Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2544
อาณาจักร Gucci จากธุรกิจครอบครัวสู่มืออาชีพ             
 

   
related stories

ความเป็นมาของ Gucci

   
search resources

Gucci
Leathers




ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกิจการของ Gucci พุ่งขึ้นถึง 8% ทั้งในตลาดอัมสเตอร์ดัมและนิวยอร์กหลังจากที่บริษัทเผยผลประกอบการในรอบปี 2000 เมื่อราวหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น และปรากฏว่ายอดขายเพิ่มขึ้นถึง 83% ผลกำไรเพิ่มขึ้น 49% ทั้ง ๆ ที่เป็นกิจการสินค้าหรูและอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว การที่ตลาดหุ้นต่างขานรับกิจการ Gucci นั้นมิได้เป็นเพราะตัวเลขผลประกอบการที่โดดเด่นเท่านั้น อันที่จริง ตลอดสุดสัปดาห์ในช่วงต้นเดือนเมษายน ขณะที่โดเมนิโก เดอ โซล (Domenico De Sole) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Gucci ได้ตระเวนออกงานเทรดโชว์นาฬิกาที่เมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ มีข่าวลือว่าฟรังซัวส์ ปิโนลต์ (Francois Pinault) ผู้ถือหุ้นกิจการ Gucci 42% กำลังเจรจากับเบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ประธานกรรมการของ แอลวีเอ็มเอช โมเอต์ เฮนเนสซี หลุยส์ วิตตอง (LVMH Moet Hennessy Louis Vuitton) ซึ่งเป็นกิจการคู่แข่งสำคัญของ Gucci ข่าวลือกระเส็นกระสายออกมาว่าปิโนลต์นั้นต้องการจะเทกโอเวอร์กิจการ Gucci ทั้งหมด ปัจจุบันเขาถือหุ้นกิจการ Gucci อยู่ 20%

อันที่จริงการขับเคี่ยวทางธุรกิจระหว่าง Gucci Group และ LVHM นั้นเป็นที่กล่าวขวัญถึงอยู่เสมอและเป็นเรื่องราวที่มีความสลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อย และก่อนหน้านี้ LVMH เคยพยายามเข้าเทกโอเวอร์กิจการ Gucci มาแล้ว กล่าวคือในปี 1994 มีผู้เสนอขายกิจการ Gucci ให้อาร์โนลต์ในราคา 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เขาบอกปฏิเสธ หลังจากนั้น 5 ปี อาร์โนลต์กลับทุ่มเงินถึง 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซื้อหุ้น 34 % ของ Gucci ไว้ในมือ อีกทั้งพยายามเสนอซื้อหุ้นส่วนที่เหลือที่คิดเป็นมูลค่ากว่า 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วย การที่กิจการ Gucci เคยถูกเสนอขายในราคา 400 ล้านดอลลาร ์แต่กลับพลิกฟื้นขึ้นมากิจการราคานับหมื่นล้านดอลลาร์จึงนับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจยิ่งในธุรกิจแฟชั่น ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าวก็คือโดเมนิโก เดอ โซเล (Domenico De Sole) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และทอม ฟอร์ด (Tom Ford) ครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ ของบริษัทนั่นเอง

