสต์คอร์ป ถึงกับระบุว่ากุชชี เป็นองค์กรที่ไร้ขีดความสามารถ ไร้จิตวิญญาณของการทำธุรกิจ แต่เดอโซเลบอกว่าทุกวันนี้ไม่มีใครคิดแบบนั้นอีกแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us