ปิโนลต์เป็นผู้บริหารของกิจการ Pinault-Printemps-Redoute หรือ PPR เขาเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นของ Gucci ถึง 42% เมื่อปี 1999 โดยซื้อหุ้นออกใหม่จำนวนดังกล่าวไว้เป็นมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการช่วยให้ Gucci รอดพ้นจากการถูกเทกโอเวอร์ด้วย หลังจากนั้น เขาได้เข้าซื้อกิจการ Sanofi Beaute เจ้าของชื่อยี่ห้อ Yves Saint Laurant (YSL) แล้วขายให้กับ Gucci ในอีกสองวันถัดมา ส่งผลให้ Gucci กลายเป็นบริษัทที่มีชื่อยี่ห้อสินค้าหรูหลากหลาย การกระทำดังกล่าวทำให้ LVMH ฟ้องร้องว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย และเป็นคดีความที่ยังไม่ยุติจนในปัจจุบัน โดยเมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา ศาลเนเธอร์แลนด์ได้สั่งให้สืบคดีเกี่ยวกับการปฏิบัติของฝ่ายบริหารของ Gucci ในระหว่างที่ขายหุ้นกิจการให้กับ PPR และเมื่อปลายเดือนมีนาคม ทั้ง Gucci และ PPR ได้ออกมาบอกว่าจะยื่นอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม Gucci ยังคงเป็นคู่แข่งหมายเลข 1 ของ LVMH เราเป็นฝันร้ายของเบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ เดอ โซเล บอก ก่อนหน้านั้นเขาเป็นที่พึ่งเดียวของเรา เขามีมือบริหาร มีดีไซเนอร์ เขาต้องการจะเบียดคู่แข่งให้พ้นทาง แต่แทนที่เราจะตาย เรากลับแข็งแกร่งขึ้น

เดอโซเลเล่าว่า Gucci ต้องดิ้นรนทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องร้านค้า การหาคนมีฝีมือ และชื่อยี่ห้อสินค้า แม้แต่ในด้านการประชาสัมพันธ์ทั้งสองก็ต้องแข่งขันกันเต็มที่ อย่างเมื่อเดือนมีนาคมซึ่งมีการจัดแฟชั่นโชว์ของ YSL ในชุดฤดูใบไม้ร่วงที่สวน Musee Rodin ในกรุงปารีส เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของ LVMH ได้ส่งแฟกซ์แจ้งข่าวแก่สื่อมวลชนในวันเดียวกันนั้น ว่าบริษัทอาจว่าจ้างจูเลียน แม็คโดนัลด์ (Julien Macdonald) ให้เป็นดีไซเนอร์คนใหม่ของ Givenchy ทั้งนี้มีข่าวลือว่าการเจรจาเรื่องนี้เป็นไปอย่างเร่งรีบและตกลงกันได้ในราวตีสองของวันก่อนหน้างานแฟชั่นโชว์ของ YSL และเบื้องหลังความรีบร้อนก็เพื่อจะสร้างข่าวกลบข่าวแฟชั่นโชว์นั่นเอง และปรากฏว่าข่าวของ Givenchy ก็ได้เป็นข่าวนำในหน้าข่าวแฟชั่นในวันรุ่งขึ้นจริง ๆ

ก่อนหน้านั้นในเดือนมกราคม ฟอร์ดมีกำหนดจะเปิดตัวคอลเลกชั่นเสื้อผ้าสำหรับสุภาพบุรุษเป็นครั้งแรกของ YSL ปรากฏว่าแซงต์ ลอรองต์ซึ่งเป็นคนเก็บตัวกลับไปอยู่ในงานแฟชั่นโชว์ของ Christian Dior โดยนั่งคู่กับเจ้าของกิจการ Christian Dior คือมงต์ซิเออร์ อาร์โนลต์ (Monsieur Arnault) แต่เดอ โซเลมิได้วิตกกังวลกับเรื่องเหล่านี้ ผมว่ามันเป็นเรื่องเหลวไหล เขาให้ความเห็น ถ้าดูในข่าวในหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส มันเหมือนสงคราม แต่ที่จริงแล้วคนนอกวงการแฟชั่นไม่ได้สนใจเลย

สิ่งที่คนนอกวงการสนใจก็คือผลประกอบการ และ Gucci ก็มีเงินสดในมือถึง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกือบจะไม่มีภาระหนี้สิน มีมูลค่าหุ้นอยู่ที่ราว 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังมีชื่อยี่ห้อชั้นนำนอกเหนือจาก YSL อาทิ กิจการเครื่องเพชร Boucheron ที่ซื้อไว้ในเครือ นอกจากนั้น Gucci ยังเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการ Sergio Rossi, Bottega Veneta, กิจการนาฬิกา Bdat & Co. และสามารถดึงตัวอเล็กซานเดอร์ แม็คควีน (Alexander McQueen) อดีตดีไซเนอร์ฝีมือดีจาก Givenchy มาร่วมงานอีกด้วย

Gucci ยังรุกคืบในด้านเนื้อหางานด้วย ดังจะเห็นได้จากการเตรียมแถลงข่าวการที่สเตลลา แม็คคาร์ตนีย์ (Stella McCartney) บุตรสาวของพอล และลินดา แม็คคาร์ตนีย์ จะเปิดตัวสินค้าในชื่อของเธอเองซึ่งอยู่ในเครือของ Gucci และแม้แต่ดีไซเนอร์ชื่อดังอย่างนิโคลาส เกสกิเอร์ (Nicolas Ghesquiere) ก็เตรียมจะเข้ามาอยู่ในเครือของ Gucci พร้อมกับชื่อ Balenciaga ด้วย

ทั้งหมดนี้นับเป็นผลงานที่ไม่เลวทีเดียวสำหรับ Gucci ในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังไม่นับไลน์สินค้ากลุ่มรองเท้า กระเป๋า และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เป็นผู้นำตลาดและมียอดขายถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ และมีผลกำไรจากการดำเนินงานในปีที่แล้วถึง 404 ล้านดอลลาร์ โดยมี YSL Beaut ทำกำไรตามมาเป็นอันดับสองแต่มีตัวเลขผลกำไรเพียง 43 ล้านดอลลาร์เท่านั้น

ส่วนอาร์โนลต์นั้นยังคงเดินหน้าการซื้อกิจการต่อไป นับจากที่เขาเข้าเป็นผู้ควบคุมกิจการ LVMH ในปี 1990 ก็ได้ซื้อชื่อยี่ห้อเพิ่มอีกนับสิบชื่อ ในกลุ่มแฟชั่นมีอาทิ Kenzo, Celine, Loewe, Pucci และ Donna Karan กลุ่มเครื่องสำอางมี Guerlain, Fresh, Dior และ Givenchy ห้างสรรพสินค้าของฝรั่งเศสหลายแห่ง เช่น La Samaritaine ร้านดิวตี้ฟรีในเรือสำราญ Miami Cruiseline Services และนาฬิกา Ebel และ TAG Heuer ทั้งนี้ไม่นับรวมแชมเปญอย่าง Dom Perignon, Mo‘t & Chandon และ Krug

โดยรวมแล้ว LVMH ครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยจำพวกเครื่องหนังถึง 19% และเป็นเจ้าตลาดที่มีรายได้จากการดำเนินการถึง 1,200 ล้านดอลลาร์ในปี 2000 โดยมาจากชื่อยี่ห้อ Louis Vuitton ถึงกว่าครึ่งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รายได้จากชื่อยี่ห้อสินค้าใหม่กลับไม่โดดเด่น โดยในปีที่แล้วรายได้อยู่ที่ 2000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากยอดขาย 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้อาร์โนลต์บอกว่าในปีนี้เขาจะมุ่งเน้นในด้านการเติบโตของกิจการ ไม่ใช่การซื้อกิจการอย่างที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์เองก็ระบุว่าอาร์โนลต์นั้นเก่งในเรื่องการซื้อกิจการแต่ล้มเหลวด้านการบริหารกิจการเหล่านั้น และถึงเขาจะได้ตัวดีไซเนอร์ฝีมือดีมาร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นไมเคิล คอส์ (Michael Kors) แห่ง Celine หรือนาร์ซิโซ โรดริเกซ (Narciso Rodriguez) แห่ง Loewe แต่ก็ไม่อาจสร้างคุณูปการที่โดดเด่นให้กับกิจการโดยรวม จนมีผู้วิจารณ์ว่าอาร์โนลต์นั้นซื้อยี่ห้อสินค้ามาแช่แข็ง

ยิ่งกว่านั้น มือบริหารของค่าย LVMH อีกหลายคนก็เปลี่ยนค่ายไปอยู่กับ Gucci ปีที่แล้ว เดอ โซเล ได้ตัวผู้บริหารคนสำคัญๆ จาก Prada, Bulgari, และ Celine ไปร่วมงานด้วย เหตุผลก็คือแนวการบริหารของเดอโซเลนั้นมีสไตล์อเมริกันซึ่งให้อิสระและเน้นที่ผลประกอบการมากกว่า อีกทั้ง Gucci ก็จ่ายค่าตอบแทนให้มากกว่าด้วย

เดอ โซเล เป็นชาวอิตาเลียนที่อพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ เพื่อศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาสมรสกับภรรยาชาวอเมริกันและทำงานเป็นหุ้นส่วนของสำนักงานกฎหมาย Patton, Boggs & Blow ในวอชิงตัน ในระยะแรกเขาทำงานให้กับอัลโด กุชชี ต่อมาได้ช่วยงานมาอุริซิโอ กุชชี ซึ่งเป็นหลานชายของอัลโดด้วย เดอ โซเลได้รับแต่งตั้งให้ดูแลกิจการของ Gucci ในสหรัฐฯ แต่ต่อมาเมื่ออินเวสต์คอร์ป ซึ่งเป็นกิจการวาณิชธนกิจสัญชาติบาห์เรนกดดันให้มาอุริซิโอออกจากตำแหน่งบริหาร เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการใช้จ่ายของ Gucci ได้ จึงได้แต่งตั้งให้เดอโซเลเป็นผู้กุมบังเหียน Gucci International ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี

เมื่อเดอโซเลรับงานที่ฟลอเรนซ์ คนของ Gucci ที่อินเวสต์คอร์ปยอมให้ทำงานอยู่ต่อมีเพียงคนเดียวคือ ทอม ฟอร์ด (Tom Ford) ซึ่งเป็นชาวเท็กซัสเติบโตในซานตาเฟ ฟอร์ดเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยปรับปรุงภาพพจน์กิจการ Gucci จากที่เคยหม่นมัวและล้าสมัยให้เซ็กซี่เต็มที่ และสาเหตุที่ Gucci มีภาพพจน์เซ็กซี่ก็เพราะฟอร์ดเป็นคนเซ็กซี่คนหนึ่งนั่นเอง


ฟอร์ดมีบทบาทเด่นกว่าเดอโซเลซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกิจการก็เพราะ เขาเป็นผู้กุมในเรื่องภาพพจน์ของกิจการ Gucci นั่นเอง ฟอร์ดบอก ลูกค้าเขาซื้อความฝันของเรา หมายความว่ากางเกงสีดำก็เป็นกางเกงสีดำตัวหนึ่ง แต่ถ้าคุณเข้าไปในร้านของ Gucci คุณกำลังเข้าไปซื้อสินค้าในโลกที่ต่างไปจากของ Versace การจะสร้างโลกที่ว่านี้ขึ้นมาจะต้องใช้พลังและวิญญาณรวมทั้งบุคลิกส่วนตัวของดีไซเนอร์ ร้าน Gucci ก็เหมือนบ้านของผม โซฟาของผมอยู่ในร้าน Gucci ทั่วโลก

ความสำเร็จของ Gucci ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของฟอร์ดที่พลิกฟื้นกิจการ YSL ขึ้นมาได้จนมีกำไรเทียบเท่ากับของ Gucci และทั้งฟอร์ดกับเดอโซเลก็มุ่งมั่นในข้อนี้อย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในสภาพเดียวกับอาร์โนลต์ที่มียี่ห้อสินค้าเพียงชื่อเดียวที่ทำกำไรให้

ฟอร์ดและเดอโซเลยังเห็นตรงกันด้วยว่า Gucci ต้องการคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาสานต่อกิจการ และนี่คือเหตุผลที่ดีไซเนอร์รุ่นใหม่อย่างแม็คควีน, เกสกิเอร์ และแม็คคาร์ตนีย์ ถูกซื้อตัวเข้ามาร่วมกับ Gucci รวมทั้งยังมีการสนับสนุนดีไซเนอร์ที่มีแววดีอีกจำนวนหนึ่งด้วย ดังจะเห็นได้จากปีที่แล้วที่ฮุสเซน ชาลายัน (Hussain Chalayan) ซึ่งได้รับตำแหน่งดีไซเนอร์แห่งปีของอังกฤษในปี 2000 ประกาศล้มละลาย ปรากฏว่า Gucci ได้เข้าช่วยเหลือโดยเสนอให้เช่าพื้นที่ทำสำนักงานและออกเงินสนับสนุนการจัดทำคอลเลกชั่นใหม่ให้ เจเรมี สก๊อต ดีไซเนอร์ชื่อดังชาวอเมริกันเป็นอีกผู้หนึ่งที่กล่าวกันว่าได้รับความช่วยเหลือจาก Gucci เช่นกัน นักวิเคราะห์บางรายตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขความช่วยเหลือที่ให้กับดีไซเนอร์เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าวิตก แต่เกรงว่าการช่วยพวกหน้าใหม่เหล่านี้จะทำให้ Gucci เสียเวลาเปล่า

อย่างไรก็ตาม ฟอร์ดเห็นว่าเรื่องเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งสำหรับเขา เขามีความเห็นว่า แม้เขาจะเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านดีไซน์ให้กับชื่อยี่ห้อถึงสองชื่อพร้อมกันอย่าง Gucci และ YSL แต่เขาก็ต้องคำนึงถึงอนาคตด้วย ผมอยู่ในช่วงปีสุดท้ายของวัย 30 ผมไม่อยากจะรอให้อายุ 65 แล้วต้องดิ้นรนต่อสู้กับคนวัน 25

เดอโซเลก็เช่นกัน ในวัน 57 เขาได้เตรียมการเกี่ยวกับอนาคตไว้เช่นกัน ผมว่าเรื่องเยี่ยมที่สุดที่ผมทำให้กับ Gucci ได้อย่างหนึ่งก็คือการขอเกษียณตัวเอง ผมไม่อยากเป็นแบบพวกประธานเจ้าหน้าที่บริหารอเมริกันที่ต้องถูกคณะกรรมการบริษัทปลดออก ผมอยากจะจากไปเมื่อผมยังอยู่ในตำแหน่งสูงสุด เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วเดอโซเลเห็นว่าฟอร์ดเหมาะสมกับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริการหรือเปล่า ซึ่งเขาตอบว่า ถูกต้องที่สุด

ฟอร์ดจะรับช่วงงานต่อจากเดอโซเลได้ก็ต่อเมื่อเขาเรียนรู้จากเดอโซเลในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การจัดการกับความเครียด ข่าวลือและคู่แข่ง และต้องมีความคิดแน่วแน่อยู่ที่ธุรกิจเท่านั้น เดอโซเลเล่าว่า ในวันที่ราคาหุ้นของ Gucci พุ่งทะยานขึ้นเมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมานั้น เขากำลังเดินทางไปที่สำนักงานในลอนดอน เขาปิดโทรศัพท์มือถือและคิดอยู่อย่างเดียวว่าจะหาแหล่งซัปพลายชิ้นส่วนประกอบให้นาฬิกา Boucheron ได้ที่ไหน ทั้งนี้ Boucheron เป็นยี่ห้อสินค้าใหม่ชื่อหนึ่งที่ Gucci เพิ่งซื้อกิจการมาได้ไม่นานนั่นเอง

เนาวนิจ ผาติสิริวิรัตน์ เรียบเรียงจาก Time,April 9,2001

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us